ไอโซฟลาโวน (isoflavones) เป็นสารอาหารจากพืชที่พบมากในถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสารที่มีรูปร่างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ไอโซฟลาโวนมีคุณสมบัติในการป้องกันโรคหลายอย่าง อาทิ ทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน และวัยหมดประจำเดือน ปรับฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิง ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ หงุดหงิด อาการทางผิวหนังและเยื่อบุบริเวณช่องคลอดแห้ง อักเสบ ป้องกันการเสื่อมของกระดูก ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ป้องกันภาวะโรคกระดูกพรุนในผู้หญิง ลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ไอโซฟลาโวนยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เต้าหู้ ที่ทำจากถั่วเหลือง อาทิ เต้าหู้แข็ง เต้าหู้อ่อน ฟองเต้าหู้ดิบ เต้าหู้หลอด มีสารไอโซฟลาโวนในปริมาณมาก เหมาะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพทั้งผู้หญิงผู้ชาย เพราะบางคนอาจจะไม่ชอบผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองแบบอื่น เช่น น้ำเต้าหู้ ถั่วเน่า เต้าหู้จากถั่วเหลืองจึงเป็นตัวเลือกที่ดี นำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู อาทิ เต้าหู้ทรงเครื่อง ผัดกะเพราเต้าหู้ ถั่วงอกผัดเต้าหู้ เต้าหู้ทอด เต้าหู้นึ่ง ยำเต้าหู้ แกงจืดเต้าหู้หมูเด้ง ฯลฯ นอกจากเต้าหู้จะมีไอโซฟลาโวนในปริมาณมากแล้วยังมีแร่ธาตุและสารอาหารที่สำคัญ อาทิ โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แมกนีเซียม ซิงค์ วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 เลซิธิน ฯลฯผู้เขียนในวัยจะเลข 5 ก็มีปัญหาเรื่องฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงเช่นเดียวกัน คุณหมอที่ดูแลรักษาสุขภาพอยู่ประจำแนะนำว่าหากผู้เขียนไม่อยากให้ตนเองหงุดหงิดง่าย ปวดหัว ปวดท้อง อารมณ์ค่อนข้างแปรปรวนอยู่บ่อย และไม่อยากกินยา ก็ควรกินอาหารที่มีไอโซฟลาโวน มีไฟโตเอสโตรเจน คุณหมอแนะนำให้กินผัก ผลไม้ ธัญพืช แนะนำอาหารมาให้หลายเมนู หนึ่งในอาหารที่คุณหมอแนะนำมาผู้เขียนเลือกเต้าหู้เป็นหลักเพราะตัวเองชอบกินเต้าหู้อยู่แล้ว กินเต้าหู้นอกจากจะช่วยปรับฮอร์โมนของผู้หญิงให้สมดุล ป้องกันการเสื่อมของกระดูก ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ป้องกันภาวะโรคกระดูกพรุนในผู้หญิง ฯลฯ ยังบำรุงกระดูก บำรุงเล็บ ฟัน และเส้นผมให้แข็งแรง เส้นผมไม่หลุดร่วงง่าย บำรุงประสาทและสมอง ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท ไม่หลงลืมง่าย บำรุงดูแลสายตา ฯลฯ เรียกได้ว่าประโยชน์ของเต้าหู้ต่อสุขภาพมีมากมายทีเดียว ข้อสำคัญเต้าหู้เป็นอาหารที่มีราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย เหมาะที่จะนำมาทำอาหารเพื่อดูแลสุขภาพ เมนูจากเต้าหู้ที่ผู้เขียนชอบมากๆ คือ เต้าหู้ทอด กับ พะโล้เต้าหู้ การทำพะโล้เต้าหู้ก็ทำง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องเตรียมเครื่องเยอะ ที่ต้องเตรียมก็คือ เต้าหู้เหลืองแบบแข็ง 5 ก้อน ผงพะโล้สำเร็จรูป หั่นเต้าหู้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมพอดีคำ นำเต้าหู้ไปทอดให้กรอบแล้วพักไว้ จากนั้นนำเต้าหู้ที่ทอดไว้มาผัดกับผงพะโล้ เติมน้ำเปล่านิดหน่อย ผัดพอหอมก็ปิดไฟ ตั้งหม้อใช้ไฟกลาง ใส่น้ำเปล่าเกือบครึ่งหม้อ พอน้ำเดือดนำเต้าหู้ที่เราผัดกับผงพะโล้ใส่ลงไป พอเดือดก็เคี่ยวต่ออีกเล็กน้อย ก็จะได้พะโล้เต้าหู้อร่อยๆ ไว้กิน เมนูนี้สามารถเพิ่มหมูสามชั้น เพิ่มไข่ไก่ต้มสุก เพิ่มผัก ได้ตามชอบ บางครั้งลูกๆ ของผู้เขียนก็ขอให้ใส่หมูสามชั้นด้วยบอกกินอร่อย ่ท่านใดเริ่มเข้าสู่วัยอายุมากปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา โดยเฉพาะเรื่องฮอร์โมนเพศหญิงลดลง ลองนำเต้าหู้มาทำเมนูอร่อยๆ เมนูที่เราชอบกิน เพื่อสารอาหารที่มีประโยชน์ในเต้าหู้จะได้ปกป้อง บำรุง ดูแล ร่างกายของเรา และจะดียิ่งขึ้นหากเรากินอาหารเพื่อสุขภาพกันเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงตั้งแต่ยังเยาว์วัยนะคะ เครดิต ขอบคุณข้อมูลจาก ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง: ชีวเคมี กลไกการออกฤทธิ์ และความเกี่ยวข้องในการป้องกันมะเร็งเต้านม ชรินทร์ ถาวรคุโณขอบคุณข้อมูลจาก ผลของการอบแห้งที่มีต่อปริมาณไอโซฟลาโวนและความสามารถการต้านออกซิเดชันของถั่วเหลืองหมัก(ถั่วเน่า) เกตุการ ดาจันทา และ หทัยทิพย์ ร้องคำ ขอบคุณข้อมูลจาก ไอโซฟลาโวน: ไฟโตเอสโตรเจนจากถั่วเหลือง พัทธินันท์ วาริชนันท์ ขอบคุณข้อมูลจาก เต้าหู้: ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลือง อุษาพร ภูคัสมาสขอบคุณภาพประกอบจาก pexelsภาพปก Polina Tankilevitchภาพประกอบที่ 1 Eiliv Aceron / ภาพประกอบที่ 2 Nadine Wuchenauer / ภาพประกอบที่ 3 Iina Luoto / ภาพประกอบที่ 4 Ella Olsson / ภาพประกอบที่ 5 Polina Tankilevitch / ภาพประกอบที่ 6 Polina Tankilevitch เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !