เครดิตภาพจาก : Tengyart / Unsplash คนทั่วไปและสื่อส่วนใหญ่มองว่าโรคซึมเศร้าเป็นอาการป่วยทางจิตประสาท (Neuropsychiatric illness) (Wingert & Kantrowitz, 2002) และมักจะมองว่าผู้ป่วยโรคนี้เป็นคนอ่อนแอ หรือบ่อยครั้งดูหมิ่นว่าแกล้งอ่อนแอเพื่อจะได้รับความเห็นใจจากคนรอบข้างโดยเฉพาะในประเทศที่ไม่ได้เผยแพร่หรือมีการให้ข้อมูลเรื่องโรคซึมเศร้าเป็นวงกว้าง ส่งผลให้ผู้ที่ป่วยโรคนี้มักเก็บงำไว้กับตัวและไม่เข้ารับการบำบัดรักษา ประเทศไทยประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน อย่างเช่น เอิน กัลยกร นาคสมภพ นักร้องหญิงชื่อดังเจ้าของเพลงฮิต กับคนนิสัยไม่ดี ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่เลือกที่จะไม่บอกใครเพราะกลัวกระแสตอบรับทางลบจากสังคม ดังนั้นหากคุณสงสัยว่าตนเองป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ให้ลองมองหา 6 สัญญาณเหล่านี้ 1. รู้สึกเศร้า ไม่มีแรงทำอะไร หรือหมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบทำสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (APA) กล่าวว่า ผู้คนวัยทำงานขึ้นไปมักมีอาการเหล่านี้ร่วมกัน ในขณะที่โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นอาจจะมีอาการแตกต่างไปเล็กน้อย เช่น การสูญเสียความสามารถในการทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ครอบครัว งานบ้าน และบทบาททางสังคม เครดิตภาพจาก : Dmitry Schemelev / Unsplash 2. รู้สึกปวดตามเนื้อตามตัวMayo Clinic องค์การไม่แสวงหาผลกำไรชื่อดังของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ความเจ็บปวดและโรคซึมเศร้ามีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก โรคซึมเศร้าใช้อธิบายอาการเจ็บป่วยทางร่างกายของหลายคนได้ไม่ว่าจะเป็น ปวดหลังหรือปวดศีรษะ ในทางกลับกันอาการเจ็บป่วยเรื้อรังอาจอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะซึมเศร้าได้ หากคุณมีอาการเหล่านี้แต่หาสาเหตุไม่ได้ ลองขอคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป เครดิตภาพจาก : Luis Villasmil / Unsplash 3. น้ำหนักเพิ่มหรือลดลงอย่างมากความอยากอาหารไม่ว่าจะมากขึ้นหรือลดลงก็ตาม อาจเกิดจากความเจ็บปวดทางอารมณ์ที่คุณรู้สึกอยู่ขณะนั้น และแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล บางคนไม่รู้สึกอยากอาหารเมื่อรู้สึกแย่ ในขณะที่คนซึ่งมักรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพอาจอยากทานอาหารขยะขึ้นเพื่อเติมเต็มความรู้สึกว่างเปล่าเครดิตภาพจาก : Siora Photography / Unsplash 4. คิดมาก ไม่กล้าตัดสินใจ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะสมองเนื้อสีเทา (gray matter) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและการให้ความรู้สึก สมองสีเทาส่งผลต่อสมองส่วนอื่นที่ช่วยในการตัดสินใจและแรงจูงใจ (Grieve et al., 2013) เมื่อผู้ป่วยขาดสมาธิและจุดมุ่งหมายแม้แต่เรื่องที่เล็กที่สุดที่ตัดสินใจในชีวิตประจำวันยังเป็นเรื่องยากลำบาก เครดิตภาพจาก : Andre Hunter / Unsplash 5. ติดโทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ตSimon A. Rego นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยาแบบการบำบัดด้วยความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy) กล่าวว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมองหากิจกรรมที่กระตุ้นให้รู้สึกดีในระยะสั้น ๆ เป็นวิธีการรับมือเมื่อเผชิญปัญหา ไม่ว่าจะเป็น การพนัน เล่นเฟซบุ๊กหรือ ซื้อของ นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามองหาการติดต่อพูดคุยทางสื่อออนไลน์มากกว่าชีวิตจริง อันที่จริง แม้โรคติดอินเตอร์เน็ตและโรคซึมเศร้าจะถูกวินิจฉัยแยกออกจากกันกัน แต่ทั้งสองมักมีลักษณะคาบเกี่ยวกันบ่อย ๆเครดิตภาพจาก : Maxim Ilyahov / Unsplash 6. ขุ่นใจแม้แต่เรื่องเล็กน้อยอาการหงุดหงิดเป็นสัญญาณทั่วไปที่ผู้คนมองข้ามมากที่สุด ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองใจร้อนมากขึ้นขณะต่อคิวซื้อของ หรือรู้สึกใจร้อนเมื่อไฟจราจรเปลี่ยนเป็นสีแดง อาจมีบางอย่างเกิดขึ้นภายใต้ความหงุดหงิดนั้น เมื่อคุณเป็นโรคซึมเศร้า แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ ก็สามารถรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องใหญ่ได้ นอกจากนี้คุณอาจรู้สึกว่าตัวเองร้องไห้ได้ง่ายกว่าเดิม หรือควบคุมน้ำตาของตัวเองไม่ได้ เครดิตภาพจาก : Icons8 Team / Unsplash โรคซึมเศร้ามีระดับความรุนแรงหลายระดับตั้งแต่ระยะกลางถึงหนัก อาการในระยะต้นอาจแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคนโดยไม่รู้ตัว และเนื่องจากอาการที่แสดงออกแบบไม่ชัดเจนมากนี้ หลายคนจึงเลือกที่จะเผชิญกับโรคนี้ตามลำพังแล้วหวังว่าอาการเหล่านี้จะหายไปเอง อย่างไรก็ตามโรคซึมเศร้าหาทางเข้ามาครอบงำจิตใจและอารมณ์ของเราได้เสมอ แทนที่จะกดทับความรู้สึกนั้นเอาไว้ผู้ป่วยควรเรียนรู้ที่จะไม่กดดันตัวเองเกินไป และระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัว เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !