รีเซต

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล อาการเป็นอย่างไร อารมณ์เปลี่ยนตามสภาพอากาศ !!

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล อาการเป็นอย่างไร อารมณ์เปลี่ยนตามสภาพอากาศ !!
หมอดี
7 ตุลาคม 2565 ( 10:45 )
443
โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล อาการเป็นอย่างไร อารมณ์เปลี่ยนตามสภาพอากาศ !!

     ⛈ หน้าฝน ฟ้าครึ้ม หรือบางทีในหน้าหนาวเหงาๆ ที่ฟ้าอาจเปลี่ยนเป็นสีเทาจาง ๆ ทำให้บางคนรู้สึกหวั่นไหวไปตามสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ หากเป็นบ่อยๆ จนผิดสังเกต และรู้สึกเศร้าหมองจนอารมณ์ดิ่ง อย่างนี้เริ่มผิดปกติแล้วล่ะ! แนะนำว่าให้ลองมาเช็กตัวเองด่วนว่ามีแนวโน้มจะป่วยเป็น “โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล” หรือ Seasonal Affective Disorder ที่เรียกโดยย่อว่า S.A.D) บ้างหรือไม่ เพราะเรื่องของสภาพจิตใจ ปล่อยไว้นานเกินไป ยิ่งแก้ยาก

     แอปฯ หมอดีอยากให้คุณแคร์ใจตัวเองในทุก ๆ วัน และเพราะเราก็แคร์คุณมากเช่นกัน วันนี้จึงขอนำสาระสุขภาพดี ๆ จาก คุณสกาวรัตน์ ตั้งจิตถนอม ผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต นักจิตบำบัดบนแอปฯ หมอดีมาฝาก เผื่อว่าจะช่วยให้คุณได้รู้เท่าทันความรู้สึกและอาการป่วยทางสุขภาพใจของตัวเอง ได้เช็กความเสี่ยงโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล และหากมีความเสี่ยง ก็สามารถรับมือได้แบบไม่สายเกินไป ... อ่านคำแนะนำดีๆ จากคุณหมอ ที่แต่ละภาพในบทความนี้ได้เลยค่ะ

 

 

สาเหตุของ "โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล"

     เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปี ส่วนมากจะมีอาการหม่นหมอง นอยด์ง่าย รู้สึกหมดพลังกายและพลังใจ

     มักจะเกิดขึ้นช่วงรอยต่อของฤดูกาล ⛅ คือจากฤดูร้อนมาฤดูฝน หรือจากฤดูฝนไปฤดูหนาว โดยผู้ป่วยภาวะนี้จะมีอาการของโรคซึมเศร้าในช่วงฤดูกาลเดิมของทุกปี และอาการมักจะดีขึ้นในช่วงฤดูร้อน แต่เมื่อเจอฤดูฝน ฤดูหนาว ที่สภาพแวดล้อมมืดครึ้ม จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาลได้

     เพราะตามธรรมชาติของมนุษย์ ช่วงเวลากลางวันที่มีแสงอาทิตย์สาดส่อง 🌞 ทำให้เรารู้สึกสดใส จะทำให้เรารู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า แต่เมื่อนาฬิกาชีวิตรวน ด้วยรูปแบบชีวิต หรือไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถทำให้สมองมีการหลั่งฮอร์โมนบางชนิดผิดปกติไป จนทำให้เกิด "โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล“ นั่นเอง ซึ่งฮอร์โมนสำคัญที่ว่าก็คือ...

  1. เซโรโทนิน (Serotonin) การที่ฮอร์โมนตัวนี้ลดลง ทำให้สมองของเรามีประสิทธิภาพในการควบคุมอารมณ์ด้านลบต่าง ๆ (โดยเฉพาะความเศร้าหมอง) ได้น้อยลงตามไปด้วย
  2.  เมลาโทนิน (Melatonin) สูงขึ้น ทำให้เรารู้สึกง่วงนอนมากกว่าปกติ อยากนอนทั้งวัน ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ช้าลง เซื่องซึม เบื่อ นอยด์ เหงา ไร้ความกระตือรือร้น จนเกิดเป็นภาวะซึมเศร้านั่นเอง

     🫂นอกจากนี้คนที่มีความเสี่ยงสูง มักจะอ่อนไหวไปตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าคนกลุ่มอื่น ได้แก่

  1. เพศหญิง โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  2. ผู้ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งเป็นวัยที่พบโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้มากกว่าช่วงวัยอื่น
  3. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคไบโพลาร์
  4. ผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

 

 

อาการเสี่ยงโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

     ถ้ามีอาการเหล่านี้... เมื่อเจอสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป หม่นหมอง อาจเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

  • ☑️ รู้สึกหมดหวังในชีวิต คิดว่าตนเองไร้ค่า
  • ☑️ เบื่อทุกอย่างในชีวิต เบื่อแม้กระทั่งกิจกรรมที่เคยชอบ
  • ☑️ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ☑️ ความกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก
  • ☑️ ง่วงตลอดเวลา หรือมีปัญหาในการนอนหลับ
  • ☑️ รับประทานอาหารมากเกินไป เบื่ออาหาร รับประทานอาหารน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
  • ☑️ ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้นาน
  • ☑️ ไม่อยากเข้าสังคม เก็บตัวอยู่ตามลำพัง
  • ☑️ มีความคิดทำร้ายตนเอง คิดฆ่าตัวตาย

 

 

วิธีดูแลสุขภาพใจ

  1. รับประทานอาหารสุขภาพ กินให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม
  2. หลีกเลี่ยงการหมกมุ่นอยู่กับความคิดและอารมณ์เศร้า โดยการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบหรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย ยิ่งทำกิจกรรมที่ได้สัมผัสกับแสงธรรมชาติด้วยยิ่งดี
  3. ออกกำลังกาย
  4. ออกไปพบปะสังสรรค์หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคม
  5. ฝึกใจให้ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ฝึกผ่อนคลายตัวเองด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น การฝึกสมาธิ การฝึกหายใจคลายเครียดก็ช่วยได้มาก
  7. หมั่นสังเกตอาการและความแปรปรวนของอารมณ์ตนเอง แล้วหาโอกาสพูดคุยกับคนที่คุยแล้วสบายใจ หรือเข้าพบนักจิตบำบัด

     โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล ดีขึ้นได้ ด้วยการเอาใจใส่ตัวเอง คนรอบข้าง และการให้ความร่วมมือกับจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัด

 

👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากอป หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article

 

     👩‍🔬 หากรู้สึกว่าอารมณ์หม่นหมองผิดปกติ หรือว่ารู้สึกนอยด์นานเกินไปจนได้รับผลกระทบกับการดำเนินชีวิต ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์หรือพูดคุยกับนักจิตบำบัดไว้ก่อนจะดีกว่า

📲 5 ขั้นตอน ในการใช้แอปฯ หมอดี เพื่อปรึกษาจิตแพทย์ หรือ นักจิตบำบัด

  1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
  2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนก “จิตเวช” หากต้องการพบจิตแพทย์และรับยา หรือเลือกแผนก “สุขภาพใจ” หากต้องการปรึกษานักจิตบำบัด
  3. เลือกจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
  4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
  5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง