รีเซต

ปวดต้องเปลี่ยน! ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง แก้ปวดหลังได้ แก้อาการออฟฟิศซินโดรม

ปวดต้องเปลี่ยน! ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง แก้ปวดหลังได้ แก้อาการออฟฟิศซินโดรม
Faii_Natnista
10 สิงหาคม 2564 ( 16:30 )
1.3K

     นั่งทำงานที่บ้านนานๆ อาการปวดหลัง อาการออฟฟิศซินโดรมก็ถามหา! แต่ปล่อยผ่านไปไม่ได้นะคะ มาดู ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง บอกลาอาการปวดทั้งหลายกันดีกว่า! สาเหตุหนึ่งของอาการปวดหลังเวลานั่งทำงานนานๆ ก็มาจากการนั่งที่ไม่ถูกต้องนี่ล่ะค่ะ ซึ่งแค่ปรับเปลี่ยนท่านั่งนิดหน่อยและทำให้ชินเป็นนิสัย ก็ช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ไปได้เยอะแล้วล่ะ! บอกเลยว่า ถ้าปวดก็ต้องเปลี่ยน (ท่า) !! 

 

 

1. นั่งให้เต็มก้น หลังแนบชิดไปกับพนักเก้าอี้

     หากใครที่นั่งบนเก้าอี้ทำงาน แนะนำว่าอย่างแรกเลยจะต้องนั่งให้เต็มเก้าอี้ โดยก้นของเราจะต้องชิดติดกับตัวพนักเก้าอี้ ไม่กระเถิบก้นออกมาจากห่างจากพนักเก้าอี้ เพราะเมื่อนั่งไปนานๆ อาจจะทำให้เมื่อย และอาจทำให้เกิดอาการปวดลามไปที่หลังได้ค่ะ และที่สำคัญจะต้องนั่งให้หลังตรงและแนบไปกับพนักเก้าอี้ ไม่เอนตัวมาด้านหน้า ไม่งุ้มไหล่ ห่อไหล่ หรือก้มตัวไปหาหน้าจอคอมพิวเตอร์ พยายามนั่งให้หลังตรงอยู่เสมอจะดีที่สุดค่ะ

 

2. วางต้นขาแนบติดกับเก้าอี้ และวางเท้าราบไปกับพื้น

     นอกจากนั่งหลังตรงแล้ว การวางขาที่ถูกต้องก็จะช่วยแก้อาการปวดหลังไปได้ในตัวค่ะ ซึ่งท่าที่ถูกต้องในการนั่งนั้น ต้นขาจะต้องแนบติดไปกับตัวเก้าอี้หรือเบาะรองเก้าอี้ วางฝ่าเท้าราบ แนบไปกับพื้น ไม่ยกส้นเท้าหรือปลายเท้าขึ้น ช่วงขาหรือน่องจะต้องตั้งฉาก ทำมุม 90 องศากับเข่า

  • ❌ ห้ามนั่งไขว่ห้าง
  • ❌ ห้ามนั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้
  • ❌ ห้ามนั่งโน้มตัวมาด้านหน้าแบบไม่พิงเก้าอี้

 

 

3. วางข้อมืออยู่ระนาบเดียวกันกับแป้นพิมพ์และเม้าส์

     การวางระดับของข้อศอกและข้อมือนั้น จะต้องวางให้อยู่ในระนาบเดียวกันกับแป้นพิมพ์และเม้าส์ หรือต่ำกว่าเพียงเล็กน้อยค่ะ ซึ่งไหล่จะต้องไม่ยกขึ้น หรือห่อลง โดยเก้าอี้ทำงานที่มีที่พักแขนก็ควรปรับให้แขนของเราอยู่ในระดับที่ข้อมือต้องอยู่ระนาบเดียวกันกับแป้นพิมพ์และเม้าส์ด้วย

 

4. สายตาอยู่ระดับเดียวกับจอคอมพิวเตอร์

     การนั่งทำงานที่ถูกต้อง ศีรษะของเราจะต้องตั้งตรง ไม่โน้มเข้าหาจอคอมพิวเตอร์มากจนเกินไปค่ะ ซึ่งระดับสายตาของเรานั้นก็ควรอยู่ระดับเดียวกับจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากจอคอมพิวเตอร์อยู่ต่ำหรือสูงเกินไป จะทำให้เราต้องเงยหน้าหรือก้ม และเกร็งต้นคอ ซึ่งอาจะทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ บ่า และลามมาที่หลังส่วนบนได้

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง