รีเซต

ลูกน้อยกินเก่งผิดปกติ สุ่มเสี่ยงอยู่ใน กลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี หรือเปล่านะ

ลูกน้อยกินเก่งผิดปกติ สุ่มเสี่ยงอยู่ใน กลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี หรือเปล่านะ
เฮลโลคุณหมอ
29 มกราคม 2563 ( 00:44 )
247
ลูกน้อยกินเก่งผิดปกติ สุ่มเสี่ยงอยู่ใน กลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี หรือเปล่านะ

ลูกน้อยอยากอาหารตลอดเวลา จนบางครั้งคุณพ่อคุณแม่เกิดความสงสัย ว่าเป็นเพราะลูกรักอยู่ในวัยเจริญเติบโต หรืออาจมีโรคแทรกซ้อนใดๆ เกิดขึ้นกันแน่ เช็กอาการนี้ไปพร้อมกันไปกับบทความโดย Hello คุณหมอ เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที ป้องกันความสุ่มเสี่ยงที่จะอยู่ในโรคของ กลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี อย่างเต็มตัว

รู้จักกับ กลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี อย่างละเอียดกันเถอะ

กลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี (Prader-Willi syndrome) คือโรคทางพันธุกรรมโดยโครโมโซมคู่ที่ 15 จากยีนของคุณพ่อนั้นได้หายไป ทำให้สมองปล่อยฮอร์โมนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ออกมาเกินการควบคุม ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ รวมถึงพฤติกรรมของลูกน้อยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การควบคุมอารมณ์ และปัญหาด้านการนอนหลับ รวมถึงความอยากอาหารทำให้ลูกรักคุณไม่รู้สึกถึงความอิ่ม อาจเป็นการนำโรคแทรกซ้อนอย่างโรคอ้วน และโรคอื่นๆ ที่สามารถตามมาได้ เช่น โรคเบาหวานประเภท 2 โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ เป็นต้น

คุณสามารถเช็ก อาการของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด ได้อย่างไรบ้าง

อาการแรกเริ่มสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงอายุ ซึ่งเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ลูกน้อยของคุณยังทารก  0 – 12 เดือน โดยมีอาการดังต่อไปนี้

  • กล้ามเนื้อผิดปกติ
  • ลักษณะของอวัยวะบางส่วนบนใบหน้าเปลี่ยนแปลง เช่น ศีรษะเล็ก ริมฝีปากบนบาง ดวงตามีรูปทรงคล้ายเม็ดอัลมอนด์
  • การพัฒนาทางกายภาพลดลง ลดความสามารถในการเคลื่อนไหวเนื่องจากมีกล้ามเนื้อที่ไม่ค่อยดีมากนัก
  • ตาเหล่

สำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 – 6 ปีขึ้นไป อาจมีอาการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากข้างต้น คือ

  • ความอยากอาหาร และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
  • อัณฑะ หรือรังไข่ไม่ผลิตฮอร์โมน ทำให้อวัยวะเพศเกิดการด้อยพัฒนา
  • มือ และฝ่าเท้ามีขนาดเล็ก เพราะขาดฮอร์โมนเสริมสร้างการเจริญเติบโต
  • พัฒนาการด้านร่างกายล่าช้า เช่น การเดิน การนั่ง
  • ทักษะการพูดช้ากว่าปกติ
  • ความผิดปกติทางจิต โดยเฉพาะการควบคุมอารมณ์ อาจเกิดอาการเกรี้ยวกราด ดื้อรั้น
  • การนอนหลับผิดปกติ รวมถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • สายตาสั้น

บำบัดด้วยเทคนิคทางการแพทย์ เพื่อสุขภาพลูกรักของคุณ

ยังไม่มีการค้นพบถึงวิธีรักษาของโรคนี้ให้หายขาด แต่อย่างไรก็ตามแพทย์อาจใช้การบำบัดในเรื่องของการควบคุมอาหาร โดยแพทย์ และนักโภชนาการจะทำการติดตามน้ำหนักของลูกน้อยของคุณอย่างใกล้ชิด ควบคุมแคลอรี่ให้อยู่ในระดับที่พอควร เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน

ทางแพทย์อาจจำเป็นที่ต้องเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสำหรับเด็กผู้ชาย และโปรเจสเตอโรนสำหรับเด็กผู้หญิง ซึ่งช่วยพัฒนาการด้านทางเพศ ลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน รวมทั้งร่วมส่งเสริมทักษะพัฒนาการทางด้านสังคม มนุษยสัมพันธ์ ด้วยการฝึกพูดเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสาร และฝึกความคล่องตัวด้านการเคลื่อนไหวให้เท่าทันเด็กคนอื่นๆ เพื่อเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพจิตใจอาจส่งผลให้เป็นโรคทางจิตได้ในอนาคต

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี