การเดินทางไปต่างประเทศ อาจทำให้เราเจ็บป่วย ซึ่งเราอาจจะต้องรักษาอาการเบื้องต้นด้วยตัวเอง เช็คลิสต์ยาพกไปต่างประเทศจึงเป็นสิ่งที่เราให้สำคัญก่อนออกเดินทาง เรามาดูกันค่ะว่า เช็คลิสต์ยาพกไปต่างประเทศ มียาอะไร และเพราะอะไรเราจึงพกยาเหล่านี้ไปต่างประเทศด้วยกลุ่มยาแก้ปวด ลดไข้ ยาแก้ปวด ลดไข้ ที่เรานิยมพกติดตัวไปต่างประเทศ คือ ยาพารา หรือ ยาไทลีนอล ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้านที่เรารู้จักกันดี เพราะการเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งที่อากาศเปลี่ยนแปลงทำให้เราเจ็บป่วย จำเป็นต้องกินยาพาราเป็นครั้งคราว ซึ่งบางครั้งก็ได้ผลดี บางครั้งก็ไม่หาย ดังนั้นเราจึงมียาแก้ปวด ลดไข้ที่แรงขึ้นที่เรานิยมพกติดตัวไปต่างประเทศด้วยคือ ยาบรูเฟ็น (Brufen) ซึ่งเราจะกินในกรณีที่กินยาพารา หรือ ไทลีนอลแล้วอาการไม่ดีขึ้น สำหรับยาบรูเฟ็น อาจต้องระมัดระวังในคนไข้บางโรค ดังนั้นหากคุณมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานะคะ วิธีการเลือกยาแก้ปวดอ่านต่อได้ใน ยาแก้ปวด เลือกอย่างไรให้ถูกอาการกลุ่มยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ท้องเสีย ที่เรามีในลิสต์ยาพกต่างประเทศ คือ ยา Imodium ซึ่งใช้แก้อาการท้องเสียได้อย่างเฉียบพลัน ยาชนิดนี้เป็นยาที่คนเดินทางต่างประเทศเป็นประจำแนะนำให้เราซื้อไว้ในลิสต์ยาพกเดินทางต่างประเทศ และเป็นยาที่เราได้ใช้จริง เมื่อครั้งที่เราเกิดอาการท้องเสียเฉียบพลันบนเครื่องบิน ซึ่งถ้าเราไม่มียาแก้ท้องเสียพกไปต่างประเทศด้วย รับรองได้ว่าเราได้วิ่งเข้าห้องน้ำบนเครื่องบินตลอดการเดินทางแน่นอนค่ะ ยาแก้อาการท้องเสียที่เรามีในลิสต์ยาพกต่างประเทศอีกตัวคือ Carbon กลุ่มยาลดกรด ลดอาการกรดไหลย้อนการเดินทางไปต่างประเทศมีโอกาสมาก ที่เราจะเกิดอาการปวด จุกเสียดท้อง เนื่องจากการรับประทานอาหารที่กระเพาะและลำไส้เราไม่คุ้นเคย หรือเกิดจากความเครียดในการเดินทาง สำหรับเราที่มีโอกาสจะเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ง่าย และบางครั้งก็ตามมาด้วยอาการของกรดไหลย้อน ซึ่งค่อนข้างทรมาน ดังนั้นเรามักจะมี Nuvalucol แบบเม็ดไว้ในลิสต์ยาพกไปต่างประเทศด้วย ซึ่งก็ช่วยบรรเทาอาการได้ดีกลุ่มยาแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ อาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ มักมาคู่กับการเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากอาจจะเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ หรือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ดังนั้นเราจึงมักจะมียา Dimenhydrinate หรือ Dramamine อยู่ในลิสต์ยาพกไปต่างประเทศของเราเสมอพลาสเตอร์สำหรับแปะแผล ตอนแรกเราเองก็ไม่คิดว่าพลาสเตอร์แปะแผลควรจะอยู่ในลิสต์ยาพกไปต่างประเทศ เพราะอย่างที่ประเทศสวีเดน หรือประเทศไทยเราสามารถหาซื้อพลาสเตอร์แปะแผลได้ง่าย ๆ ตาม 7-11 แต่เมื่อเราเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ และเกิดมีแผลแบบกะทันหัน และพลาสเตอร์ปิดแผลหาซื้อได้ยากมาก ดังนั้นเราจึงให้ พลาสเตอร์แปะแผลอยู่ในลิสต์ยาพกไปต่างประเทศอีกหนึ่งตัวยาแก้อาการภูมิแพ้ สำหรับเราจะพกยากลุ่ม เซทิริซีน (Cetirizine) ซึ่งเป็นยาบรรเทาอาการคันและลมพิษ รวมถึงช่วยลดน้ำมูกเมื่อเกิดอาการเป็นหวัดคัดจมูก สำหรับ เซทริซีนเป็นอีกหนึ่งในเช็คลิสต์ยาพกต่างประเทศของเราค่ะ ยาอื่น ๆ ใช้รักษาโรคเฉพาะบุคคล ลิสต์ยาพกไปต่างประเทศ สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ยารักษาเป็นประจำ เช่น ยารักษาโรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน หอบหืด ซึ่งจำเป็นต้องพกยาเหล่านี้ไปต่างประเทศด้วย โดยทั่วไปการที่จะนำยาเหล่านี้ไปต่างประเทศ ยาทุกชนิดจะต้องมีฉลากยา และใบรับรองแพทย์ในการใช้ยาเพื่อรักษาโรคเหล่านี้ด้วย ยาที่เรามีไว้ในลิสต์ยาพกไปต่างประเทศ เรามักจะแพ็คไว้ในซองเดียวกันชนิดละไม่เกิน 1 แผง โดยเราจะเอาใส่กระเป๋าเดินทางที่เราเอาขึ้นเครื่องไปด้วย เพราะหากจำเป็นต้องใช้ในกรณีฉุกเฉินบนเครื่องบิน ก็สามารถนำมาใช้ได้เลย โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะเดินทางประเทศในแถบยุโรปที่อยู่ในกลุ่มเชงเก้น (Schengen) ซึ่งเราก็ไม่เคยเจอปัญหาในการพกยาดังกล่าวข้างต้นไปต่างประเทศ ทั้งนี้หากคุณจะทำลิสต์ยาพกไปต่างประเทศของตัวเอง คุณอาจจะต้องไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนด และข้อบังคับของประเทศที่เราจะเดินทางไป เพราะแต่ละประเทศอาจจะมีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นที่ห้ามนำยา 11 ชนิดเข้าประเทศ อ่านต่อได้ในบทความ ยา 11 ชนิด ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น ตรวจพบโดนจับ! สำหรับประเทศในโซนยุโรปอาจจะมีกฎเกณฑ์บางอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ประเทศอังกฤษสามารถซื้อยา Tylenol with Codeine ซึ่งเป็นยาแก้ปวด ผสมสารเสพติด ตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ แต่ในประเทศสวีเดนเองยา Tylenol with Codeine (Acetaminophen with codeine) จัดเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มสารเสพติด ซึ่งตามกฎเกณฑ์ประเทศสวีเดนต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น ดังนั้นหากเราไปเผลอซื้อยา Tylenol with Codeine มาจากประเทศอังกฤษ แล้วนำยาเข้ามาที่ประเทศสวีเดน เราก็เสี่ยงที่จะถูกจับได้เช่นกัน และเพื่อป้องกันปัญหาการเสี่ยงถูกจับในการพกยาไปต่างประเทศ เราขอสรุป 6 หลักเกณฑ์การพกยาไปต่างประเทศไว้ดังนี้ค่ะ 6 หลักเกณฑ์ต้องรู้เกี่ยวกับการพกยาไปต่างประเทศ ก่อนการพกยาไปต่างประเทศ ควรหาข้อมูลประเทศที่เราจะเดินทางไป หากไม่รู้ว่าจะติดต่อที่ไหน ให้ติดต่อขอข้อมูลที่สถานทูตไทยประจำประเทศนั้น ๆยาทุกชนิดที่จะพกไปต่างประเทศ ต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ มีฉลาก และรายละเอียดยาชัดเจนยากลุ่มที่มีสารเสพติดเป็นส่วนผสม หรือ กลุ่มยานอนหลับ อาจจะเป็นยาต้องห้ามในหลายประเทศ ดังนั้นต้องระมัดระวังในการพกยาเหล่านี้ไปต่างประเทศหากมีโรคประจำตัว ต้องใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ และจำเป็นต้องพกยาเหล่านั้นไปต่างประเทศ จะต้องมีใบรับรองแพทย์ (ฉบับภาษาอังกฤษ) เกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคเหล่านั้นติดตัวไปด้วยยาสมุนไพรบางชนิด อาจมีสารสารเสพติด หรือ สารที่มีผลต่อระบบประสาท อาจเป็นยาต้องห้าม และเสี่ยงถูกจับหากพกยาเหล่านั้นไปต่างประเทศ ยาที่พกไปต่างประเทศ ที่ใช้รักษาสัตว์ ก็จำเป็นต้องมีใบรับรองจากสัตวแพทย์เช่นเดียวกับยาที่ใช้รักษาคนค่ะการทำลิสต์ยาพกไปต่างประเทศ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ยาที่เราจัดเป็นลิสต์ยาพกต่างประเทศในวันนี้ อาจจะใช้ไม่ได้ในอีกหลายปีข้างหน้า ซึ่งกฎเกณฑ์บางอย่างอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ดังนั้นหากเราต้องเดินทางไปต่างประเทศและจำเป็นต้องมีการนำยาพิเศษชนิดใดชนิดหนึ่งไป เราก็อาจจะต้องหาข้อมูลก่อนการเดินทาง วันนี้ขอลาไปก่อน แล้วกลับมาพบกันใหม่เร็ว ๆ นี้นะคะบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรีวิว เดินทางเข้าประเทศฟิลิปปินส์ ปี 2022 (trueid.net)5 วิธีเดินทางต่างประเทศคนเดียวอย่างมั่นใจ ไร้กังวล (trueid.net)9 ขั้นตอนเดินทางต่างประเทศ ฉบับมือใหม่หัดเดินทาง (trueid.net)ยาแก้ปวด เลือกอย่างไรให้ถูกอาการ (trueid.net) เครดิตภาพปก โดย Unseop Kang จาก Pexelsภาพที่ 1-5 โดยผู้เขียน Nurseonomyภาพที่ 6 โดย Unseop Kang จาก Pexelsอ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก กรมศุลกากรประเทศสวีเดน ข้อมูลการพกยาเข้าประเทศ 1ข้อมูลการพกยาเข้าประเทศ 2ฺฺBy Nurseonomyเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !