ภาพปก Pexelsคืนนี้นอนพลิกไปพลิกมามาสักพักแต่กลับไม่มีทีท่าว่าจะหลับลงเลย แต่ร่างกายตอนนี้ส่งสัญญาณชัดเจนว่าอ่อนเพลียเหลือเกิน อาการไมเกรนที่เป็นประจำก็กำเริบขึ้นมาเสียอย่างนั้น บางทียานอนหลับสักเม็ดอาจจะช่วยเราให้ผ่านพ้นคืนนี้ไปได้ แต่ก่อนหน้าที่คุณจะเดินไปหยิบยานอนหลับที่อยู่ในตู้ กลืนมันลงคอแล้วข่มตานอน เราอยากจะให้คุณรับรู้ข้อมูลบางอย่างที่สำคัญภาพจาก Pexelsจริงอยู่ที่ว่ายานอนหลับเม็ดนี้อาจจะนำพาคุณเข้าสู่ห้วงนิทราได้อย่างรวดเร็ว แต่รู้ไหมว่ามันกำลังค่อย ๆ สร้างภาระใหญ่หลวงให้ร่างกายของคุณในระยะยาว ก่อนอื่นมันเหมือนกันกับทุก ๆ เรื่องเมื่อมีครั้งแรก ครั้งที่สอง และครั้งที่สามมักจะตามมาอย่างแน่นอน คุณนอนหลับอย่างง่ายดายเมื่อใช้ยาเม็ดนี้ และคุณก็จะใช้ต่อไปเรื่อย ๆ แล้วบอกตัวเองว่า “ไม่เป็นไร ฉันไม่ได้ใช้มันบ่อยขนาดนั้น” เมื่อรู้ตัวอีกทีคุณก็ใช้มันมาได้ระยะหนึ่งแล้ว การทานยานอนหลับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนั้นมักจะทำให้ผู้ใช้ติดเป็นนิสัย จนวันหนึ่งคุณจะนอนหลับด้วยตัวเองไม่ได้กลายเป็นว่าทุกครั้งที่จะข่มตาให้นอนหลับจะต้องใช้ยานอนหลับเป็นประจำ นอกจากนี้อาจเกิดอาการดื้อยาหรืออาการเสพติดขึ้นมาอีกด้วยภาพจาก Pexelsยานอนหลับนั้นมีหลากหลายประเภท โดยมากจะส่งผลโดยตรงไปยังระบบประสาทในสมองซึ่งเหมือนเป็นการกดทับและบังคับการทำงานตามกลไกของร่างกายให้เป็นไปตามฤทธิ์ยา ทำให้เกิดภาระกับระบบประสาทอย่างมาก ซ้ำร้ายกลไกของร่างกายมนุษย์นั้นมีการบวนการเรียนรู้หลายระดับทั้งที่เราควบคุมได้ และไม่สามารถควบคุมได้ วันหนึ่งร่างกายของคุณจะจดจำรูปแบบและตอบสนองการนอนหลับโดยจำเป็นต้องใช้ยาเท่านั้น นอกจากนี้การจดจำรูปแบบดังกล่าวนั้นสามารถพัฒนาไปสู่สภาวะที่ไม่มีอาการง่วงนอนเมื่อไม่มียานอนหลับเข้าไปกระตุ้น และสุดท้ายผลกระทบจะไปตกอยู่กับระบบในร่างกายทุกส่วนที่ต้องทำงานอย่างผิดปกติ ซึ่งปัจจุบันพบว่ายังไม่มีวิธีการที่จะสามารถรักษาผลข้างเคียงที่เกิดจากยานอนหลับได้อย่างหมดจดนัก ไม่เพียงเท่านี้ เมื่อระบบประสาทถูกกระตุ้นจนบอบช้ำเกินไป สถานีสุดท้ายอาจจบลงที่โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งหากจะหยุดยาเพื่อรักษาก็สายเกินไปเสียแล้วภาพจาก Unsplashเมื่อคุณทราบข้อมูลทั้งหมดแล้ว ยังอยากจะหยิบยานอนหลับเม็ดนั้นกลืนลงคอไปในคืนนี้หรือเปล่า? หรือจะลองหันไปชงชาสมุนไพรสักแก้ว ทำสมองให้โล่ง อ่านหนังสือเล่มโปรดสักสองสามย่อหน้า แล้วนอนนับแกะบนเตียงอุ่น ๆ แทนดีล่ะ?