คุณเคยเจอคนรอบข้างที่คิดเองเออเอง กลัวอะไรที่เป็นไปไม่ได้ ขี้กังวลโน่นนี่บ้างไหม หรือแม้กระทั่งคุณเองที่มีอาการเหล่านั้น อาการทางจิตเหล่านี้...คุณอาจจะเป็นอาการทางจิตโดยที่เราไม่รู้ตัวก็เป็นได้ แล้วมันเป็นโรคได้ยังไงกันCredit pic : canva.com/paronoiaอาการนี้ก็แสดงถึงโรคทางจิตเภทได้ โรคนี้ก็คือ...โรคขี้ระแวง (Paronoia) เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางกระบวนการการคิดนี่แหล่ะ แต่มันมีมากจนผิดปกติ ทำให้มีอาการหลงผิด คิดว่าจะมีคนคิดร้าย คิดว่าจะมาเอาความลับไปบอกโน่นนี่ ไม่ไว้ใจใครเลย ระแวงในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง และมีภาวะหลงผิดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งอาการนี้ทำให้นึกถึงคน ๆ หนึ่ง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เพิ่งจะพิพาทกันได้สักพักใหญ่ ๆ เรื่องมีอยู่ว่า... เราจะเล่นไอจีอยู่แล้ว ไม่ว่าคนนั้นจะฟอลหรือไม่ได้ฟอลแล้วก็ตามแต่ เราก็ส่องตามปกติ ไม่ได้คิดอะไร อยากส่องเพราะอยากรู้ว่ามันเป็นยังไง ณ ตอนนี้ จนเย็น ๆ มีมนุษย์ป้านางหนึ่งมาอัพสตอรี่ แถมแท็กไอจีเราและรุ่นพี่เรา เหมือนระแวงว่าเราจะประสงค์ร้ายอะไรสักอย่าง แล้วถามประมาณว่า...ไม่ได้ฟอลแต่ทำไมต้องมาส่อง คำพูดคำจาใน DM เหมือนจัดระบบความคิดไม่ค่อยได้ หนำซ้ำเราตอบตามความจริงของเรา ก็ยังดึงดันเพื่อจะเค้นเราให้ได้ (เอิ่ม...แค่มาส่องนะเฮ้ย! ไปโดนตัวไหนมาวะนั่น?) จนแชทไปแชทมา สังเกตความผิดปกติว่า...ผู้หญิงคนนี้มีระบบความคิดผิดปกติ พอถามว่าแล้วจะระแวงอะไรคะ คำตอบคือ "ไม่ได้ระแวงค่ะ" แต่ถามไม่จบ ไม่มีท่าทีจะจบเสียด้วย พอเราสวนกลับไปว่า ไปเช็คประสาทสักหน่อยไหม คำว่า "จ้า" ตัดบทไปทันทีทันใดเลยCredit pic : canva.com/paronoiaคนกลุ่มนี้จะปฏิสัมพันธ์ยากพอสมควร เพราะจะไว้ใจเฉพาะคนที่ไว้ใจเท่านั้น ไม่ค่อยเปิดใจง่าย ๆ เสียด้วย เราจะสังเกตอาการของโรคขี้ระแวงได้ดังนี้1. ระแวงคนนั้นคนนี้ตลอดเวลา ระแวงแบบไม่มีเหตุผล ไม่ว่าจะในชีวิตจริงหรือใน Social Media2. ขี้หงุดหงิด โกรธง่าย บางรายอาจจะควบคุมอารมณ์ไม่เป็น3. รับไม่ได้กับคำวิจารณ์ มีพฤติกรรมก้าวร้าว4. มองโลกในแง่ร้าย หลงผิดคิดว่าคนนั้นจะทำแบบนั้นแบบนี้ (ในความจริงอาจคิดไปเองก็เป็นได้)5. ขาดสติในการยับยั้งชั่งใจ6. เข้ากับใครได้ยาก มองโลกในแง่ลบตลอดเวลา7. ขาดความรัก ทำให้เป็นคนระแวงว่าจะมีคนพรากทุกสิ่งไปจากตน หรือระแวงว่าจะถูกทอดทิ้ง8. ปฏิเสธการตรวจและรักษา สาเหตุ1. ปัญหาสุขภาพจิต เช่น อาจจะมีภาวะซึมเศร้าตั้งแต่เดิม มีปมในจิตใจบางอย่าง วิตกกังวล หรืออาจมีบุคลิกภาพแปรปรวนเข้ามาเกี่ยว2. โรค Paranoid Personality Disorder หรือโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ และสามารถอาการดีขึ้นเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป3. ป่วยด้วยโรคทางจิตรุนแรง เช่น โรค Paranoid Schizophrenia หรือโรคหวาดระแวงชนิดรุนแรง ผู้ที่ป่วยจะไม่เชื่อหรือยอมรับความจริงในสิ่งที่อยู่ตรงนั้น เป็นกลุ่มโรคระแวงขั้นอันตรายพอสมควร อาจจะมีภาวะจิตหลอน พฤติกรรมเปลี่ยนไป หากไม่ได้รับการรักษาจะไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้เลย4. จิตหลงผิด เป็นโรคที่ไม่เป็นภาวะทางจิต แต่กระบวนการทางความคิดผิดเพี้ยนไปจากเดิม อาจจะคิดว่ามีคนปองร้าย จะมีใครมากลั่นแกล้ง หรือบางรายอาจจะคล้าย ๆ พฤติกรรมชาแชงที่ตามไอดอลเกาหลีดังที่เป็นในข่าวบันเทิง5. สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญมาก ยิ่งอยู่ห่างไกลคนรอบข้าง หรืออยู่ในที่ที่ตึงเครียดจนเกินไป แม้กระทั่งคนที่มีอดีตเจ็บปวด หรือมีประสบการณ์เลวร้าย อาจทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนขี้ระแวงได้ง่ายกว่าคนปกติCredit pic : canva.com/paronoiaการรักษา1. ทานยาต้านเศร้า หรือทานยาคลายเครียดฤทธิ์อ่อน ๆ เพื่อปรับระดับเคมีในสมอง2. จิตบำบัด ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้วิธีบำบัดความคิดและนับ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันมากในทางจิตวิทยา จะช่วยปรับทัศนคติ กระบวนการคิด ปรับมุมมองใหม่ให้ดีขึ้น3. การจัดการความเครียด เช่น การใช้วิธีการรับมือกับความเครียด จะช่วยให้เราตั้งสติ จิตใจมั่นคง รู้ทันความเครียดว่าเรากำลังรู้สึกยังไง4. การพักรักษาในโรงพยาบาล กรณีที่มีอาการทางจิตรุนแรง ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด แพทย์อาจจะให้การรักษาโดยแนะนำทั้งคนใกล้ชิดและตัวผู้ป่วยเองในการปฏิบัติตน ดูแลอย่างไรให้ดีขึ้น แต่ก็ยังเชื่อว่า ถ้าได้รับความรัก เอาใจใส่ ความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยและคนใกล้ชิดที่ดีมาก อีกทั้งมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างมีสติ และรับฟังโดยไม่รังเกียจว่าเขาจะเป็นคนยังไง ก็สามารถช่วยให้เขาดำเนินชีวิตได้ตามปกติสุขได้ค่ะ