รู้ก่อน รักษาได้ !! ครรภ์เป็นพิษคืออะไร อาการแบบไหนที่ควรระวัง
ภาวะครรภ์เป็นพิษก็คือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการตั้งครรภ์ค่ะ โดยเกิดขึ้นจากการฝังตัวของทารกบริเวณเยื่อบุผนังมดลูกไม่แน่น ทำให้ได้รับเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เต็มที่ ส่งผลให้เกิดการหลั่งสารพิษเข้าสู่กระแสเลือดและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา
ซึ่งภาวะครรภ์เป็นพิษสามารถทำให้คุณแม่และทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ โดยทั่วโลกมีหญิงตั้งครรภ์ที่เสียชีวิตจากภาวะครรภ์เป็นพิษถึง 7,6000 รายต่อปี และมีทารกเสียชีวิตเหตุนี้ถึง 500,000 รายต่อปีค่ะ
ผู้ที่เสี่ยงเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
- หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์ โรคไต โรคแพ้ภูมิตนเอง (SLE)
- หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30
- หญิงตั้งครรภ์จากการใช้วิทยาการช่วย เช่น ใช้ฉีดเชื้อ ไข่บริจาคหรือสเปิร์มบริจาค เป็นต้น
- หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุเกินกว่า 35 ปี
- หญิงที่ตั้งครรภ์ครั้งแรก
อาการของครรภ์เป็นพิษ
- ความดันโลหิตสูง
- มีโปรตีนรั่วออกมาปะปนกับปัสสาวะ
- มีอาการบวมที่บริเวณหน้าและมือ
- ปวดศีรษะ
- ตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัด
- ปวดจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่หรือบริเวณท้องด้านบนขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งของตับ
- มีอาการชัก
- เกล็ดเลือดต่ำ
- การทำงานของตับผิดปกติ
- เลือดออกในสมอง
ซึ่งอาการทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สามารถทำให้คุณแม่เสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทันท่วงทีค่ะ และนอกจากนี้การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ยังส่งผลให้ทารกในครรภ์คลอดก่อนกำหนด และส่งผลให้ทารกพิการ มีน้ำหนักตัวน้อย มีปัญหาด้านสมอง ปัญหาด้านปอด หัวใจและหลอดเลือดค่ะ
การป้องกัน
วิธีการป้องไม่ให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ นั่นก็คือการไปตรวจตามระยะเวลาที่แพทย์นัดทุกครั้ง และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากหากเกิดความผิดปกติ แพทย์จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถสังเกตอาการด้วยตัวเองได้ เช่น หากรู้สึกว่าตนเองมีอาการบวม ปวดหัว น้ำหนักขึ้นร็วมากกว่าปกติ ก็สามารถไปพบแพทย์ได้ทันทีค่ะ
บทความที่คุณอาจสนใจ
- 8 อาหารบำรุงครรภ์ ที่คุณแม่ควรกินเพื่อให้ลูกแข็งแรง
- คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง !! 8 อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพของลูกในครรภ์