รีเซต

5 สัญญาณของโรคสมาธิสั้น ผู้ใหญ่ก็เป็นได้ ส่งผลกระทบกับการทำงาน !!

5 สัญญาณของโรคสมาธิสั้น ผู้ใหญ่ก็เป็นได้ ส่งผลกระทบกับการทำงาน !!
BeauMonde
11 ธันวาคม 2565 ( 14:48 )
1.1K

     โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่มักพบได้บ่อยในเด็ก แต่ในปัจจุบันก็พบว่าเริ่มมีมากในวัยผู้ใหญ่ได้ด้วยเช่นกัน โรคสมาธิสั้นสามารถขัดขวางความสามารถในการทำงานและการเรียน นำไปสู่ปัญหาการเรียนและการทำงานที่ไม่ดี และในบางครั้งอาจส่งผลไปถึงความนับถือตนเอง (self-esteem) ที่ต่ำลงได้อีกด้วย

     เมื่อนึกถึงเด็กสมาธิสั้น คนส่วนใหญ่อาจจะจินตนาการถึงเด็กที่พูดไม่หยุดและมีพลังงานอย่างเหลือเฟือ ถึงแม้ว่าลักษณะอาการแบบนี้อาจเป็นสัญญาณหนึ่งของโรค แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะมีอาการอย่างนั้นเสมอไป สำหรับผู้ใหญ่ อาการของโรคสมาธิสั้นอาจดูซับซ้อนกว่านั้น และต่อไปนี้เป็นอาการของโรคสมาธิสั้นที่พบบ่อย 6 ประการ และหากใครได้ที่รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคนี้ เราก็มีวิธีการช่วยเหลือตนเองเพื่อลดผลกระทบของโรคมาให้ค่ะ

 

โรคสมาธิสั้น (ADHD) คืออะไร

 

     โรคสมาธิสั้น (Attention-deficit/hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นโรคทางสมองที่ส่งผลต่อการให้ความสนใจ การอยู่นิ่ง ๆ และการควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วย โรคนี้มักเกิดขึ้นในเด็กและวัยรุ่นแต่ก็สามารถพบได้ในวัยผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน

     โรคสมาธิสั้นเป็นโรคทางจิตเวชที่ได้รับการวินิจฉัยบ่อยที่สุดในเด็ก โดยเด็กผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเป็นมากกว่าเด็กผู้หญิง มักพบในช่วงปีแรก ๆ เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้ที่จะให้ความสนใจในสิ่งต่าง ๆ 

     โรคสมาธิสั้นไม่สามารถป้องกันหรือรักษาได้ แต่การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ บวกกับการรักษาอย่างใกล้ชิด สามารถช่วยเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นให้สามารถจัดการกับอาการของพวกเขาได้

 

 

5 สัญญาณของโรคสมาธิสั้น

 

1. หุนหันพลันแล่น

     ความหุนหันพลันแล่นเป็นหนึ่งในอาการของโรคสมาธิสั้น หากเราเป็นโรคสมาธิสั้น เราอาจจะหุนหันพลันแล่นและทำอะไรโดยไม่ได้คำนึงถึงผลที่ตามมา ในด้านการเงินเราอาจตัดสินใจได้ไม่ดีนัก บางครั้งอาจซื้อของอย่างหุนหันพลันแล่น หรือตัดสินใจใช้เงินอย่างไม่รับผิดชอบ เช่น ใช้เงินออมไปหมดหรือก่อหนี้โดยไม่ทันคิดถึงผลกระบให้ดี

     ความหุนหันพลันแล่นของโรคสมาธิสั้นอาจไม่ได้หยุดอยู่แค่เรื่องการเงินเท่านั้น เราอาจหุนหันพลันแล่นในการสื่อสารกับผู้อื่น เช่น พูดมากเกินไปหรือโพล่งสิ่งที่อยู่ในใจออกมา นอกจากนี้เรายังอาจหุนหันพลันแล่นในการใช้ชีวิตได้ เช่น ลาออกจากงานหรือใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย

 

2. มีปัญหาในการจัดลำดับความสำคัญ

     ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นโรค การจัดระเบียบถือเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลาย ๆ คน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาสมาธิสั้นอาจจะมีช่วงเวลาที่ลำบากมากขึ้นในการจัดระเบียบสิ่งต่าง ๆ และแม้แต่การจัดลำดับความสำคัญว่าอะไรควรทำก่อนหลังให้เสร็จอย่างมีเหตุผล นั่นเป็นเพราะโรคสมาธิสั้นเกี่ยวข้องกับการทำงานของเปลือกสมองส่วนหน้าหรือสมองส่วนที่ควบคุมพฤติกรรม อารมณ์ ความสนใจ และการจัดระเบียบ หากสมองส่วนนี้ทำงานอ่อนแอลง ก็ส่งผลให้ประสบกับปัญหาสมาธิสั้นได้

     คนที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจหยุดจากงานหนึ่งแล้วหันไปสู่อีกงานหนึ่ง ไม่ใช่เพราะเกิดจากการคิดอย่างมีเหตุผมและไม่ใช่แค่นิสัยใจคอเท่านั้น เพราะการศึกษาในปี 2018 พบว่าเด็กที่มีสมาธิสั้น ก็มักจะมีความจำบกพร่องในการทำงาน คนที่ป่วยด้วยโรคนี้จะใช้ความจำระยะสั้นเป็นหลัก และส่งผลให้เป็นเรื่องยากที่จะวางแผนและดำเนินการตามขั้นตอนนั้น ๆ อย่างต่อเนื่องในระยะยาว

 

3. มีปัญหาในการบริหารเวลา

     อาการทั่วไปอีกอย่างหนึ่งของโรคสมาธิสั้นคือความยากลำบากในการบริหารเวลา โดยอาการที่แสดงออกมา เช่น ผู้ป่วยมักจะไปสายหรือมีปัญหาในการปฏิบัติตามตารางเวลา หรือมีปัญหาหลงลืมในบางครั้งบางคราว อย่างไรก็ตามการบริหารเวลาจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ไม่ใช่ว่าการมาสายหรือไม่ทำงานจะเป็นอาการของโรคเสมอไป แต่อาจเป็นเรื่องของความรับผิดชอบแต่ละบุคคลก็ได้

 

4. รู้สึกกระสับกระส่าย

     การอยู่ไม่สุขและกระสับกระส่าย มักเป็นอาการที่คนส่วนใหญ่นึกถึงโรคสมาธิสั้น เพราะอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อย ผู้ป่วยอาจเคลื่อนไหวหรือพูดคุยตลอดเวลา แต่อาการนี้จะแตกต่างจากผู้ที่รู้สึกกระสับกระส่ายจากความเครียดหรือปัญหาทางร่างกาย ในบางครั้งอาการกระสับกระส่วยจากโรคสมาธิสั้นจะแสดงอาการได้ละเอียดกว่า โดยมือหรือเท้าจะอยู่ไม่สุข หรือมักลุกจากเก้าอี้เพื่อไปทำอย่างอื่น ยิ่งเมื่อผู้ป่วยอยู่ในสถานที่ที่เงียบสงบ ก็ยิ่งอาจจะมีอาการได้มาก

 

5. ควบคุมอารมณ์ได้ยาก

     ปัญหาในการควบคุมอารมณ์ ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของโรคสมาธิสั้น การเปลี่ยนอารมณ์อย่างรวดเร็ว หงุดหงิดง่าย เบื่อบ่อย ไม่สามารถตั้งสมาธิกับการอ่านหนังสือได้นาน มีปัญหาในการควบคุมความโกรธ ก็เป็นอาการของโรคสมาธิสั้นได้ รวมถึงการมีความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้วและโรควิตกกังวล ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคสมาธิสั้นเช่นกัน

 

วิธีดูแลตนเองแบบธรรมชาติสำหรับผู้ป่วยสมาธิสั้น

     นอกจากการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างก็สามารถช่วยให้เราหรือบุตรหลานของเราจัดการกับอาการต่างๆ ได้:

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วยผลไม้ ผัก ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีน
  • ออกกำลังกายทุกวัน การศึกษาพบว่าการออกกำลังกายช่วยควบคุมแรงกระตุ้นและปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ในเด็กที่มีสมาธิสั้นได้ 
  • จำกัดเวลาที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • จัดห้องนอนให้เรียบง่ายเพื่อลดสิ่งรบกวน
  • ให้รางวัลตนเองเมื่อทำพฤติกรรมที่ดี
  • รับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 เพราะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง