รีเซต

4 วิธีควบคุมระดับคอร์ติซอล ฮอร์โมนความเครียด ช่วยคลายเครียด ต้านอักเสบ

4 วิธีควบคุมระดับคอร์ติซอล ฮอร์โมนความเครียด ช่วยคลายเครียด ต้านอักเสบ
BeauMonde
23 เมษายน 2567 ( 11:56 )
252

     คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนความเครียด ซึ่งเป็นสารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความเครียดต่าง ๆ ฮอร์โมนชนิดนี้เหมือนจะมีความหมายแค่ในเชิงลบ แต่จริง ๆ แล้วฮอร์โมนคอร์ติซอลก็มีความสำคัญมากต่อการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย  เช่น คอร์ติซอลจะช่วยควบคุมการอักเสบ และหากเมื่อเราสัมผัสกับแบคทีเรียหรือไวรัส คอร์ติซอลจะมีบทบาทในการช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคและช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย รวมถึงยังทำงานควบคู่กับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

     คอร์ติซอลในปริมาณที่พอดีสามารถช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีได้ แต่หากคอร์ติซอลมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบภูมิคุ้มกันจะไวน้อยลง และด้วยเหตุนี้ร่างกายของเราก็จะมีความไวต่อการต้านการอักเสบน้อยลงด้วยเช่นกัน และสาเหตุนี้ก็สามารถนำไปสู่การอักเสบเรื้อรังในร่างกายได้ ซึ่งการอักเสบเรื้อรัง จะเชื่อมโยงกับโรคเรื้อรังหลายอย่าง เช่น โรคอ้วน เบาหวานประเภท 2 และโรคหลอดเลือดหัวใจ และนอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพจิต อย่างภาวะซึมเศร้า โรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว ความวิตกกังวลและ PTSD ด้วย

 

 

4 วิธีลดฮอร์โมนคอร์ติซอล ลดความเครียด

 

1. รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

     แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการแปรรูป และหันไปเลือกอาหารที่ผ่านการปรุงน้อยและมาจากธรรมชาติ เลี่ยงอาหารที่มีค่า GI สูง ได้แก่ อาหารแปรรูป เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตขัดสี และอาหารฟาสต์ฟู้ดต่าง ๆ เพราะอาหารที่มีค่า GI สูงมีความเกี่ยวข้องกับระดับคอร์ติซอลที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูงกับการเพิ่มขึ้นของคอร์ติซอลก็มีความเชื่อมโยงกัน และการรับประทานแคลอรี่น้อยเกินไปก็อาจทำให้ระดับคอร์ติซอลไม่คงที่ได้

 

2. ออกกำลังกาย

     ออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังมีประโยชน์เมื่อเราต้องการควบคุมระดับคอร์ติซอลด้วย ซึ่งการออกกำลังไม่ว่าจะเป็นการเดิน โยคะ การออกกำลังแบบ HIIT หรือวิ่ง แม้แต่การเคลื่อนไหวร่างกายอื่น ๆ ก็ช่วยควบคุมคอร์ติซอลและช่วยคลายเครียดได้เช่นเดียวกัน

 

3. นั่งสมาธิ

     หากต้องการลดระดับคอร์ติซอลในระยะยาว การทำสมาธิอาจช่วยได้ เพราะการทำสมาธิสามารถเพิ่มความอดทน และลดความวิตกกังวลได้ 

 

4. นอนหลับ

     การนอนไม่หลับหรือนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่ต่อเนื่องทั้งคืน และทำให้วันรุ่งขึ้นเรามีภาวะตึงเครียด ซึ่งระดับคอร์ติซอลในผู้ที่อดนอนจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่นอนหลับได้ตามปกติ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับคอร์ติซอลสูงขึ้น ให้เราพยายามกลับมานอนหลับให้ปกติถึงแม้คืนก่อนนห้าจะมีปัญหาเรื่องการนอนก็ตาม

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง