การดูหนังสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการแต่งตัวได้ เพราะภาพยนตร์จัดเป็นแหล่งรวมแรงบันดาลใจที่ดี เทรนด์แฟชั่นต่าง ๆ เราสามารถพูดได้เลยว่าได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์ทั้งสิ้น ในยุคดิจิตอลผู้คนสามารถเสพข่าวสารจากอินเตอร์เน็ตได้เลยเป็นยุคที่ภาพยนต์เข้าถึงผู้คนได้โดยไม่ต้องเดินทางไปชมที่โรงภาพยนตร์ก็สามารเผยแพร่รสนิยมทางแฟชั่นให้กลายเป็นที่นิยม และการแต่งตัวตามดาราคนโปรดที่ได้รับบทบาทในการแสดง ทำให้อิทธิพลด้านแฟชั่นที่มาจากภาพยนตร์ส่งผลให้เกิดกระแสการแต่งตัวในหลาย ๆ เทรนด์แฟชั่น และภาพยนตร์ในหลาย ๆ เรื่องยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับดีไซเนอร์ในการผลิตเสื้อผ้าในหลาย ๆ ซีซันอีกด้วย ภาพถ่ายโดย Lê Minh จาก Pexels แฟชั่นสามารถแปรผันได้ตามยุคสมัย ตามสภาพสังคม และเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ถูกสวมใส่โดยนักแสดงนั้นเมื่อภาพยนตร์ถูกพูดถึงเป็นวงกว้างและได้รับความนิยม เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่ดารานำสวมใส่ก็จะถูกพูดถึงตามไปด้วยเพราะมีหนังหลายเรื่องที่สามารถสร้างกระแสการแต่งกายตามนักแสดงนำจนทำให้เสื้อผ้าแบรนด์ที่นักแสดงสวมใส่ขายหมดภายในพริบตา นั้นหมายความว่านอกจากการที่ภาพยนตร์จะเล่าเรื่องราวของหนังจนทำผู้คนสนใจแล้ว การแต่งกายของนักแสดงก็ยังมีอิทธิพลต่อผู้ชมในการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจึงทำให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถโปรโมทสินค้าของตัวเองได้อย่างเนียน ๆ เลยนั้นเอง แรกเริ่มแวดวงภาพยนตร์นั้นจะคุ้นเคยกับคำว่า "คอสตูม" ที่จะทำขึ้นเพื่อภาพยนตร์เรื่องนั้นโดยเฉพาะ และเป็นหน้าที่ของคอสตูมดีไซเนอร์ที่รับผิดชอบเพียงผู้เดียว คอสตูมดีไซเนอร์แต่ละคนมาจากแวดวงละครเวที พวกเขามีประสบการณ์สูงในการตัดเย็บ คำว่าคอสตูมนั้นแตกต่างจากแฟชั่น หรือ READY-TO-WEAR โดยสิ้นเชิง เพราะแฟชั่นเป็นสิ่งที่แปรผันตามยุคสมัย ตามสภาพสังคม และเศรษฐกิจเวลานั้น ๆ ส่วนคอสตูมคือเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง โดยคอสตูมจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากคาแรคเตอร์ของตัวละคร จึงทำให้คอสตูมต้องมีความรู้ทางด้านแฟชั่นเป็นอย่างดี จึงจะสามารถนำเอาแฟชั่นมาปรับใช้กับงานคอสตูมได้ ภาพถ่ายโดย Pixabay จาก Pexels การทำงานที่ดีที่สุดในการทำคอสตูมคือค้นหาข้อมูลจากภาพต่าง ๆ ที่สามารถบ่งบอกว่าคนในยุคนั้น ๆ นิยมที่จะสวมใส่เสื้อผ้าและแต่งกายแบบไหน เขาใส่อะไรกันบ้าง และในยุคนั้น ๆ อะไรฮิตและอินเทรนด์ และดูว่าเขาแต่งตัวกันอย่างไร และจากนั้นคอสตูมก็จะนำเอาคาแรคเตอร์ของตัวละครเพิ่มเข้ากับข้อมูลที่รวบรวม จนทำให้เสื้อผ้าที่ปรากฎให้เห็นในภาพยนตร์จึงมีความเกินจริงไปสักนิดและอาจจะไม่สามารถแต่งตามในชีวิตประจำวันได้ ยกตัวอย่างเช่น ตัวละครที่เป็นเด็กสาวมัธยมวัยใส ก็ควรที่จะเลือกแต่งตัวให้ตัวละครดูโดดเด่น มีความธรรมชาติและดูสมวัย และนี้คือการทำงานที่แตกต่างระหว่างคอสตูมดีไซเนอร์กับแฟชั่นดีไซเนอร์ เมื่อคอตตูมดีไซเนอร์ตีโจทย์ตัวละครแต่ละตัว จะต้องลงลึกถึงรายละเอียดทั้งหมดให้มากที่สุด โดยเข้ากับแฟชั่นในยุคสมัยในภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ภาพถ่ายโดย Pixabay จาก Pexels แฟชั่นและภาพยนตร์เปรียบเสมือนภาพสะท้อนซึ่งกันและกัน เรื่องราวของแฟชั่นเข้ามามีส่วนไม่มากก็น้อยในโลกของภาพยนตร์ และด้วยช่องทางความบันเทิงดังกล่าวก็ช่วยให้โลกแห่งแฟชั่นเกิดอิทธิพลในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ภาพยนตร์สามารถทำให้เสื้อผ้ได้รับความนิยมจากกระแสของภาพยนตร์ และภาพยนตร์ย้อนยุคมีส่วนช่วยในการทำให้แฟชั่นเก่า ๆ กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง Ref - หนังสือ The Timeless of Style