รีเซต

5 เหตุผล ทำไมจึงควรหลีกเลี่ยงน้ำตาลเมื่อพยายามลดน้ำหนัก?

5 เหตุผล ทำไมจึงควรหลีกเลี่ยงน้ำตาลเมื่อพยายามลดน้ำหนัก?
BeauMonde
19 กุมภาพันธ์ 2566 ( 14:00 )
4.6K

     พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการใช้ชีวิตหลายอย่างสามารถนำไปสู่ปัญหาน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ปัญหาการมีไขมันส่วนเกินในร่างกายและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมาได้มาก โดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ลูกอม ไอศกรีมและขนมที่มีน้ำตาล เป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและเกิดภาวะสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน

     ยิ่งโดยเฉพาะคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน น้ำตาลสามารถทำลายเป้าหมายของการลดน้ำหนักได้ง่ายกว่าการกินอาหารที่ไม่ไขมันสูงเสียอีก แต่ทำไมการกินน้ำตาลมากเกินจึงทำให้เราน้ำหนักขึ้นได้ วันนี้เรามีคำตบมาให้ค่ะ

 

 

5 เหตุผล ทำไมลดน้ำหนักจึงควรงดน้ำตาล

 

1. พลังงานว่างเปล่าสูง

     น้ำตาลที่เติมลงในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มรสชาติไม่ว่าจะเป็นฟรุกโตส น้ำเชื่อมข้าวโพด น้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลอื่น ๆ น้ำตาลส่วนเกินเหล่านี้อาจทำให้คุณอ้วนเพราะมีแคลอรีสูง และในขณะเดียวกันก็มีสารอาหารอื่น ๆ น้อย น้ำเชื่อมข้าวโพดหรือคอร์นไซรัป 2 ช้อนโต๊ะ (30 มล.) ให้พลังงานถึง 120 แคลอรี่และไม่มีสารอาหารอื่นเลยนอกจากคาร์โบไฮเดรตอีกเล็กน้อย

     น้ำตาลที่เติมลงในอาหารเหล่านี้มักถูกเรียกว่าแคลอรีเปล่าหรือพลังงานว่างเปล่า เนื่องจากมีแคลอรีค่อนข้างสูงแต่ขาดสารอาหาร ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน ไขมัน และไฟเบอร์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม แม้ว่าการรับน้ำตาลในปริมาณเล็กน้อยจะไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นประจำอาจทำให้คุณได้รับไขมันส่วนเกินอย่างรวดเร็วและมีปัญหสุขภาพตามมา

 

2. ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

     เป็นที่ทราบกันดีว่าการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างมาก แม้ว่าการรับประทานอาหารรสหวานไม่บ่อยนักจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่การบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากในแต่ละวันอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

     ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานหรือที่เรียกว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายซึ่งรวมไปถึงปัญหาน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและปัญหาการดื้อต่ออินซูลิน

     อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยตับอ่อนซึ่งจะทำหน้าที่ในการย้ายน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เซลล์ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ อินซูลินยังเกี่ยวข้องกับการเก็บพลังงาน โดยบอกเซลล์ว่าเมื่อใดควรเก็บพลังงานในรูปของไขมันหรือไกลโคเจน ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสมาเป็นพลังงานสะสม

     ภาวะดื้อต่ออินซูลินคือการที่เซลล์ของคุณหยุดตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งจะนำไปสู่ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นยังทำให้การทำงานของเซลล์ปกติลดลงและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ รวมไปถึงการกักเก็บไขมันเพิ่ม ปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ 

 

3. ขาดสารอาหารที่สำคัญ

     หากอาหารส่วนใหญ่ของคุณวนเวียนอยู่กับอาหารที่มีน้ำตาลสูง โอกาสที่คุณจะขาดสารอาหารที่สำคัญก็มีเพิ่มขึ้น ทั้งโปรตีน ไขมันดี ใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ คือสารอาหารทั้งหมดที่พบในอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งร่างกายต้องการเพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสมและมีสุขภาพดี และแน่นอนว่าสารอาหารเหล่านี้มักมีน้อยในอาหารที่มีน้ำตาลสูง

     นอกจากนี้ อาหารที่ผ่านการขัดสีและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงมักจะไม่มีสารประกอบที่เป็นประโยชน์ เช่นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสารประกอบเหล่านี้จะมีมากในอาหารทั่วไป เช่น น้ำมันมะกอก ถั่วและธัญพืช ไข่แดง และผักผลไม้ที่มีสีสันสดใส

 

4. อาจทำให้กินมากเกิน

     การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาลฟรุกโตส สามารถเพิ่มระดับของฮอร์โมนเกรลินซึ่งเป็นฮอร์โมนความหิวได้ และในขณะเดียวกันก็ลดระดับของเปปไทด์ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการระงับความอยากอาหาร

     ฟรุกโตสอาจเพิ่มความอยากอาหารโดยส่งผลต่อสมองส่วนที่เรียกว่าไฮโปทาลามัส ซึ่งไฮโปทาลามัสมีหน้าที่ในการทำงานหลายอย่าง รวมถึงการควบคุมความอยากอาหาร การเผาผลาญแคลอรี ตลอดจนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ฟรุกโตสจะส่งผลต่อระบบการส่งสัญญาณในไฮโปทาลามัส และเพิ่มระดับของนิวโรเปปไทด์ที่กระตุ้นความหิว และในขณะเดียวกันก็จะลดสัญญาณความอิ่ม

 

5. มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและโรคเรื้อรัง

     มีการศึกษาจำนวนมากพบว่าการบริโภคน้ำตาลในปริมาณสูงกับภาวะโรคอ้วนและน้ำหนักเกินรวมถึงภาวะสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดและโรคเบาหวาน ซึ่งผลกระทบนี้พบได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก

     ยิ่งไปกว่านั้นน้ำตาลส่วนเกินที่เติมลงไปในอาหารยังมีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับการเพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ โดยน้ำตาลจะมีบทบาทในการเพิ่มระดับไขมันในร่างกาย เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญทั้งหมดที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ 

     เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมากยังเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 และนอกจากนี้ การบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้น ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นภาวะที่อาจส่งเสริมให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นด้วยได้



บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง