รีเซต

🤒 6 เรื่องน่ารู้ ป้องกันไว้ ห่างไกล ไวรัส #RSV

🤒 6 เรื่องน่ารู้ ป้องกันไว้ ห่างไกล ไวรัส #RSV
หมอดี
2 สิงหาคม 2567 ( 10:45 )
70
🤒 6 เรื่องน่ารู้ ป้องกันไว้ ห่างไกล ไวรัส #RSV

     ช่วงหน้าฝนของทุก ๆ ปี หนึ่งไวรัสตัวร้ายอย่าง ไวรัส RSV มักจะกลับมาระบาดหนักทุกครั้ง จนทำให้คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านต้องมีความกังวล ต้องระวังการติดเชื้อให้ลูกน้อยเป็นพิเศษ หรือแม้แต่ลูกๆ วัยทำงาน คุณรู้ไหมว่า คุณพ่อคุณแม่วัยชรา ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัส RSV โดยถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงนั้น หากติดเชื้อ อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้น ปอดอักเสบ หรือเสียชีวิตได้

     วันนี้เราเลยอยากบอกเรื่องน่ารู้ ที่จะช่วยให้คุณและครอบครัว พร้อมป้องกันและสามารถรับมือกับไวรัส RSV ได้ มีอะไรบ้าง? ไปรู้คำแนะนำดีๆ จากคุณหมอพนิตนาฎ มงคลสุจริตกุล (คุณหมอมายด์) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านกุมารเวชกรรม และ กุมารแพทย์ ประจำแอปฯ หมอดี 

 

 

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัส RSV แล้วมีอาการรุนแรง คือกลุ่มไหนบ้าง?

 

     เด็กส่วนใหญ่มักติดเชื้อ RSV ตอนอายุ 2 ขวบ โดยเมื่อติดเชื้ออาจเกิดอาการรุนแรงได้ หากไม่รีบเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่จริง ๆ แล้ว ไวรัส RSV ไม่ได้เจาะจงเลือกแค่เด็กเล็กเท่านั้น ทุกคนมีโอกาสติดเชื้อไวรัส RSV ได้ ใน ”ทุกช่วงอายุ” และอาจติดได้ "มากกว่าหนึ่งครั้ง" ในชีวิต แม้ป่วยและได้รับการรักษาจนหายสนิทแล้ว ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่า จะไม่กลับมาเป็นอีก 

     ทั้งนี้สำหรับการติดเชื้อไวรัส RSV ในผู้ใหญ่ แม้ว่าอาการจะไม่ได้รุนแรงเท่ากับการติดเชื้อในเด็กเล็ก เรื่องที่เป็นห่วงคือ ผู้ใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ พี่ป้าน้าอา อาจเสี่ยงที่จะพาเชื้อไวรัส RSV มาติดเด็ก ๆ ที่บ้านได้ ดังนั้น คุณต้องเฝ้าระวัง ดูแลตนเอง รวมถึงลูกๆ คนที่คุณรัก ให้ห่างไกลไวรัสนี้อยู่เสมอ

     อีกกลุ่มเสี่ยงสูงไม่แพ้เด็กเล็ก คือ ผู้สูงอายุ วัย 65 ปีขึ้นไป ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น โดยผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เมื่อติดเชื้อไวรัส RSV จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว เพราะฉะนั้น สำหรับบ้านไหนที่มีกลุ่มเสี่ยงทั้งสองวัยอยู่ด้วยกัน คือ เด็กเล็ก และ ผู้สูงอายุ จึงต้องเฝ้าระวัง ดูแล ป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV เป็นพิเศษ และหากมีคนในครอบครัวเริ่มมีอาการเสี่ยงที่จะป่วยจากไวรัส RSV ก็ควรรีบพบแพทย์ และรับประทานยาตามแพทย์สั่งจะดีที่สุด

 

 

อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV ต่างจากไข้หวัด ยังไง?

     ช่วงแรกมักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น เป็นไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่แข็งแรงดีอาการมักไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่สำหรับเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี เชื้อไวรัส RSV อาจลุกลามไปสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง (หลอดลม เนื้อปอด) ทำให้หลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ และปอดอักเสบตามมาได้ โดยมักแสดงอาการไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีดหวิว หรือ มีเสียงครืดคราดในลำคอ

 

ยาปฏิชีวนะไม่ใช่คำตอบ และยังไม่มีวัคซีน ที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

     ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัส จึงไม่ช่วยให้โรคที่เกิดจากติดเชื้อไวรัสอย่าง ​RSV หายเร็วขึ้นหรือมีอาการดีขึ้นแต่อย่างใด รวมทั้งไม่ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคเหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสตัวไหนที่สามารถรักษา RSV ได้ รวมไปถึงยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV ได้เช่นเดียวกัน ยาปฏิชีวนะไม่มีประโยชน์ หากไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เมื่อติดเชื้อไวรัส RSV แพทย์จะรักษาตามอาการ

 

 

ดูแลรักษาอย่างไร เมื่อติดเชื้อไวรัส RSV?

     ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV โดยเฉพาะ แพทย์จะรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ไอละลายเสมหะ ในเด็กบางรายที่มีเสมหะเหนียวมาก ไอมาก หายใจ หอบเหนื่อย ต้องทำการพ่นยาขยายหลอดลม หรือให้น้ำเกลือผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอดและดูดเสมหะออก หรือให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดถ้ากินได้น้อยและมีภาวะขาดน้ำ

     หากเป็นแค่อาการหวัดจากเชื้อไวรัส RSV หรือในเด็กที่มีอาการน้อย สามารถรักษาตามอาการ โดยการรับยาไปกินที่บ้านได้ หรือเดินทางไปกลับโรงพยาบาลเพื่อมาพ่นยาขยายหลอดลมได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องให้นอนพักรักษาที่โรงพยาบาล เพราะนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายเยอะแล้ว เด็กอาจได้รับเชื้ออื่น ๆ อีกได้เช่นกัน เพราะอยู่ในภาวะที่ร่างกายยังไม่แข็งแรงเท่าไหร่นัก

 

วิธีการป้องกันไวรัส RSV ที่ทำได้ง่ายๆ เหมือนการป้องการการติดไข้หวัดทั่วไป

-  หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทั้งมือของตนเองและลูกเพื่อเป็นการลดทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ได้ถึงร้อยละ 70
-  ใช้แอลกอฮอล์เจลถูมือหากอยู่ข้างนอก หรือไม่สะดวกที่จะไปห้องน้ำเพื่อล้างมือ
-  หลีกเลี่ยงการพาเด็กทั้งตอนสบายดีหรือป่วย ไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัด
-  หากเด็กสามารถใส่หน้ากากอนามัยได้ ก็จะเป็นการช่วยป้องกันได้อีกทาง
-  สำหรับเด็กที่ติดเชื้อแล้ว ควรรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำมาก ๆ และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา และควรแยกออกจากคนอื่น ๆ ที่ยังไม่ติดเชื้อ
-  ควรให้เด็กหยุดพักเรียน จนหายดีไม่มีอาการไอ จามเสียก่อน หรืออย่างน้อย 5-7 วัน จึงค่อยให้กลับไปเรียนที่โรงเรียนได้ตามเดิม เพราะหากยังไม่หายดี อาจนำเชื้อไปแพร่ต่อให้คนอื่น ๆ ได้

 

     🩺 หากมีข้อสงสัย หรือมีอาการเสี่ยงโรค RSV ปรึกษาหมอออนไลน์ ผ่านแอปฯ หมอดี ได้ง่ายๆ แบบไม่ต้องออกจากบ้าน พร้อมส่งยาให้ถึงบ้าน

 

👉 5 ขั้นตอน ในการใช้แอปฯ หมอดี 
1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก >> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb 
 จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกโรคทั่วไป แผนกหูคอจมูก แผนกอายุรกรรม หรือแผนกเด็ก หากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับโรค RSV
3. เลือกแพทย์ ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

💬 สอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาหมอผ่านไลน์ ได้ที่ Line ID: @mordeeapp 


👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากแอปฯ หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี