รีเซต

5 วิธีรับมือวัยทอง 2 ขวบ เมื่อลูกดื้อ เอาแต่ใจ รับมืออย่างไรดี

5 วิธีรับมือวัยทอง 2 ขวบ เมื่อลูกดื้อ เอาแต่ใจ รับมืออย่างไรดี
PookieChan
23 กุมภาพันธ์ 2566 ( 00:32 )
717

       การรับมือกับวัยทอง 2 ขวบเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่เลยทีเดียวค่ะ เพราะเมื่อเด็กอายุ 2 ขวบแล้วก็จะเริ่มเข้าสู่ช่วงเวลาของการเติบโตทางร่างกายและสติปัญญา รวมถึงเริ่มแสดงความอิสระในการเคลื่อนไหว สื่อสาร และการเรียนรู้ในแบบของตัวเอง วัยทอง 2 ขวบจึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการพัฒนาทั้ง IQ และ EQ และมีผลต่อการเติบโตในระยะยาวนั่นเองค่ะ  แต่แน่นอนว่าการรับมือกับวัยทอง 2 ขวบก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เรียกว่าเป็นสงครามประสาทย่อมๆ เลยก็ว่าได้ เพราะลูกจะเริ่มอยากทำอะไรด้วยตัวเอง (แม้คุณแม่จะห้าม) มีอารมณ์ฉุนเฉียว ขึ้นๆ ลงๆ คาดเดายาก หากคุณแม่กำลังเจอปัญหานี้อยู่ล่ะก็ เรามี 5 วิธีดีๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่รับมือกับวัยทอง 2 ขวบได้แบบแฮปปี้ไม่ปรี๊ดแตกมาฝากกันค่ะ จะต้องทำอย่างไรบ้างมาดูกันเลยค่า

 

 

5 วิธีรับมือวัยทอง 2 ขวบ เมื่อลูกดื้อ เอาแต่ใจ รับมืออย่างไรดี

 

วิธีที่ 1 นิ่งสงบ สยบความดื้อ

     เมื่อลูกดื้อ เอาแต่ใจ โวยวาย สิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องสงบสติอารมณ์และไม่อารมณ์เสียหรือโกรธ สิ่งนี้สามารถช่วยไม่ให้สถานการณ์แย่ลง เพราะยิ่งคุณแม่แสดงออก ลูกก็จะยิ่งท้าทายด้วยการเพิ่มเลเวลมากขึ้นไปอีก ดังนั้นคุณแม่จะต้องใจร่มๆ ไว้ก่อน และรับมือด้วยวิธีต่อไปค่ะ

 

วิธีที่ 2 เสนอทางเลือกมากกว่าสั่งให้ทำ

      เด็กวัยนี้ "ยิ่งห้ามก็ยิ่งทำ" และ "ยิ่งสั่งให้ทำยิ่งต่อต้าน" นั่นไม่ใช่เพราะอยากจะดื้อกับคุณแม่ให้คุณแม่ต้องโมโหหรอกนะคะ แต่ลูกกำลังสื่อสารว่าลูกอยากมีอิสระในการคิด พูด และทำด้วยตัวของเค้าเอง ดังนั้นการเสนอทางเลือกให้ลูกได้เลือกเอง เช่น ชุดที่จะใส่ รองเท้าที่อยากสวม หรือกิจกรรมที่อยากจะเล่น ก็จะช่วยลดอาการวัยทอง 2 ขวบลงได้ค่ะ

 

วิธีที่ 3 เบี่ยงเบนความสนใจแทนการดุด่า

      การด่าว่าเป็นคำพูดเชิงลบที่ปิดกั้นจินตนาการของลูก  เวลาที่ลูกทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม ลองเสนออะไรที่เบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ของเล่นเสริมทักษะ หนังสือภาพสีสันสวยๆ หรือช่วยกันทำกิจกรรมสนุกๆ ก็จะช่วยเปลี่ยนความสนใจและพฤติกรรมของลูกได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดเชิงลบ และไม่ต้องลงโทษจนลูกไม่กล้าทำอะไรใหม่ๆ ค่ะ

 

วิธีที่ 4 ทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นเวลา

      การปล่อยให้ลูกทำอะไรแบบไม่มีวินัย จะทำให้ลูกชินกับการทำอะไรเมื่อไหร่ก็ได้และทำตามใจตัวเองมากขึ้น ซึ่งการกำหนดตารางกิจวัตรประจำวันอย่าง การนอน การอาบน้ำ การทานอาหาร การตื่นนอน จะทำให้ลูกคุ้นชินกับการจัดระเบียบความคิดและอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยลดความเครียดของคุณแม่ไปได้เยอะเลยล่ะค่ะ

 

วิธีที่ 5 ยกย่องพฤติกรรมเชิงบวก

      แทนที่จะโฟกัสพฤติกรรมที่ลูกไม่ควรทำ การเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงบวกด้วยการชมเชยและการยอมรับ จะสามารถกระตุ้นให้ลูกมีพฤติกรรมเชิงบวกได้มากกว่า ไม่ว่าจะชมด้วยคำพูด หรือให้รางวัลที่ลูกชอบ จะทำให้ลูกอยากทำสิ่งดีๆ ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องบังคับ และลดพฤติกรรมเชิงลบที่คุณแม่ไม่ปลื้มลงไปได้แบบเป็นธรรมชาติค่ะ

 

บทความดีๆ ที่คุณแม่อาจสนใจ

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง