รีเซต

วิธีรับมือกับสุขภาพจิตช่วงวิกฤต COVID-19 เราแค่ระวังตัวมาก หรือ พารานอยด์กันแน่?

วิธีรับมือกับสุขภาพจิตช่วงวิกฤต COVID-19 เราแค่ระวังตัวมาก หรือ พารานอยด์กันแน่?
pommypom
13 มีนาคม 2563 ( 16:10 )
1.2K
5

     แนะวิธีรับมือกับสุขภาพจิตช่วงวิกฤต COVID-19 ...ช่วงนี้หลายๆคนคงกังวลกับสถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงไปทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าเราจะต้องเผชิญกับวิกฤตของโรคระบาดใหญ่นี้อีกหลายเดือนเลย เชื่อว่าทุกๆคนจะต้องติดตามข่าวเกี่ยวกับ COVID-19 กันอย่างใกล้ชิดกันเลยใช่มั้ยคะ? ตามจนคิดว่าเราติดเชื้อแล้วหรือเปล่าเนี่ย? แม้แต่ตอนออกไปข้างนอกบ้านก็ยังกังวลว่าเราจะสัมผัสกับคนติดเชื้อด้วยรึปล่านะ?

     หลายๆคนอาจจะเสพข่าว COVID-19 เยอะจนทำให้เกิดอาการเครียดและพารานอยด์ได้ เพราะจริงๆแล้วการติดตามข่าวสารและระมัดระวังตัวเป็นสิ่งที่ดีมากๆค่ะ แต่ถ้ามันทำให้เราเกิดอาการพารานอยด์และเครียดมากๆ แม้จะปลอดภัยจาก COVID-19 แต่เราจะเสียสุขภาพจิตแทนนะคะ ทางที่ดีเราควรดูแลสุขภาพจิตในช่วงวิกฤตนี้ด้วยเช่นกันค่ะ

 

 

เราแค่ระวังตัวมาก หรือ พารานอยด์กันแน่?

 

รู้จักอาการพารานอยด์

     พารานอยด์ (Paranoid) คือภาวะผิดปกติทางความคิด ซึ่งถือเป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง มักพบในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตหรือปัญหาสุขภาพกายอย่าง โรคสมองเสื่อม ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เนื้องอกในสมอง หรือโรคเอสแอลดีขึ้นสมอง การพารานอยด์เกิดจากความหวาดระแวงในบางเรื่องที่มากเกินไป จนอาจทำให้เกิดอาการหูแว่วหรือประสาทหลอนได้ โดยในคนทั่วไปอาจจะมีอาการระแวงในระดับเล็กน้อย แต่หากบางคนที่ระแวงมากเกินไปอย่างรุนแรงอาจจะทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้

สังเกตอาการพารานอยด์ เราเป็นหรือไม่?

  • มองโลกในแง่ร้าย
  • ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว
  • สงสัยในบางเรื่องมากเกินไป
  • เชื่อข่าวลือต่างๆอย่างไม่มีเหตุผล
  • มีพฤติกรรมก้าวร้าว
  • หงุดหงิดหรือโกรธง่าย
  • ระแวงผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา
  • คิดว่าคนอื่นจะเข้ามาทำร้ายตัวเอง
  • ไม่เป็นมิตรกับคนรอบข้าง

วิธีรับมือกับความกังวล

  • ปกติแล้วร่างกายจะมีกลไกตามธรรมชาติในการป้องกัน ซึ่งก็คือ เหตุผล นั่นเองค่ะ เช่น ถ้าเราสงสัยในบางเรื่องมากๆ และพบหลักฐานหรือเหตุผลที่ตอบความสงสัยได้ก็จะเลิกกังวลไปเอง
  • พูดคุยกับคนรอบข้างที่ไว้วางใจได้จะช่วยทำให้เราลดความกังวลลงได้ เพราะยิ่งอยู่คนเดียวหรือคิดมากคนเดียวอาจจะทำให้เรากังวลมากเกินไปได้ โดยเฉพาะการคิดไปเองถือเป็นความอันตรายอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้นะคะ
  • ให้ความสนใจกับสิ่งอื่นๆบ้าง ยกตัวอย่างสถานการณ์ COVID-19 หากเรารู้วิธีป้องกันอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว และติดตามข่าวในแต่ละวันจนกระจ่างแจ้งแล้ว ก็ให้หาอะไรอย่างอื่นทำบ้าง และเพ่งความสนใจไปที่สิ่งอื่นๆแทนค่ะ
  • วางแผนจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น การวางแผนจะช่วยทำให้เราลดความกังวลลงได้ เพราะเรามีแผนรับมือกับปัญหาแล้ว ถือเป็นการเพิ่มกำลังใจที่ดีให้กับตัวเองอย่างหนึ่งค่ะ

บทความที่คุณอาจสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง