จากหัวข้อที่หลายๆคนนั้นได้ตั้งคำถามกันว่า “ดื่มปัสสาวะแล้วดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่”ก่อนอื่นเรามารู้จักปัสสาวะกันก่อนปัสสาวะ (Urine) คือของเสียที่ร่างกายนั้นขับออกมาในรูปแบบของเหลว โดยจะมีสีและกลิ่นที่เฉพาะตัว ซึ่งสีและกลิ่นนั้นมีผลมาจากอาหารหรือเครื่องดื่มที่เรารับประทานเข้าไป สีของปัสสาวะ เช่น สีเหลืองอ่อน สีเหลือง เหลืองส้ม สีดำ สีชมพู และสีแดง ซึ่งสีของปัสสาวะนั้นสามารถบอกถึงความผิดปกติของร่างกายรวมไปถึงปัญหาสุขภาพได้อีกด้วยในปัสสาวะนั้นมีสารประกอบ ได้แก่น้ำ มีมากถึง 95 %Urea 2.5 %และสารประกอบอื่นๆ อีก 2.5 % เช่น Sodium, Potassium, Calcium เป็นต้นอวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะโดยหลักๆ แล้วอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะ คือ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะไต ทำหน้าที่แยกเลือดหรือสารที่จำเป็นต่อร่างกายออกจากปัสสาวะท่อไต ทำหน้าที่ในการลำเลียงปัสสาวะจากไตเข้าสู่กระเพราะปัสสาวะกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่ในการพักปัสสาวะท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่ในการลำเลียงปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะออกนอกร่างกายเมื่อรู้จักปัสสาวะ สารประกอบที่มีอยู่ในปัสสาวะ และอวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะกันแล้วผู้เขียนจำพานำไปสู่หัวข้อ “หากดื่มปัสสาวะแล้วจะเกิดผลเสียอย่างไร”จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าปัสสาวะนั้นเกิดจากของเสียที่ถูกขับออกมาจากร่างกาย องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำ แต่มีสารกลุ่มที่เป็น Urea ได้แก่ Urea Nitrogen และนอกจากนี้ยังมี Uric acid ซึ่งมีความเป็นกรดนั้นปนออกด้วยมาด้วยซึ่งกรดดังกล่าวส่งผลให้ปัสสาวะของเรานั้นมีความเป็นกรดอ่อนๆ และเมื่อดูสารที่ประกอบในปัสสาวะแล้วนั้นไม่ได้มีสารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของเรานอกเหนือจากน้ำ อีกทั้งยังไม่มีงานวิจัยทางวิชาการใดที่ให้ข้อมูลว่าปัสสาวะนั้นมีผลดีต่อสุขภาพ การดื่มน้ำปัสสาวะเข้าไปนั้นอาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ดังนั้นเราจึงไม่ควรจะดื่มน้ำปัสสาวะเพราะถือเป็นของเสียและเป็นสิ่งที่ร่างกายขับออกมานั่นแปลว่าร่างกายไม่ได้ต้องการสารเหล่านั้นแล้วนั่นเอง นอกจากจะได้รับแค่น้ำและสารจำพวก Urea (ยูเรีย) แม้ว่าความเป็นพิษของยูเรียจะมีค่าความเป็นพิษต่ออย่างกายไม่มากก็ตาม แต่ถ้าหากอยากสุขภาพดีควรจะเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องง่ายๆ ที่จะทำให้เรามีสุขภาพที่ดี แหล่งที่มา1. Urine therapy Archived 2010-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Vanderbilt.edu (1992-10-16). Retrieved on 2011-04-27.2. https://saranukromthai.or.th แหล่งที่มาของรูปภาพขอบคุณรูปภาพปก จาก frolicsomepl จาก pixabay.comขอบคุณรูปภาพที่ 1 จาก frolicsomepl จาก pixabay.comขอบคุณรูปภาพที่ 2 จาก PlumePloume จาก pixabay.comขอบคุณรูปภาพที่ 3 จาก mohamed_hassan จาก pixabay.comขอบคุณรูปภาพที่ 4 จาก frolicsomepl จาก pixabay.com เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !