รีเซต

เช็กอาการด่วน!! เดี๋ยวสุขเดี๋ยวเศร้า หรือเราจะเป็น "ไบโพลาร์"

เช็กอาการด่วน!! เดี๋ยวสุขเดี๋ยวเศร้า หรือเราจะเป็น "ไบโพลาร์"
หมอดี
15 กรกฎาคม 2565 ( 10:45 )
671
เช็กอาการด่วน!! เดี๋ยวสุขเดี๋ยวเศร้า หรือเราจะเป็น "ไบโพลาร์"

     ⏳ บางเวลารู้สึกมีความสุขกับทุกเรื่องที่ทำ แต่บางเวลากลับรู้สึกดำดิ่ง หดหู่ หมดไฟ ไม่มีเป้าหมายในการใช้ชีวิต ใครเป็นแบบนี้ไม่ควรละเลย เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า... คุณเข้าข่าย “ไบโพลาร์” หรือโรคอารมณ์สองขั้ว 😁 😭

     ไบโพลาร์ เป็นโรคที่เกี่ยวกับสารเคมีในสมอง สามารถเกิดขึ้นเองได้ตามภาวะของอารมณ์ ความเครียด ความทุกข์ ความสูญเสีย แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระหว่างช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (Depression) สลับกับช่วงที่อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania) ระยะเวลาในแต่ละช่วงอาจอยู่เป็นสัปดาห์หรือเดือน

     ความผิดปกติทางอารมณ์ทั้งสองแบบจะเปลี่ยนแปลงไปมา สลับกันอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจส่งผลกระทบต่อชีวิต ทั้งในเรื่องการงาน เรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด และปัญหาที่เกิดจากภาวะจิตใจ ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ อาจจะมีโรคซึมเศร้าแทรกได้ คุณวีรวิชญ์ เหล่าวีระธรรม นักสุขภาพจิต ประจำแอปฯ หมอดี บอกว่า...

 

 

สัญญาณเตือนไบโพลาร์ 

     สัญญาณเตือนไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว มีดังนี้


😁 ช่วงอารมณ์ดีผิดปกติ (Mania episode)

- ร่าเริง หรือคึกเป็นพิเศษ

- รู้สึกมั่นใจตัวเอง

- ไม่หลับ ไม่นอน

- สมาธิสั้น

- พูดเร็ว พูดเยอะ

- แรงเยอะ บ้าพลัง

 

😭 ช่วงซึมเศร้า (Depression episode)

- คิดช้า ไม่มีสมาธิ

- คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย

- ท้อแท้ สิ้นหวัง หดหู่

- ไม่อยากเจอใคร

- นอนไม่หลับ

- หมดไฟ ไม่มีเป้าหมายในชีวิต

 

 

     เมื่อไหร่ที่สังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างแล้วพบว่ามีอาการแบบนี้ โดยเปลี่ยนแปลงไปมา สลับกันอย่างรุนแรง ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อปรึกษาพูดคุย และทำการรักษาที่ถูกต้อง เช่น รับยา หรือรับการบำบัดทางจิตใจ

     นอกจากนี้ สาเหตุของโรคไบโพลาร์ ยังอาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล และจากสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือ ความเครียดในชีวิตประจำวันที่กระตุ้นให้โรคแสดงอาการ รวมถึงอาจเกิดจากโรคบางอย่าง เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน

     อาการของโรคจะสลับไปมา ระหว่างอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ กับ อารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ โดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ใดๆ ในช่วงที่อารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยมักเบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร อ่อนเพลีย มองทุกอย่างในแง่ลบ บางรายมีความคิดอยากตาย ซึ่งอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายจริงๆ ได้ สำหรับช่วงเวลาขึ้น-ลงของอารมณ์นั้น ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว อาจเป็นภายในหนึ่งวัน สัปดาห์ เดือน หรือ ปีก็ได้

 

การวินิจฉัยโรคไบโพลาร์

     การวินิจฉัยโรคไบโพลาร์ อาจทำได้จากการซักประวัติและการพูดคุยกับผู้ป่วย ประกอบกับการตรวจร่างกายและการตรวจสุขภาพจิตด้วยแบบสอบถาม รวมทั้งโรคประจำตัวอื่นๆ

     การรักษาสามารถใช้ยาหรือทำจิตบำบัด ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการผิดปกติและสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เหมือนเดิมภายในประมาณ 2-8 สัปดาห์

     ด้านการปฏิบัติตัว ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมคลายเครียด ทำให้จิตใจสบาย รับประทานยาตามแพทย์สั่งและไม่ควรหยุดยาเอง สังเกตอาการตัวเอง ถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ แจ้งคนใกล้ชิดถึงอาการเริ่มแรกของโรค เพื่อช่วยสังเกตและพาไปพบแพทย์

     ญาติและบุคคลใกล้ชิด ควรเข้าใจอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติว่าเป็นความเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยที่แท้จริงของผู้ป่วย ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ดูแลพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออันตราย และเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ควรให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ และไม่ให้ผู้ป่วยอยากหยุดยาก่อนปรึกษาแพทย์จนหาย

     หากรู้เร็ว เข้าใจ ยอมรับตัวเองได้ และรีบเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการไบโพลาร์ ก็จะสามารถหาย แล้วกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

 


📲 5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการ ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัด ผ่านอป MorDee (หมอดี)

  1. ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
  2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา แล้วเลือกแผนกจิตเวช (เพื่อปรึกษาแพทย์) หรือแผนกสุขภาพใจ เพื่อปรึกษานักจิตบำบัด
  3. เลือกแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมายโดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ สามารถเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
  4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
  5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

6 ข้อ ไบโพล่าร์ เราเป็นคนอารมณ์สองขั้วหรือไม่ เช็คได้ตามนี้

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง