9 ผักมีฟลาโวนอยด์ ประโยชน์ดีต่อสุขภาพ ลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง ลองนึกภาพตามนี้ค่ะ! เมื่อเราทานผักที่มีฟลาโวนอยด์ สารฟลาโวนอยด์จะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งหมายความว่าสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายในร่างกายได้ โดยอนุมูลอิสระสามารถทำลายเซลล์และ DNA ได้ ซึ่งการสะสมของอนุมูลอิสระเกี่ยวข้องกับการแก่ชราและโรคเรื้อรังต่างๆ อีกทั้งฟลาโวนอยด์บางชนิดมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ จึงสามารถช่วยปรับการตอบสนองการอักเสบของร่างกาย ซึ่งมีส่วนช่วยลดการอักเสบ ซึ่งเชื่อมโยงกับการมีสุขภาพโดยรวมที่ดีขึ้น รวมถึงโรคข้ออักเสบและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วยนอกจากนี้ฟลาโวนอยด์ยังมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพหัวใจที่ดีขึ้น เพราะช่วยผ่อนคลายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต และปรับปรุงการไหลเวียนของเลือด ฟลาโวนอยด์บางชนิดมีความสามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งและลดความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิดได้ สนับสนุนการทำงานปกติของระบบภูมิคุ้มกันโรคและอื่นๆ อีกหลายประโยชน์ที่ดีค่ะ จะได้เห็นว่าหากเราหันมาทานผักที่มีสารฟลาโวนอยด์ ก็แน่นอนว่าเป็นหนทางหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพดี ดังนั้นในบทความนี้เรามาทำความรู้จักกับผักดีๆ ที่เป็นแหล่งของฟลาโวนอยด์กันดีกว่าค่ะ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้นเรามาอ่านต่อไปพร้อมกันดีกว่าค่ะทุกคน✅️1. พืชตระกูลหัวหอม เป็นตัวอย่างแรกของผักที่มีสารฟลาโวนอยด์ค่ะ เช่น ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดงแบบต้น หอมแดงแบบหัว หอมแขก เป็นต้น โดยพืชตระกูลหัวหอมสามารถนำมาทำอาหารได้ทั้งแบบสุกและดิบค่ะ อีกทั้งยังสามารถนำมาเป็นผักทานสดได้ด้วย และไม่ว่าพืชตระกูลหอมจะมาแบบไหนผู้เขียนชอบทานหมดค่ะ ต้นหอมทานสดๆ กับอาหารรสแซ่บๆ อร่อยนะคะ มีกลิ่นของเอกลักษณ์ความเป็นหอมแต่เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพเราควรเพิ่มการทานพืชตระกูลหอมบ้างก็ดีค่ะทุกคน😀2. บรอกโคลี เป็นผักฝรั่งแต่บ้านเราก็ปลูกได้แล้วค่ะ บรอกโคลีให้สารฟลาโวนอยด์ตามธรรมชาติ ซึ่งความเป็นธรรมชาติเราเลียนแบบยาก ดังนั้นง่ายสุดคือหาบรอกโคลีมาประกอบเป็นอาหารที่บ้านค่ะ นอกจากจะสามารถทำอาหารที่ปรุงสุกได้แล้ว บรอกโคลีสามารถทานแบบสดๆ ได้ด้วยนะคะ🥦3. คะน้า เป็นผักที่หาได้ง่ายค่ะ จะปลูกเองก็ได้เพราะผู้เขียนเคยลองปลูกเหมือนกันค่ะ ก็พบว่าได้คะน้าแต่มีไม่มาก คะน้าอร่อยค่ะ ทานแบบสดได้ จะนำมาทำเมนูต่างๆ ก็เข้าท่าค่ะ ที่ตลาดมีคะน้าขายเยอะเหมือนกันค่ะ ลองเลือกคะน้าที่สดใหม่และปลอดสารพิษมาทานก็จะดีต่อสุขภาพที่สุดค่ะ✅️4. พริกหยวก เป็นผักที่เราอาจคุ้นเคยในบาร์บีคิว แต่คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า!? พริกหยวกยังสามารถนำมาทำผัดพริกหยวกใส่เครื่องในไก่ นำพริกหยวกมาย่างทานเป็นผัก หรือจะหั่นใส่ลงไปในแกงต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งถ้าเป็นพริกหยวกสีแดงก็จะทำให้มีสีสันสวยงาม เพิ่มเติมจากได้สารฟลาโวนอยด์และคุณค่าทางอาหารอื่นๆ ค่ะ5. ขึ้นฉ่าย คือผักที่อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ค่ะ ขึ้นฉ่ายนำมาทำอาหารได้หลายอย่างมากค่ะ แบบสดๆ ก็คือโรยลงไปในการทำยำวุ้นเส้นอร่อยๆ ค่ะ ขึ้นฉ่ายหั่นประมาณหนึ่งนิ้วใส่ลงไปในนึ่งปลาซีอิ้วหอมและอร่อยมากค่ะ ขึ้นฉ่ายในเมนูสุกี้หรือหมูกระทะคืออีกหนึ่งทางเลือกง่ายๆ ค่ะ ยังไงลองเพิ่มการทานขึ้นฉ่ายดูค่ะทุกคน เพราะดีต่อสุขภาพอย่างอื่นด้วยนะจะบอกให้6. แครอท นอกจากจะมีสีสันที่ดีที่พอเติมลงไปในอาหารชนิดต่างๆ ซึ่งชวนให้น่าทานมากขึ้นแล้วนะคะ แครอทยังให้ฟลาโวนอยด์ที่ดีต่อสุขภาพค่ะ ดังนั้นตอนนี้เราคงต้องหันมาทานแครอทกันมากขึ้นอีกสักหน่อยค่ะ เมนูที่มีแครอท เช่น ส้มตำ สลัดผัก แกงจืดหรือจะดื่มน้ำแครอทเลยก็ได้ค่ะ🥕7. มะเขือเทศ เป็นผักสีแดงอีกชนิดที่น่าสนใจค่ะ เพราะมะเขือเทศจัดเต็มด้วยสารฟลาโวนอยด์ที่มีผลในทางดีต่อสุขภาพหลายอย่างมาก ดังนั้นแค่เราเพิ่มมะเขือเทศลงไปในอาหารแต่ละมื้อก็ทำให้ร่างกายได้รับคุณสมบัติดีๆ จากมะเขือเทศแล้วค่ะ🍅8. กะหล่ำปลี คือตัวอย่างอีกชนิดที่ใกล้ตัวเราค่ะ เพราะกะหล่ำปลีหาง่าย ราคาถูก เตรียมง่ายและทำเมนูได้หลากหลาย กะหล่ำปลีแบบสดคือผักที่ผู้เขียนได้ทานบ้างค่ะ แต่ส่วนใหญ่มักนำกะหล่ำปลีมาทำเมนูต่างๆ ล่าสุดนำกะหล่ำปลีมาหั่นใส่ลงไปหม้อน้ำซุปตอนทานหมูกระทะค่ะ9. มะเขือยาว อาจเป็นผักที่หลายคนอาจไม่ค่อยได้ทานบ่อย เพราะเมนูจากมะเขือยาวอาจดูยากในการทำ แต่ผู้เขียนมีวิธีการทานมะเขือยาวแบบง่ายๆ มาฝากค่ะ อย่างแรกนำไปต้มเป็นผักทานกับน้ำพริกค่ะ หรือจะนำมะเขือยาวมาชุบไข่ทอดก็ได้ มะเขือยาวต้มใส่น้ำปลาร้าแล้วนำมาทำน้ำพริกมะเขือยาวก็อร่อยนะคะ หรือง่ายสุดก็ทานเป็นผักสดๆ เลยค่ะ แค่ต้องลองหั่นเป็นชิ้นพอคำสวยงามวางคู่กับผักชนิดอื่นๆ ค่ะ เพียงเท่านี้ก็ทำให้เพิ่มโอกาสทานมะเขือยาวมากขึ้นแล้วค่ะ🍆และจากตัวอย่างทั้งหมดของผักที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้นั้น จะเห็นว่าทุกผักล้วนเป็นแหล่งที่มาของฟลาโวนอยด์ที่เป็นกลุ่มของไฟโตนิวเทรียนท์ที่พบได้จากพืช และขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพดีหลายอย่างมากค่ะ โดยผักบางชนิดอาจให้ฟลาโวนอยด์ในปริมาณที่สูงและบางชนิดก็ให้น้อยกว่าลดหลั่นกันไป ดังนั้นแนวทางง่ายๆ ที่ดีอีกอย่างคือเราต้องหันมาทานผักในนี้แบบหลากหลายค่ะ เพราะการทานผักเพียงชนิดเดียวอาจทำให้ได้รับประโยชน์ดีๆ แบบติดเพดาน เพราะผู้เขียนไม่เคยทานผักชนิดใดชนิดเดียวเป็นเวลานานเลยค่ะ เพราะมองว่าความหลากหลายเป็นกุญแจดอกสุดท้ายที่นอกเหนือไปจากว่าต้องรู้ว่าผักอะไรมีสารฟลาโวนอยด์บ้างค่ะ และผักทั้งหมดในบทความนี้ผู้เขียนได้ลองทานมาหมดแล้ว ทั้งแบบสดและแบบนำมาทำเมนูต่างๆ ก็พบว่าตัวเองไม่ค่อยป่วยง่าย และไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานและผองเพื่อนค่ะ น้ำหนักตัวปกติไม่มีโรคอ้วน ความดันเลือดดีอยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดค่ะ โดยล่าสุดวัดได้ 120/80 มิลลิเมตรปรอทค่ะ ซึ่งก็แน่นอนว่าผู้เขียนได้รับประโยชน์จากสารตามธรรมชาติดีๆรวมถึงสารฟลาโวนอยด์ในผักที่ผู้เขียนได้ทาน ซึ่งหลายผักที่ทานก็คือตัวอย่างทั้ง 9 ชนิดในบทความนี้ค่ะ จึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนหันมาทานผักกันมากขึ้นค่ะ และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และทำให้คุณผู้อ่านได้ข้อมูลเกี่ยวกับผักที่มีสารฟลาโวนอยด์มากขึ้นที่สามารถเป็นตัวช่วยส่งเสริมสุขภาพดีค่ะ👌เครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย Karolina Grabowska จาก Pexelsภาพประกอบเนื้อหาโดย ผู้เขียนออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaบทความอื่นที่น่าสนใจ11 ผักที่มีโฟเลต วิตามินบี 9 วิตามินที่สามารถละลายน้ำได้ ดีต่อสุขภาพ13 ผักที่มีวิตามินบี 6 ช่วยในการเผาผลาญ ดีต่อสุขภาพสมอง10 ผักกินแล้วมีความเป็นโรคนิ่ว เพราะมีออกซาเลตสูง สะสมในกระเพาะปัสสาวะ เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !