13 ผักที่มีไลโคปีน สารต้านอนุมูลอิสระจากสีแดง ตัวช่วยสุขภาพใกล้ตัว🍅ผักสีแดงมักมีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ไลโคปีนและแอนโธไซยานิน โดยสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้มีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายของเราค่ะ และส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างน่าเหลือเชื่อ ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคบางชนิดที่เราได้ยินบ่อยที่สุด คือ โรคมะเร็ง ดังนั้นมารู้จักสารต้านอนุมูลอิสระทั้งสองตัวนี้แบบละเอียดมากขึ้นกันดีกว่าค่ะ แล้วต่อจากนั้นจะเป็นเนื้อหาในส่วนของ 13 ผักสีแดงที่มีไลโคปีน ตัวช่วยดีๆ ใกล้ตัวที่หลายคนอาจลืมนึกถึงไป งั้นอ่านต่อเลยดีกว่าค่ะไลโคปีน เป็นสารสีแดงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบได้ในผักสีแดงหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมะเขือเทศค่ะ ไลโคปีนคือสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ซึ่งเป็นกลุ่มของเม็ดสีที่มีหน้าที่ให้สีที่สดใสแก่พืชบางชนิด ร่างกายคนเราสามารถดูดซึมได้ดีที่สุดเมื่อกินผักร่วมกับไขมันบางชนิดค่ะ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน เพราะไลโคปีนเป็นสารประกอบที่ละลายในไขมัน🌶แอนโธไซยานิน เป็นเม็ดสีที่ละลายน้ำได้ ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เม็ดสีเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดสีแดง น้ำเงินและม่วงที่สดใส ซึ่งพบได้ในผักหลายชนิด มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของคนเราอีกโดยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังค่ะ มีส่วนช่วยอย่างมากในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายในร่างกาย ซึ่งสามารถลดความรุนแรงของปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและการอักเสบได้ มีการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการกินผักที่อุดมด้วยแอนโธไซยานิน ส่งผลดีต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น สุขภาพของหัวใจดีขึ้น การทำงานของสมองดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังชนิดต่างๆ 🍠ลองนึกภาพตามค่ะว่า..เมื่อสารต้านอนุมูลอิสระเข้าสู่ร่างกายแล้วนะคะ สารต้านอนุมูลอิสระนี้จะไปต่อต้านการออกซิเดชันที่เกิดจากอนุมูลอิสระ เพราะอนุมูลอิสระมีความไม่เสถียรจึงสามารถทำลายเซลล์และนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ ตามมารวมถึงความชราและโรคเรื้อรัง สารต้านอนุมูลอิสระทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลางจึงทำให้เสถียร และผลที่ตามมาคือช่วยป้องกันความเสียหายต่อเซลล์ ดังนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องหันมาใส่ใจสุขภาพ ด้วยการหันมากินผักที่มีสีแดงเพิ่มมากขึ้น ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อไปสนับสนุนให้กลไกการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บตามธรรมชาติของร่างกายเกิดขึ้นได้สมบูรณ์และส่งเสริมให้มีสุขภาพดีขึ้นค่ะ🍅1️⃣ ดอกกระเจียวแดง เป็นผักพื้นบ้านหาได้ตามป่าค่ะ เป็นกระเจียวแดงที่สามารถกินแดง แต่ที่ตลาดมีขายตามร้านขายผักพื้นบ้านค่ะ ถ้าออกมาต่างจังหวัดตามตลาดขายของป่าของแปลกมีค่ะ กระเจียวแดงส่วนกลีบดอกมีสีแดงค่ะ เลยทำให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ จะนำมาต้มหรือกินสดก็ได้ 2️⃣ บีทรูท เป็นผักฝรั่งที่มีสารไลโคปีนและแอนโธไซยานินค่ะ ปกติมีขายตามห้างสรรพสินค้า แต่ตอนหลังมาผู้เขียนเห็นมาวางขายบ้างแล้วตามตลาด บีทรูทสามารถหั่นบางๆ ใส่สลัดผักได้ค่ะ อร่อยมีกลิ่นคล้ายรากไม้หรือจะทำน้ำปั่นมีหัวบีทรูทหรือแยกกากเอาเฉพาะน้ำบีทรูทก็ได้ค่ะ ที่ผู้เขียนชอบมากที่สุดคือหั่นใส่สลัดค่ะ3️⃣ มะเขือเทศท้อ เป็นมะเขือเทศที่มักนำมาหั่นใส่ยำ สลัดผักและบางคนก็นำมากินเป็นผักสดค่ะ รสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อมะเขือเทศเยอะ และมะเขือเทศท้อมักนำไปทำซอสมะเขือเทศ การกินทั้งมะเขือเทศท้อสุกสีแดงและซอสมะเขือเทศทำให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระข้างต้นเหมือนกันค่ะ แต่มีการศึกษาพบว่า ซอสมะเขือเทศมีสัดส่วนของสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเพราะโดนความร้อนที่สูงค่ะ เพราะความร้อนในกระบวนการทำอาหารมีผลทำให้ปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมีมากขึ้นตามเวลาที่ปรุงค่ะ การกินมะเขือเทศเชื่อมก็ทำให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระเหมือนกันค่ะ🍅4️⃣ หัวไชเท้าสีแดง เป็นผักอีกชนิดที่พบสารไลโคปีนและแอนโธไซยานินค่ะ บางคนเรียก แรดิช ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกันเพราะคำว่า แรดิชคือภาษาอังกฤษของหัวไชเท้าสีแดง ดังนั้นจะเรียกอะไรก็คือผักสีแดงตามภาพนี้ค่ะ สามารถนำมาหั่นใส่สลัดได้ ตามห้างสรรพสินค้ามีขายค่ะตลาดสดใหญ่ๆ มีขายค่ะ5️⃣ พริกหวานสีแดง สามารถนำมาหั่นใส่พิซซ่า ทำผัดผักหรือหั่นใส่สลัดผักได้ค่ะ นำมากินกับสเต็กก็ได้แล้วแต่คนชอบ หั่นเสียบเสริมลงไปในบาร์บีคิวก็ได้นะคะ ไม่เผ็ด เคี้ยวง่ายและที่สำคัญได้รับสารต้านอนุมูลอิสระแบบจัดเต็มค่ะ6️⃣ มะเขือสีดา เป็นมะเขือเทศที่มากับส้มตำค่ะ น้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่มแบบอีสานเพราะบางคนชอบนำมะเขือเทศสีดำมาย่างไฟก่อนนำไปโขลกรวมกันค่ะ มะเขือเทศสีดามากับบาร์บีคิวด้วยนะคะ เห็นไหมค่ะว่าเราสามารถได้สารต้านอนุมูลอิสระจากสีแดงในมะเขือเทศสีดาได้แบบหลากหลายมากและจากสถานการณ์ใกล้ตัวทั้งนั้นค่ะ🍅7️⃣ หอมแดง จะซอยใส่ยำข้าวแหนมคลุก ใส่ลาบหมูหรือนำมาย่างทำน้ำพริกหรือกินสดๆ ก็ยังทำได้ค่ะ นั่นคือเมนูง่ายๆ ที่จะได้สารต้านอนุมูลอิสระจากหอมแดงค่ะ ที่ผู้เขียนชอบทำคือ จะหั่นหอมแดงใส่ไข่เจียวค่ะ หอมมากแถมมีประโยชน์จากสารต้านอนุมูลอิสระด้วยค่ะ8️⃣ พริกหยวกสีแดง ปกติผู้เขียนมักได้ใช้พริกหยวกสีแดงหั่นใส่ผัดเผ็ดกบ ใส่แกงต่างๆ เพื่อประดับให้สวยงาม แต่ก็ไม่ได้ทิ้งนะคะยังตักมากินด้วยค่ะเพราะไม่ได้เผ็ดมาก ปกติโดยส่วนตัวชอบกินเผ็ดค่ะ ยิ่งได้รู้ว่าเราสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้จากสารดีๆ ในพริกหยวกสีแดงยิ่งต้องหามากินเพิ่มค่ะ ที่ตลาดกำละ 10 บาทเท่านั้นเองค่ะ ในบางครั้งในชุดเครื่องเทศผัดเผ็ดมีมาให้ด้วย🌶9️⃣ มะเขือเทศเชอร์รี่ ตอนหน้าหนาวมะเขือเทศชนิดนี้ถูกมากค่ะ ที่ตลาดมีขาย รสชาติดีกินสดได้เลยเป็นผัก จะนำมาใส่สลัดผักก็ได้ค่ะ ถ้าเด็กตัวเล็กอยากกินต้องระวังอย่าให้ติดคอ มะเขือเทศเชอร์รี่กินได้ทั้งเปลือกเลยค่ะ แนะนำให้ล้างแบบแช่น้ำใส่เกลือแกงลงไปก่อนจากนั้นล้างซ้ำผ่านน้ำจากก๊อกอีกรอบค่ะ1️⃣0️⃣ มะเขือเทศพื้นบ้าน มะเขือเทศชนิดนี้ผลกลมเล็กค่ะ มีรสเปรี้ยวนำ คนอีสานบางคนอาจเรียกว่า " มะเขือส้ม" โดยส่วนใหญ่ร้านขายผักพื้นบ้านมีขายค่ะ ถ้ามาตลาดตามต่างจังหวัดมักพบว่าชาวบ้านนำมาขายเองค่ะ และคนอีสานชอบนำมาใส่ส้มตำเพราะดึงรสชาติได้ดีและอร่อยค่ะ หรือจะนำไปย่างใส่น้ำพริกจิ้มแจ่วกับปลานิลนึ่งก็ได้นะคะ นอกจากอร่อยและทำได้หลายเมนูแล้ว มะเขือเทศพื้นบ้านยังอุดมไปด้วยไลโคปีนและแอนโธไซยานินค่ะ🍅1️⃣1️⃣ มันเทศสีแดง เป็นมันเทศที่เจอได้บ่อยที่สุดเมื่อเทียบกับมันเทศสีส้มค่ะ และมันเทศสีแดงนี้ทำได้หลายอย่าง จะต้มก็ได้จะนึ่งหรือจะเผาก็ได้ ทำของหวานหรือทำขนมไข่หงส์ก็ได้อีกค่ะ ลองเลือกที่ถูกใจค่ะ แต่ผู้เขียนชอบนำมาต้มค่ะเพราะง่ายดีและเป็นการลดการกินน้ำตาลแนวทางหนึ่งเพราะไม่ค่อยชอบทำเป็นของหวานค่ะ เนื้อมันเทศสีแดงมีสีเหมือนเปลือกค่ะจึงทำให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระแบบจัดเต็ม1️⃣2️⃣ สายบัวแดง รวมทั้งต้นอ่อนของบัวแดงด้วยนะคะ ต้นอ่อนคือส่วนที่งอกออกมาจากหัวบัวแดง สมัยนี้เขาเพาะขายและมีขายตามตลาดกำละ 10 บาทค่ะ ร้านลาบบางร้านนำมาเสิร์ฟกินแกล้มกับลาบด้วยอีกต่างหาก สายบัวแดงนำมาทำแกงกะทิใส่ปลาทูหรือนำมากินสดเป็นผักได้ค่ะ แถวอีสานมีตำสายบัวแดงด้วยนะคะ ปกติผู้เขียนกินสายบัวแดง 2 แบบ คือ กินสดกับทำแกงสายบัวค่ะ ไม่เคยซื้อสายบัวแดงค่ะเพราะว่ามีที่สวนเยอะมาก1️⃣3️⃣ พริกแดง ถ้าใครไม่กินพริกก็จะพลาดโอกาสได้รับไลโคปีนและแอนโธไซยานินค่ะ เพราะว่าพริกสีแดงมีสารต้านอนุมูลอิสระทั้งคู่เหมือนกับผักชนิดอื่นค่ะ ทั้งนี้การกินพริกแกง พริกแห้ง พริกป่น น้ำพริกหรืออะไรทำนองนี้ก็ยังมีโอกาสได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในพริกค่ะ เรื่องพริกไว้ใจผู้เขียนค่ะเพราะกินทุกวันแล้วแบบนี้สารต้านอนุมูลอิสระจะไปไหนเสีย😄และนั่นคือ 13 ผักสีแดงแบบจุกๆ ที่เลือกกันไม่ถูกเลยทีเดียวว่าจะเริ่มซื้อชนิดไหนมากินก่อนดีค่ะ😄 ปกติผู้เขียนกินผักสีแดงทุกวันค่ะ ที่ไม่ขาดเลยก็พริกแดงและมะเขือเทศที่มากับส้มตำก็บ่อยค่ะ ซอสมะเขือเทศก็ถี่และอีกอย่างคือมะเขือเทศที่มากับยำและสลัดผักค่ะ สายบัวแดงได้กินบ้างถ้ามีคนว่ายน้ำไปเก็บค่ะ ผักสีแดงอร่อยค่ะและได้ประโยชน์ดี มีเพียงพริกที่เผ็ดนอกนั้นก็กินได้ไม่อยากอะไร จากที่ผักสีแดงมีสารต้านอนุมูลอิสระดีๆ นั้นจึงอยากเชิญชวนให้คนไทยหันมากินมากขึ้นค่ะเพราะบางอย่างหาง่ายราคาถูก กินได้แบบสดๆ จึงไม่ต้องเสียเวลาเตรียมค่ะ อย่างไรก็ตามการได้รับไลโคปีนและแอนโธไซยานินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสีแดงของผักด้วยนะคะ แดงมากได้มากแดงน้อยได้น้อยและวิธีการปรุงอาหารก็มีส่วนด้วย เหมือนกับที่ได้เกริ่นมาก่อนหน้านี้ว่าซอสมะเขือเทศมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศสดค่ะ การเลือกกินผักสีแดงให้หลากหลายเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าการเลือกกินในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งค่ะ จึงหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และทำให้คุณผู้อ่านมองเห็นว่าทำไมต้องหันมากินผักสีแดงมากขึ้นนะคะ🍅เครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย Adonyi Gábor จาก Pexelsภาพประกอบเนื้อหาโดย ผู้เขียนออกแบบหน้าปกใน Canvaบทความอื่นที่น่าสนใจ10 ผักช่วยทำให้แผลหายเร็ว แผลสมานดี ลดการอักเสบ8 ผักพื้นบ้านกินกับลาบ เรียกน้ำย่อย ช่วยให้เจริญอาหาร6 วิธีลดสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !