วัคซีนเด็ก 2565 วัคซีนพื้นฐานลูกน้อยมีอะไรบ้าง ฉีดตอนไหน และข้อมูลน่ารู้สำหรับพ่อแม่
สำหรับคุณพ่อคุณแม่สุขภาพของลูกคือสิ่งสำคัญที่สุดใช่ไหมล่ะคะ เรามีเช็คลิสต์ วัคซีนเด็ก อัปเดต ปี 2565 / 2022 มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ สำหรับเด็กแรกเกิดถึง 4 ปีจะต้องฉีดวัคซีนเด็กพื้นฐานตัวไหนบ้าง ตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข มาดูกันเลยค่า
วัคซีนเด็ก คืออะไร ควรฉีดตอนอายุเท่าไหร่
สำหรับเด็กแรกเกิดจนถึง 12 ปี การฉีดวัคซีนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันโรคต่างๆ หรือช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ค่ะ
- วัคซีนขั้นพื้นฐาน หรือ วัคซีนหลัก คือวัคซีนที่เด็กๆ ควรจะได้รับเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำคัญสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย ตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
- วัคซีนเสริม ถือเป็นวัคซีนทางเลือก ที่สามารถฉีดเสริมเพิ่มเติมจากวัคซีนพื้นฐาน เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้มากขึ้น
ซึ่งวัคซีนแต่ละชนิด จะสร้างมาจากไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกทำให้อ่อนกำลังลงด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์ จนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้แล้ว แต่จะมีประสิทธิภาพในการเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา สำหรับข้อแนะนำและช่วงอายุที่เหมาะสมนั้น สามารถดูข้อมูลด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
วัคซีนหลัก หรือวัคซีนขั้นพื้นฐานของเด็ก มีอะไรบ้าง
- วัยแรกเกิด
บีซีจี (BCG), ตับอักเสบบี (HB1) - 1 เดือน
ตับอักเสบบี (HB2) เฉพาะรายที่เกิดจากมารดาที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี - 2 เดือน
คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB1)*, โปลิโอชนิดหยอด (OPV1) - 4 เดือน
คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB2)*, โปลิโอชนิดหยอด (OPV2) และโปลิโอชนิดฉีด (IPV) 1 เข็ม - 6 เดือน
คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB3)*, โปลิโอชนิดหยอด (OPV3) - 9-12 เดือน
หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR1) - 1 ปี
ไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE1) - 1 ปี 6 เดือน
คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP4), โปลิโอชนิดหยอด (OPV4) - 2 ปี 6 เดือน
หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR2), ไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE2) - 4 ปี
คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP5), โปลิโอชนิดหยอด (OPV5) - 11 ปี (นักเรียนหญิง ป.5)
เอชพีวี (HPV1, HPV2) ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน - 12 ปี (ป.6)
คอตีบ-บาดทะยัก (dT)
*ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ในกลางปี 2562 จะใช้วัคซีนรวม 5 โรคที่มี คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ แทนวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี
ข้อมูลอ้างอิงจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
วัคซีนเสริมของเด็ก มีอะไรบ้าง
- 2 เดือน
วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ เข็มที่ 1 (DTaP 1)
วัคซีนโปลิโอ ชนิดฉีด เข็ม 1 (IPV 1)
วัคซีนป้องกันเชื้อ เข็ม 1 influenza type B (Hib 1)
วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต เข็ม 1 (PCV 1)
วัคซีนโรต้า เข็ม 1 (Rota 1) - 4 เดือน
วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรนชนิดไร้เซลล์ เข็มที่ 2 (DTaP 2)
วัคซีนโปลิโอ ชนิดฉีด เข็ม 2 (IPV 2)
วัคซีนป้องกันเชื้อ เข็ม 2 influenza type B (Hib 2)
วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต เข็ม 2 (PCV 2)
วัคซีนโรต้า เข็ม 2 (Rota 2) - 6 เดือน
วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ เข็มที่ 3 (DTaP 3)
วัคซีนโปลิโอ ชนิดฉีด เข็ม 3 (IPV 3)
วัคซีนป้องกันเชื้อ เข็ม 3 influenza type B (Hib 3)
วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต เข็ม 3 (PCV 3)
วัคซีนโรต้า เข็ม 3 (Rota 3)
วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ให้ปีละครั้งช่วงอายุ 6 เดือน-18 ปี เน้นช่วงอายุ 6-24 เดือน ปีแรกฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ - 9-18 เดือน
วัคซีนไข้สมองอักเสบ เจ อี (Live JE) เข็มที่ 1 และ 2 เริ่มฉีดเข็มแรกที่อายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 อีก 3-12 เดือนต่อมา - 12-18 เดือน
วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ เอ (HAV) ให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน
วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ครั้งที่ 1 (VZV 1) หรือ วัคซีนรวมหัด, หัดเยอรมัน, คางทูม, อีสุกอีใส เข็ม 1 (MMRV 1)
วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส ชนิด คอนจูเกต เข็ม 4 (PCV 4) - 18 เดือน
วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรนชนิดไร้เซลล์ กระตุ้น เข็มที่ 1 (DTaP กระตุ้น 1) วัคซีนป้องกันเชื้อ เข็ม 4 H. influenza type B (Hib 4)
วัคซีนโปลิโอ ชนิดฉีด เข็มที่ 4 (IPV 4) - 2 ปี 6 เดือน
วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ เจ อี เข็ม 2(JE 2) - 4 ปี
วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ กระตุ้น เข็มที่ 2(DTaP กระตุ้น 2)
วัคซีนโปลิโอ ชนิดฉีด เข็มที่ 5 (IPV 5)
วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ครั้งที่ 2 (VZV 2) หรือ วัคซีนรวมหัด, หัดเยอรมัน, คางทูม, อีสุกอีใส เข็ม 2(MMRV 2)
ข้อควรปฏิบัติสำหรับการรับ วัคซีนเด็ก
- คุณพ่อคุณแม่ควรนำสมุดบันทึกการรับวัคซีนของลูกติดตัวมาด้วยทุกครั้ง
- ควรแจ้งแพทย์หรือพยาบาลก่อนรับวัคซีนเด็ก ว่าลูกมีอาการแพ้ยา หรือแพ้อาหารชชนิดใดอยู่หรือไม่
- หากมีไข้สูง หรืออาการเจ็บป่วยเฉียบพลันอยู่ ควรงดการรับวัคซีนและปรึกษาแพทย์
- หลังรับวัคซีนแล้ว ไม่ควรกลับบ้านทันที ควรอยู่ที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการอย่างน้อย 30 นาที ว่าจะมีอาการแพ้วัคซีนหรือไม่
- หากมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ สามารถทานยาลดไข้ได้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
- หากมีอาการปวด บวม แดง ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังฉีดวัคซีนเด็ก ให้ใช้ผ้าเย็นประคบ
- หากเป็นฝีหลังฉีดควรปรึกษาแพทย์เบื้องต้นว่ามีการติดเชื่ออื่นๆ หรือไม่ หากเป็นฝีทั่วไปสามารถทำความสะอาดฝีเองได้ที่บ้านตามคำแนะนำของแพทย์
หลังฉีดแล้ว แน่นอนว่าเด็กหลายๆ คน อาจจะมีอาการไม่สบายตัว ร้องไห้โยเย ทำให้คุณแม่คุณแม่อดสงสารไม่ได้ บางรายก็ไม่อยากพาลูกไปฉีดวัคซีนเพราะไม่อยากให้ลูกเจ็บตัว แต่อย่างไรก็ตาม วัคซีนเด็ก โดยเฉพาะ วัคซีนเด็กขั้นพื้นฐาน นั้น ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับลูกน้อย และเปรียบเสมือนเกราะคุ้มกันให้ลูกปลอดภัยจากโรคต่างๆ ที่อาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับวัคซีนอย่างถูกต้อง ซึ่งหวังว่าว่าข้อมูลที่เรานำมาฝากกันนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของคุณพ่อคุณแม่ไม่มากก็น้อยนะคะ