รีเซต

เซ็กส์ วัยทอง ทำไมไม่เร้าร้อนเหมือนตอนสาวๆ

เซ็กส์ วัยทอง ทำไมไม่เร้าร้อนเหมือนตอนสาวๆ
เฮลโลคุณหมอ
18 ธันวาคม 2562 ( 00:00 )
2.9K
เซ็กส์ วัยทอง ทำไมไม่เร้าร้อนเหมือนตอนสาวๆ

ในช่วงวัยหมดประจำเดือน สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงต่ออารมณ์จนส่งผลต่ออารมณ์ทางเพศของผู้หญิงได้เลยทีเดียว ระยะก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopause) นั้นจะเกิดขึ้นเกิดการหมดประจำเดือนล่วงหน้าประมาณ 2-3 ปี ซึ่งจะส่งผลให้ผู้หญิงมีอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น มีอาการร้อนวูบวาบ มึนศีรษะ อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน ซึ่งผู้หญิงประมาณร้อยละ 17-45 บอกว่าการมีเซ็กสในช่วงนี้จะทำให้เจ็บ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปดูกันว่า เซ็กส์ วัยทอง ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายบ้าง

อาการของ วัยทอง

วัยหมดประจำเดือน (Menopause) หรือว่าวัยทอง เป็นช่วงที่ร่างกายของผู้หญิงนั้นจะไม่มีประจำเดือนแล้ว ซึ่งก่อนที่จะเข้าสู่ วัยทอง ผู้หญิงจะมีช่วงที่เรียกว่า ระยะก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopause) ซึ่งในช่วงนี้อาจเกิดก่อนการเข้าสู่วัยทองประมาณ 2-3 แล้ว อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ในระยะก่อนหมดประจำเดือนก็จะมีอาการต่างๆ เช่น มีอาการร้อนวูบวาบ มึนศีรษะ อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน ส่วนอาการในช่วง วัยหมดประจำเดือน จะแตกต่างกันออกไปในผู้หญิงแต่ละคน บางคนไม่แดงอาการใด บางคนมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือบางคนวัยทองก็ส่งผลต่อร่างกายและอารมร์อย่างรุ่นแรง อาการที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องพบเจอเมื่อเข้าสู่ช่วง วัยทอง คือ อาการ้อนวูบวาบ(hot flashes) เหงื่อออกง่าย (vasomotor symptoms (VMS)) และอาการเหงื่อออกในตอนกลางคืน สำหรับ อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้แก่ อาการปวดตามข้อ ช่องคลอดแห้ง และเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ในสตรีบางราย อาจมีอาการทางอารมณ์และจิตประสาทร่วมด้วย

เซ็กส์ ในวัยทอง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ในช่วงวัยทอง เป็นวัยที่มีการหยุดผลิตไข่ และมีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่ลดลงอย่างมาก ทำให้มีการหยุดเจริญเติบโตของไข่สำหรับการตกไข่ ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการตั้งครรภ์ การมีประจำเดือน และมีผลต่อการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์และระบบอื่นๆ ของร่างกาย เมื่อร่างกายมีการสูญเสียฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนหลังหมดประจำเดือนสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในร่างกายของผู้หญิง สตรีวัยหมดประจำเดือนและวัยหมดประจำเดือน อาจส่งผลให้ผู้หญิงไม่รู้สึก หรือรู้สึกน้อยลงต่อการเล้าโลม การกระตุ้นทางเพศ นอกจากนี้ผู้หญิงยังไวต่อการสัมผัสและการลูบไล้ลดลงอีกด้วย จึงส่งผลให้อารมณ์ขับทางเพศต่างๆ ลดลง

นอกจากนี้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำลง อาจส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงทางช่องคลอดลดลง ซึ่งส่งผลต่อความหล่อลื่นในช่องคลอด ทำให้ช่องคลอดแห้งเกินไปสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ และอาจทำให้เกิดอาการ เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้ ที่สำคัญในช่วงวัยทองยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อระดับความสนใจทางเพศของผู้หญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือนและหลัง เช่น อาการซึมเศร้า ความเครียด

เพิ่มรสชาติ เซ็กส์ วัยทอง ให้กลับมาแซ่บ

เซ็กส์ เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการยินยอม พร้อมใจที่จะทำด้วยกันทั้งคู่ หากอีกฝ่ายไม่มีอารมร์ทางเพศ ไม่อยากมีเซ็กส์ก็ยากที่กิจกรรมจะลุล่วงไปได้ด้วยดี ยิ่งในช่วง วัยทอง ที่ส่งผลต่ออารมร์ทางเพศ และร่างกาย ที่ไม่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางเพศ ดังนั้นการที่จะให้ เซ็กส์ ในวัยหมดประจำเดือน กลับมาแซ่บ ต้องมีการกระตุ้นทางเพศอยู่เป็นประจำ การทำแบบนี้จะช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดไปยังช่องคลอดได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยรักษาความยืดหยุ่นของช่องคลอดอีกด้วย หรือหากช่องคลอดแห้งเกินไปอาจใช้ เจลหล่อลื่น เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับช่องคลอด หากยังไม่ดีขึ้นแพทย์อาจสั่งการรักษาด้วยฮอร์โมนเพื่อช่วยลดความแห้งของช่องคลอดหรือครีมฮอร์โมนเพื่อนำไปใช้กับเนื้อเยื่อ หรือจะลองเคล็ดลับง่ายๆ ที่อาจจะช่วยให้เซ็กส์ ในวัยหมดประจำเดือนดีขึ้น เช่น

  • มีกิจกรรมทางเพศเป็นประจำ
  • ใช้สารหล่อลื่นในช่องคลอดก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้มอยเจอร์ไรเซอร์สำหรับช่องคลอดอย่างสม่ำเสมอและก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ น้ำมันหรือน้ำยาที่อาจทำให้ช่องคลอดแห้ง
  • ใช้น้ำอุ่นกับน้ำร้อนสำหรับทำความสะอาด
  • เพิ่มการเร้าอารมณ์ทางเพศ
  • ลดความเครียดด้วยการออกกำลังกาย
  • ลองทำกิจกรรมทางเพศใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความตื่นเต้นและอารมร์ทางเพศ

เซ็กส์ วัยทอง ส่งผลต่อร่างกายและอารมณ์อย่างไร

ผลกระทบต่อร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในช่วงวัยหมดประจำเดือน อาจแตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน ในช่วงวัยหมดประจำเดือนเป็นช่วงที่ฮอร์โมนที่ทำให้ภาวะเจริญพันธุ์และการตั้งครรภ์ลดลง รวมถึงฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อของช่องคลอด ในช่วงวัยหมดประจำเดือนเนื้อเยื่อของช่องคลอดและช่องคลอดจะได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง จึงเป็นผลทำให้ช่องคลอดแห้ง และเนื้อเยื่ออาจเกิดความเสียหาย มีการหล่อลื่นน้อยลง ซึ่งเมื่อมีเพสสัมพันธ์ก็จะเพิ่มความเสียดทานมากขึ้น และอาจมีอาการทางกายภาพอื่น ๆ ของวัยหมดประจำเดือน เช่น

  • มีอาการปวด เลือดออกหรือแสบร้อนขณะมีเพศสัมพันธ์
  • แรงขับทางเพศลดลง
  • ไม่รู้สึก หรือรู้สึกถึงการเล้าโลมน้อยลง
  • มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่าย

ผู้หญิงทุกคนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในช่วงวัยหมดประจำเดือนที่แตกต่างกันออกไป ความรุนแรงของอาการก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นควรไปพบคุณหมอหากอาการเริ่มรบกวนชีวิตประจำวัน

ผลกระทบต่ออารมณ์

เมื่อร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไป แน่นอนว่ามันสามารถส่งผลต่ออารมณ์ได้เช่นกัน เพราะการเปลี่ยนไปของฮอร์โมนรบกวนการนอนหลับ นอนหลับไม่สนิท เมื่อร่างกายมีการพักผ่อนไม่เต็มที่ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า วิตกกังวล หงุดหงิด และในบางคนสามารถทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ แต่ก็ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคน ที่จะมีผลกระทบทางอารมณ์ในด้านลบในช่วงวัยทอง บางคนสามารถที่จะจัดการ ควบคุมกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

บทความที่เกี่ยวข้อง