การอ่านหนังสือ นักวิจัยกล่าวไว้ว่า “ ยิ่งอ่านหนังสือมาก ไอคิวก็ยิ่งสูง” แต่ถ้าไม่ได้มีการฝึกสมองเลย โดยที่ไม่ยอมอ่านหนังสือ สมองก็จะมีประสิทธิภาพลดลง ความจำแย่ และ อาจส่งผลให้เป็นโรคสมองเสื่อมได้ การอ่านหนังสือยังช่วยคลายความตึงเครียด และลดอาการโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย เพราะการอ่านถือเป็นหนึ่งในวิธี ที่ช่วยลดความเครียดได้ให้ ไปอยู่กับความคิด และ จินตนาการ ตามตัวอักษรในหนังสือ ความฉลาดของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาให้มีขึ้นได้ เรื่องของอายุไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อสมองเลย แม้ว่าเราจะมีอายุ 30 ปี หรือ 50 ปี ก็ตาม ด้วยวิธีการฝึกสมองหลัก ๆ ง่าย ๆ คือ “การอ่านหนังสือ” โดยในที่นี้เราจะกล่าวถึงกรณีของการอ่านหนังสือ ว่าจะช่วยให้เรามีความฉลาดหรือได้ฝึกสมองอย่างไร1. สิ่งมหัศจรรย์ของการ “อ่านหนังสือ 100 ชั่วโมง” ทีมวิจัยของ Camegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทดลองให้เด็กอายุตั้งแต่ 8 ถึง 10 ปี อ่านหนังสือตอนเช้า 15 นาที และตอน เย็นอีก 15 นาที ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 6 เดือน และพบว่า มีเครือข่ายเซลล์ประสาทซึ่งใช้ส่งสัญญาณเพิ่มมากขึ้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้นด้วย2. อ่านหนังสือภาษาต่างประเทศ งานวิจัยของ lund University สวีเดน พบว่าผู้ที่อ่านหนังสือภาษาต่างประเทศเป็นประจำ มีความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์น้อยกว่า กลุ่มที่ไม่ได้อ่าน 3. อ่านนวนิยาย งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Neurolmage ระบุว่า ผู้ที่อ่านหนังสือประเภท นวนิยายจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทต่าง ๆ เช่น สามารถรับรู้ถึง กลิ่น รส สัมผัสได้ เพราะขณะที่อ่าน ในส่วนที่รับกลิ่น รส สัมผัส ก็จะทำงานไปด้วยภาพถ่ายโดยผู้เขียน และยังมีการศึกษาพบว่า ผู้ที่อ่านหนังสือประเภท นวนิยาย สมองก็จะจินตนาการตามไปด้วย คือความคิดของเราวาดภาพออกมาจากสิ่งที่เรากำลังอ่านในหนังสือถือว่าเป็นการการฝึกสมองที่เยี่ยม4. การอ่านหนังสือนวนิยายสามารถเพิ่มอีคิวได้ ทีมวิจัยของ project Zero - Humanities and Liberal Arts Assessment โดย Harvard University สหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ที่ อ่านนวนิยาย สามารถทำแบบทดสอบ อีคิว หรือความฉลาดทางอารมณ์ได้คะแนนสูงกว่า ผู้ที่อ่านเฉพาะบทความและสารคดีภาพโดยผู้เขียน5. การอ่านหนังสือลดเสี่ยงอาการทางจิตได้ งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Neurology ระบุว่า ผู้สูงอายุ ที่อ่านหนังสือเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 20-30 นาที จะช่วยลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้า และอาการทางจิตอื่นๆได้ มากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีงานอดิเรกใดเลย และโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ต่ำภาพถ่ายโดยผู้เขียน ดังนั้นเราไม่ควรหยุดการอ่านหนังสือ เพราะว่า หนังสือนอกจากจะช่วยไม่ให้ความจำเสื่อมแล้ว ยังช่วยคลายความตึงเครียด และยังช่วยลดอาการโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย นอกจากการอ่านหนังสือแล้วสิ่งที่สำคัญที่จะต้องทำควบคู่ไปด้วยคือ การออกกำลังกาย และการเลือกรับประทานอาหารที่จำเป็น ต้องคำนึงถึงอาหารที่ดีต่อสมองด้วย เช่น ผัก ผลไม้สด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมัน โอเมก้า 3 ที่มีมากในปลาชนิดต่าง ๆ ภาพถ่ายจากผู้เขียนภาพถ่ายจากผู้เขียนภาพหน้าปกและภาพประกอบ : ถ่ายโดยผู้เขียน