รีเซต

รู้จัก โรคซึมเศร้า 8 แบบ อาการเข้าข่าย ควรปรึกษาจิตแพทย์

รู้จัก โรคซึมเศร้า 8 แบบ อาการเข้าข่าย ควรปรึกษาจิตแพทย์
BeauMonde
2 ธันวาคม 2565 ( 10:45 )
6.4K

     เมื่อเกิดอารมณ์ด้านลบที่ฝังลึกในใจคุณ จนยากจะจัดการไหว และรู้สึกบ่อยเกินไป อาจกลายเป็นอาการซึมเศร้าได้ในท้ายที่สุด มาทำความรู้จักโรคซึมเศร้าทั้ง 8 แบบกัน เพื่อเช็กตัวเอง เพราะ #โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่มีคนเป็นกันเยอะ บางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว นึกว่าคิดมากไปเอง ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที

 

 

8 ประเภทของโรคโรคซึมเศร้า


1. โรคซึมเศร้า Major Depression (Clinical Depression)

     เกิดจากผลของสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ ทำให้รู้สึกเศร้าอย่างต่อเนื่องหรือขาดความสนใจในสิ่งเร้าภานนอก มีอาการนอนไม่หลับ เซื่องซึม เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป เหนื่อยง่าย ไม่มีสมาธิ รู้สึกเบื่อ ท้อแท้สิ้นหวัง ไปจนถึงไม่อยากมีชีวิตอยู่

 

2. โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย หรือโรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia)

     เกิดขึ้นยาวนานกว่า 2 - 5 ปี โดยจะมีความทุกข์ใจตลอดเวลาแม้ในบรรยากาศที่สนุกสนาน เริ่มพบว่ามองโลกในแง่ร้าย ขี้บ่น ความรุนแรงของอาการสามารถเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงได้ โดยผู้ป่วยจะเกิดอารมณ์ซึมเศร้าทุก ๆ 2 เดือนหรืออาจเร็วกว่านั้น

 

3. โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)

     โรคอารมณ์สองขั้ว ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง ความคิด พฤติกรรม ของผู้ป่วยสลับไปมา เรียกได้ว่าจะมีช่วงที่คึกคัก สนุกสนาน พลังงานสูง สลับกับ ช่วงที่ซึมเศร้า หดหู่ ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำอะไรเลย

 

4. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postnatal Depression)

     เรียกอีกอย่างว่า ภาวะเบบี้บลูส์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างมากหลังจากการคลอดบุตร อาการที่เห็นชัดคือ รู้สึกเศร้า หดหู่ และมีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้าทั่วไป โดยภาวะนี้จะมีอาการลดลงภายใน 1 หรือ 2 สัปดาห์

 

5. โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder – SAD)

     เป็นภาวะอารมณ์ที่แปรปรวนไปตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น รู้สึกเศร้าเมื่อเจอกับความอึมครึมในฤดูฝน และรู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อฤดูหนาวมาเยือน นอกจากนี้ยังมีความรู้สึกเหนื่อยล้า สิ้นหวัง และหมดความสนใจหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย สาเหตุของโรค อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารในสมองอย่างรวดเร็ว

 

6. โรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน (Psychotic Depression)

     เป็นภาวะซึมเศร้าที่มีอาการประสาทหลอนร่วมด้วย เช่น เห็นภาพหลอน หูแว่ว ได้กลิ่นแปลกปลอม หรือหลงว่าตัวเองเป็นคนอื่น เป็นภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง

 

7. กลุ่มอาการซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder – PMDD)

     เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะมีประจำเดือน โดยจะมีความเศร้าหรือความวิตกกังวลในระดับรุนแรง มากกว่าตอนที่มีประจำเดือนแบบปกติ อาการมักจะเริ่ม 7-10 วันก่อนมีประจำเดือน และความรุนแรงจะลดลงจนหายไปอย่างสมบูรณ์ในช่วงก่อนมีประจำเดือนครั้งถัดไป

 

8. โรคซึมเศร้าที่เกิดจากความผิดปกติของการปรับตัว (Reactive Depression/ Adjustment Disorder)

     เป็นภาวะซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นหลังจากประสบเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจอย่างหนัก เช่น การหย่าร้าง และการสูญเสีย ภาวะซึมเศร้าตามสถานการณ์เรียกได้ว่า เป็นภาวะผิดปกติของการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

หากรู้สึกแย่ อยากปรึกษาใครสักคน ปรึกษากับจิตแพทย์บนแอปฯ หมอดีได้เลย เพื่อให้คุณผ่านพ้นภาวะอารมณ์แย่ ๆ ที่มาจากโรคซึมเศร้าไปได้ด้วยดี

📲 ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb แล้วเลือกแผนกจิตเวช

💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line OA: @mordeeapp

 

👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากอป หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง