จริง ๆ โรคไข้หูดับอยู่ใกล้ตัวเรามาก ๆ เลยนะเพราะมันแฝงตัวอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของเราในแต่ละวัน บางครั้งเราไม่รู้เลยว่าแค่การรับประทานหมูกระทะ ชาบูหรือ ปิ้งย่าง เมนูที่ได้รับความนิยมของคนทั่วไปจะทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคไข้หูดับได้ขนาดนี้ แต่สายชาบู หมูกระทะ ที่ชอบปิ้ง ๆ ย่าง ๆ อย่างพวกเราไม่ต้องกังวลใจไป หากเรารู้ข้อควรระวังและมีวิธีป้องกันอย่างง่ายๆ ก็สามารถรับประทานหมูกระทะ ชาบู ได้อย่างปลอดภัย ไร้ความกังวล โรคไข้หูดับ เกิดจากอะไร?โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โดยเชื้อนี้พบในทางเดินหายใจ และในเลือดของหมูที่กำลังป่วย โดยปกติจะมีอยู่ในหมูเกือบทุกตัว ซึ่งฝังตัวอยู่ในต่อมทอนซิลของสุกร แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดโรค เว้นแต่เมื่อใดที่สุกรมีร่างกายอ่อนแอ เครียด หรือป่วยด้วยโรคที่ไปกดภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียตัวนี้ก็จะเพิ่มจำนวน และติดเชื้อในกระแสเลือด และทำให้หมูป่วยและตายได้ในที่สุด ซึ่งหากเราได้ไปรับเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกาย ก็จะเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเช่นกัน โดยเชื่อ สเตร็พค็อกคัส ซูอิส สามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้ 2 คือ การรับประทานเนื้อหมู รวมถึงเครื่องในและเลือด สุกๆ ดิบๆผ่านทางบาดแผล รอยถลอก หรือเยื่อบุตา จากการสัมผัสหมูที่ติดเชื้อโดยตรง อาการของโรคไข้หูดับหลังจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีอาการผิดปกติภายใน 3 วัน โดยพบอาการข้างต้น เช่น มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อาการซึม คอแข็ง และมีจ้ำเลือดบนผิวหนัง ซึ่งหากไม่ได้ทำการรักษาเชื้อจะเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ประสาทหูอักเสบจนหูดับหรือหูหนวก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคไข้หูดับ หากปล่อยไว้อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดและส่งผลให้อันตรายถึงชีวิตได้ เพราะฉะนั้นหากมีอาการต้องสงสัยให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อได้ทำการรักษาได้ท่วงทีสายชาบู หมูกระทะอย่างพวกเราเมื่อรู้สาเหตุกันแล้วก็ต้องรู้ข้อควรระวังไข้หูดับซึ่งสามารถป้องกันได้ง่าย ๆ ดังนี้แยกอุปกรณ์คีบของสุก ดิบ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการใช้ตะเกียบคู่เดียวคีบของสดที่อยู่ในถาดขึ้นมาปิ้งย่างบนกระทะ หรือจุ่มลงในหม้อสุกี้ แล้วก็ใช้ตะเกียบคู่เดิม เพราะเชื้อแบคทีเรียไข้หูดับอาจจะติดอยู่กับตะเกียบโดยที่เราไม่รู้ตัวแล้วเราเอาตะเกียบคู่เดิมเข้าปากทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายเราได้ หากไม่สามารถแยกตะเกียบได้ ให้ลวกตะเกียบทุกครั้งก่อนเอาเข้าปากหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อหรืออาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ โดยเฉพาะเนื้อหมู ควรปรุงด้วยความร้อนที่อุณหภูมิอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 10 นาที หรือปรุงสุกจนไม่มีสีแดงหรือเลือดที่ชิ้นเนื้อ โดยยึดหลัก "สุก ร้อน สะอาด"เลือกซื้อเนื้อหมูจากร้านที่ผลิตจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจสอบจากกรมปศุสัตว์ โดยจะมีสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเนื้อสัตว์ที่ผ่านการรับรองโดยกรมปศุสัตว์ ว่า ปลอดสาร ปลอดโรค ถูกสุขอนามัย หรือสังเกตลักษณะของเนื้อหมู ต้องเป็นสีธรรมชาติ มีสีอมชมพู ไม่เข้มหรือซีดเกินไป มีความฉ่ำน้ำแต่ต้องไม่เหลวหรือแข็งเกินไป และสังเกตรอยโรค หรือลักษณะผิดปกติ เช่น เป็นก้อนเนื้อ ก้อนเลือด หรือจุดหนอง ลักษณะแบบนี้ไม่ควรเลือกซื้อ เพราะมีโอกาสที่จะมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้สัมผัสเนื้อหมูดิบด้วยมือเปล่า สวมถุงมือยางทุกครั้ง โดยเฉพาะยิ่งถ้าเรามีบาดแผลหรือรอยถลอกที่มือ เพราะเชื้อสามารถเข้าสู่ทางแผลได้ และล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้งหลังจากการสัมผัสเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู หรือผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ชำแหละเนื้อหมู ควรสวมรองเท้าบู๊ทยาง สวมถุงมือ รวมถึงเสื้อผ้าที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิดและล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังหลังจากการสสัมผัสหมู เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะเห็นได้ว่า การรับประทานอาหารที่สุกๆดิบๆ เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายง่ายมาก เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้หูดับ ควรรับประทานเนื้อที่สุกแล้วเท่านั้น ควรแยกตะเกียบหรืออุปกรณ์ที่ใช้หยิบเนื้อหมูสุกและดิบออกจากกัน และคำนึงถึงความสะอาดของเนื้อสัตว์ที่เราจะรับประทานเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียรวมถึงภาวะแทรกซ้อนของโรคที่อาจจะตามมาขอบคุณรูปภาพจาก ภาพปก PIXABAY : Pexelsภาพประกอบภาพที่ 1 PIXABAY : parkminhoภาพที่ 2 เพจ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขภาพที่ 3,4,5 โดยผู้เขียนข้อมูลประกอบบทความ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์กรมควบคุมโรค เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !