ชีวิตเราทุกวันนี้เต็มไปด้วยอุปสรรคหลายอย่างที่เข้ามาถาโถมจนทำให้ใครหลาย ๆ คนอาจมีความรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง หมดกำลังใจในการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตในประจำวัน ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรค Burnout Syndrome (ภาวะหมดไฟ) มาดูกันว่าเราจะจัดการกับอาการเหล่านี้อย่างไร และเราจะเติมเชื้อเพลิงแพสชันในการใช้ชีวิตอย่างไรให้เรากลับมามีชีวิตชีวากับกิจวัตรประจำวันของเราอีกครั้ง อะไร คือ Burnout Syndrome? ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) คือ อาการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจอันเนื่องมาจากสภาวะตึงเครียดจากการทำงานเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้มีอาการดังกล่าวรู้สึกหมดพลัง หมดกำลัง มีทัศนติในทางที่ไม่ดีต่องานของตนเอง (Bangkokhospital, ม.ป.ป.) ถึงแม้ว่าภาวะหมดไฟมีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า แต่ภาวะนี้ไม่ใช่โรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าผู้ป่วยอาการนี้อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าบุคคลทั่วไป (Samitivejhospitals, 2561) ปัจจัยเสียง "หมดไฟ" มีอะไรบ้าง? อินโฟกราฟิกโดยผู้เขียน via Canva จากการศึกษาของผู้เขียนตามบทความของโรงพยาบาลต่าง ๆ ผู้เขียนขอสรุปตามบทความของโรงพยาบาลสมิติเวช โดยบทความนี้ได้ให้ข้อมูลว่ามีอยู่ 3 ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน ปัจจัยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ และปัจจัยเกี่ยวกับบุคลิกส่วนตัว ปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน เช่น งานล้นมือ ระยะเวลาในการทำงานมากเกินไป องค์กรไม่มีความชัดเจน ทำงานภายใต้แรงกดดัน งานที่ต้องรับผิดชอบมีปริมาณมากเกินไป และมีบทบาทที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูง และฝืนใจทำงานด้วยความเบื่อหน่าย ปัจจัยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ เช่น เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และการทำงานจนไม่มีเวลาพักผ่อน ปัจจัยเกี่ยวกับบุคลิกส่วนตัว เช่น เป็นคนประเภท Perfectionist เป็นคนเก็บตัว และไม่มีแผนการที่ยืดหยุ่น ฉันจะกลับมามีไฟอีกครั้งได้อย่างไร? รักษาสุขภาพร่างกาย ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay การรักษาสุขภาพร่างกายช่วยบรรเทาอาการหมดไฟได้ เพียงคุณพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หักโหมจนเกินไป รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที เฉลี่ย 5 ครั้ง/สัปดาห์ นอกจากคุณจะไม่รู้สึกหมดไฟ คุณยังมีสุขภาพร่างกายที่ดีตามมาด้วย ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ปรับสมดุลระหว่างการพักผ่อนและการทำงาน ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay การทำงานมากเกิดไปเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการหมดไฟ ดังนั้น คุณควรปรับสมดุลนาฬิกาชีวิตของคุณด้วยการทำงาน และพักผ่อนในระยะเวลาที่เหมาะสม ถ้าหากคุณรู้สึกว่าการทำงานของฉันช่างตึงเครียดเสียเหลือเกิน คุณอาจใช้เวลาวันหยุดที่เหลืออยู่ในการพักผ่อน นอกจากนี้ การจัดลำดับความสำคัญก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้งานของคุณสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เมื่องานของคุณออกมาสมบูรณ์แบบ ความเครียดจากการทำงานคงห่างจากคุณไปไกลเลยทีเดียว ลดการใช้โซเชียลมีเดียลงบ้าง ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay การใช้โซเชียลมีเดียทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ฯลฯ อาจทำให้คุณต้องเสียเวลาในการใช้ชีวิตมากจนเกินไป ซึ่งอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการความสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน นอกจากนี้ การใช้สื่อสังคมออนไลน์มาก ๆ อาจทำให้คุณเครียดจากการเสพข้อมูลข่าวสารมากจนเกินไปอีกด้วย หาที่ปรึกษาสักคน ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay ในแต่ละวัน คุณอาจจะต้องเจอเรื่องราวมากมายที่ทำให้คุณเครียดจนอยากระบาย ดังนั้น การหาที่ปรึกษาสักคน เป็นทางเลือกที่ดีในการระบายความเครียดที่อัดอั้นอยู่ในใจ เพราะถึงแม้ว่าคุณจะเจอเรื่องแย่มากแค่ไหนก็ตาม แต่การมีที่ปรึกษาทำให้คุณรู้สึกว่าตนเองไม่ได้สู้กับเรื่องเลวร้ายเหล่านั้นเพียงตัวคนเดียว ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay ถ้าคุณรู้สึกว่าสิ่งที่คุณกำลังรับมืออยู่นั้นมากเกินกว่าที่จะรับมือไหว การไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นทางเลือกที่ดีที่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น และกลับมาเป็นคนมีไฟอีกครั้ง (สรุป รวบรวม และจำแนกประเภทจากบทความของโรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลสมิติเวช) อ้างอิง https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/burnout-syndrome https://www.samitivejhospitals.com/th/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9F-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/ รูปภาพปกทำจาก Canva