ลูกติดโควิดทำอย่างไรดี วิธีดูแลเด็กเล็กที่บ้าน เมื่อติดโควิด-19
เรียกว่าสถานการณ์โควิด-19 สำหรับสายพันธุ์ไอมิครอนกำลังเป็นที่น่ากังวลค่ะ เพราะกลุ่มผู้ติดเชื้อเริ่มมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กที่เริ่มมีการติดเชื้อโควิด-19 จากคนในครอบครัว ซึ่งอาการติดเชื้อที่พบตั้งแต่ไม่มีอาการ จนถึงมีอาการรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ โดยกลุ่มเสี่ยงที่พบอาการรุนแรงคือเด็กทารกและเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
สำหรับเด็กที่ติดโควิด-19 และมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ สามารถเลือกรับการรักษาแบบ Home Isolation (HI) ได้ แต่จะต้องมีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่สามารถดูและประเมินอาการให้เด็กได้ตลอดเวลา ซึ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ มาดูกันค่ะว่าจะต้องเตรียมอุปกรณ์หรือรับมือย่างไรบ้าง
ระดับอาการของเด็ก เมื่อติดโควิด-19
ระดับอาการของเด็กแบ่งเป็น 2 แบบ
- แบบที่ 1 มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก มีอาการไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ถ่ายเหลว ยังคงกินอาหารหรือนมได้ปกติ และไม่ซึม เป็นอาการในระดับที่สามารถเฝ้าสังเกตที่บ้านต่อไปได้
- แบบที่ 2 มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ใช้แรงในการหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94 เปอร์เซ็นต์ ซึมลง ไม่ดูดนม และไม่กินอาหาร ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
อุปกรณ์ที่ต้องมีติดบ้าน เมื่อลูกติดโควิด
- ปรอทวัดไข้
- เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
- อุปกรณ์ที่สามารถถ่ายภาพหรือคลิปวีดีโออาการของเด็กได้
- โทรศัพท์เพื่อติดต่อกับสถานพยาบาลหากมีเหตุจำเป็น
- ยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ เช่นพาราเซตามอล ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก และเกลือแร่
วิธีดูแลเด็กเล็กที่บ้าน เมื่อติดโควิด-19
1. พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องคอยสังเกตอาการโดยรวมของเด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
2. พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
3. พ่อแม่หรือผู้ปกครองล้างมืออย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับเด็กที่ติดเชื้อ
4. ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสในห้องเป็นระยะด้วยแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำยาทำความสะอาดที่สามารถกำจัดเชื้อโควิด-19
5. หากเด็กมีภาวะข้อใดข้อหนึ่ง เช่น อาการหายใจหอบ มีการใช้แรงในการหายใจ เช่น หายใจอกบุ๋ม ชายโครงบุ๋ม หรือปีกจมูกบาน ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94 เปอร์เซ็นต์ ริมฝีปาก เล็บ หรือปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ ซึมลง ไม่ดูดนม กินไม่ได้ เพลีย ไม่มีมีแรง หรือมีไข้ตั้งแต่ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไปให้รีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก :