รีเซต

3 วิธีเพิ่มเอสโตรเจนตามธรรมชาติ ลดอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ

3 วิธีเพิ่มเอสโตรเจนตามธรรมชาติ ลดอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ
BeauMonde
7 ธันวาคม 2566 ( 12:10 )
376

     ทุกคนย่อมรู้ดีว่าร่างกายของตนเองจะเปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น เส้นผมที่เคยดำขลับก็อาจเปลี่ยนไปเป็นผมขาวผมหงอก ผิวหนังเหี่ยวย่น และสายตาแย่ลง ซึ่งนอกจากการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนก็เกิดขึ้นในร่างกายได้ด้วยเช่นกัน และโดยเฉพาะเพศหญิง ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกได้ด้วย

     คนส่วนใหญ่คิดว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์เท่านั้น แต่เอสโตรเจนก็ยังมีบทบาทสำคัญอีกหลายเรื่อง เช่น ความแข็งแรงของกระดูก สุขภาพหัวใจและอารมณ์

 

สาเหตุของการมีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ

     โดยทั่วไประดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเริ่มลดลงในช่วงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เราเรียกว่าวัยทอง แต่นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำอีกหลายอย่าง เช่น

  • ให้นมบุตร
  • การรักษามะเร็ง
  • การคลอดบุตร
  • ความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
  • การตัดมดลูกออก

 

อาการทั่วไปของฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ

  • มีปัญหาในการเพ่งสมาธิ
  • ความสนใจในเรื่องเพศลดลง
  • ร้อนวูบวาบ
  • ประจำเดือนไม่ปกติ
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง
  • มีปัญหาการนอนหลับ
  • ช่องคลอดแห้ง

 

 

3 วิธีเพิ่มเอสโตรเจนตามธรรมชาติ

 

1. การรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน

     พืชหลายชนิดมีสารพฤกษเคมีซึ่งเป็นสารประกอบที่ทำงานเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสารพฤกษเคมีกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อว่าไฟโตเอสโตรเจนสามารถเลียนแบบเอสโตรเจนได้ เมื่อรับประทานเข้าไป ร่างกายของเราจะดูดซึมในระหว่างการย่อยอาหารและรับรู้ว่าเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน 

     ซึ่งอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนจำเพาะเหล่านี้ในระดับสูง ได้แก่ แอปเปิ้ล เบอร์รี่ องุ่น ลูกพีช ลูกแพร์ ลูกพลัม ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต จมูกข้าวสาลี เบียร์ กาแฟ น้ำมันมะกอก ไวน์แดง ชา อัลมอนด์ เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วลิสง เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง เต้าหู้ ซุปมิโซะ บรอกโคลี กะหล่ำดาว ผักคะน้า หัวหอม ผักโขม กะหล่ำ

 

2. ได้รับแร่ธาตุและวิตามินที่ช่วยคงระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเพียงพอ

     วิตามินและแร่ธาตุบางชนิดช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากต้องการเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ควรรับแร่ธาตุและวิตามิน ดังนี้ โบรอนเป็นแร่ธาตุที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน วิตามินบีซึ่งช่วยให้ร่างกายสร้างและใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน วิตามินดีซึ่งทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนในร่างกายและช่วยในการผลิตเอสโตรเจน วิตามินอีเนื่องจากการวิจัยพบว่าวิตามินอีอาจช่วยลดอาการร้อนวูบวาบและการนอนไม่หลับได้

 

3. รับประทานอาหารเสริมเอสโตรเจนจากธรรมชาติ

     มีอาหารเสริมที่เชื่อกันว่าสามารถลดอาการของฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำได้ แต่ก่อนที่จะรับประทานอาหารเสริมอะไรก็ตามควรมีการปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน

 

อ้างอิง

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง