ผักติ้วสุดยอดผักจากภาคอีสาน ผักที่คนอีสานคุ้นเคยกันดี นิยมนำมาประกอบอาหารยอดฮิต เช่น แกงเห็ดป่า ซุปหนังวัว เป็นต้น ผักที่มีความเปรี้ยวเป็นเอกลักษณ์ โดยมักจะพบส่วนมากในแถวตะวันออกเฉียงใต้ อย่างประเทศไทยเราเองก็มักจะพบมากในป่าหรือตามชนบท นอกจากผักติ้วจะมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังสามารถใช้ใบและยางของต้นเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านได้ เปลือกของต้นเมื่อนำไปต้มแล้วจะมีสีแดงสวยก็นำมาย้อมผ้า ต้นผักติ้วยังใช้เผาถ่านทำฝืนได้ต้นติ้วขาวเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 3 - 35 เมตร ส่วนใหญ่มักพบในป่าทางภาคตะวันเฉียงเหนือของประเทศไทยหรือตามป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อื่นๆ ลำต้นตรงสูงมีลักษณะแตกเป็นลายสะเก็ดเปลือกจะมีผิวไม่เรียบสีน้ำตาลปนสีแดง ลำต้นด้านในจะเป็นน้ำตาลเงาปนแดง เมื่อเวลาที่มีน้ำยางของลำต้นไหลออกมาจะมีสีเหลืองปนแดง เมื่อน้ำยางแห้งจะมีลักษณะแข็งติดอยู่ตามลำต้น กิ่งตามลำต้นจะแตกแขนงออกเยอะทำให้ต้นเป็นพุ่มหนา ใบอ่อนจะมีสีแดง ชมพู เขียวผิวใบออกมันวาว พอเริ่มแก่สีของใบก็จะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวไปถึงเขียวเข้มผิวใบมีความมันวาวเช่นเดิม ดอกจะออกเป็นช่อมีสีชมพูแดง ด้านในเป็นสีขาว เกสรมีสีเหลือง ผลจะมีลักษระเหมือนแคปซูลเรียวยาวแข็งมีสีน้ำตาลและดำ ด้านในผลจะมีเมล็ดสีน้ำตาล แบ่งเป็น 3 แฉกการปลูกและขยายพันธุ์จะใช้เมล็ด แต่ในปัจจุบันนิยมตอนกิ่งหรือต้นอ่อนมาปลูกได้เลย ในปัจจุบันต้นผักติ้วมีไม่มากสักเท่าไหร่ ถ้าอยากจะปลูกจริงๆต้องเข้าป่าเพื่อไปเอาต้นอ่อนมาปลูก ถ้าใช้เมล็ดปลูกก็ใช้เวลาเหมือนต้นไม้ต้นอื่นๆหมั่นรดน้ำเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ต้นโตและแตกกิ่งก้านสักประมาณ 4 - 5 ค่อยเบาเรื่องน้ำลง จะปลูกในสถานที่ที่มีแสงแดดทั้งวันก็ได้ เพราะต้นติ้วสู้แสงแดดได้เป็นอย่างดีประโยชน์และสรรพคุณของผักติ้วขาว ผักติ้วได้ชื่อว่าเป็นผักต้านโรคมะเร็ง แก้ปัสสาวะขัด ขับปัสสาวะได้ดี ช่วยขับลมในกระเพาะ แก้ปวดเมื่อยตามข้อต่างๆในร่างกาย แก้ประดง ไขข้อพิการ รักษาโรคผิวหนังบางชนิด ผื่นคันตามร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย รอยแตกร้าวของส้นเท้าสรรพคุณทางยาที่คนโบราณเขาทำไว้ทานเพื่อแก้อาการเจ็บป่วยต่างๆ โดยการนำเอาดอก ยอด ใบอ่อน เปลือก ราก ยาง มาใช้ทั้งเพื่อดื่มและทา เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยบางโรคบางชนิด ซึ่งเป็นวิธีที่มาตั้งสมัยโบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังมีการประยุกต์ใช้กันอยู่ ในสมัยก่อนนั้นกว่าจะไปหาหมอก็รอเวลาอีกทั้งยังเดินทางไกลอีก จึงได้นำเอาผักพื้นบ้านเข้ามาช่วยรักษาเพื่อบรรเทาอาการจ็บป่วยนั้นๆได้ เช่น ปวดท้อง จุกเสียด บำรุงเลือด ประดง โรคผิวหนัง ผื่นคัน ปัสสาวะขัด เป็นต้นผักติ้วกินส่วนไหนได้บ้าง? ช่อดอก ยอดอ่อน ใบอ่อน ใบ รสชาติของผักติ้วส่วนต่างๆที่ว่ามาจะมีรสเปรี้ยว แต่ใบแก่จะเปรี้ยวมัน สามารถทานได้ทั้งสดและนำมาปรุงประกอบเป็นเมนูอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติของอาหารให้กลมกล่อมขึ้นและสามารถในแทนมะนาวได้ เช่น ต้ม แกง ลาบ ก้อย ผัด แจ่ว เมนูน้ำพริก ปกติแล้วคนทั่วไปจะนิยมทานสดเพราะผักติ้วช่วงที่ออกดอกและใบอ่อนมีรสเปรี้ยวจะไปตัดกับอาหารที่มีรสเผ็ด เค็มได้เป็นอย่างดี สำหรับคนอีสานแล้วนิยมนำผักติ้วมาประกอบเมนูกับเห็ดป่า เช่น เห็ดเผาะ เห็ดโคน เห็ดละโงก เป็นต้น โดยจะใช้ใบอ่อนแกงรวมใส่กับเห็ดพวกนี้ หรือถ้ามีเห็ดขายในตลาดก็มักจะมีผักติ้วขายอยู่ด้วยเมนูผักติ้ว? แกงเห็ดป่าใส่ปลาร้า แกงเห็ดขอนขาวใส่ผักติ้ว แกงไขมดแดงใส่ผักติ้ว ซุปหนังวัว แกงเห็ดเผาะ แกงเห็ดนางรม ซุปดอกผักติ้ว แกงปลาใส่ไข่มดแดง เป็นต้นสรรพคุณของผักติ้วด้านโภชนาการ ผักติ้ว 100 กรัม ให้พลังงาน 58 กิโลแคลอรี เส้นใย 1.4 กรัม น้ำ 85.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม โปรตีน 2.4 กรัม ไขมัน 1.7 กรัม แคลเซียม 67 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 4,500 ไมโครกรัม เหล็ก 2.5 มิลลิกรัม วิตามินA 750 ไมโครกรัมของเรตินอล วิตามินB1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.67 มิลลิกรัม วิตามินC 58 มิลลิกรัมไนอาซิน 3.1 มิลลิกรัม เหล็ก 2.5 มิลลิกรัมตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ช่วงนี้ดอกผักติ้วสีขาวกำลังออก ซึ่งมองดีๆเหมือนซากุระเมืองไทยเลยนะคะ สวมงามดี นอกจากนี้ยังนำมาทำได้หลายเมนูเลยคะ รสชาติก็จะออกเปรี้ยวเหมือนใบ แต่ใบจะมีความมันด้วย ผู้เขียนเองชอบเมนูแกงเห็ดใส่ใบผักติ้วหรือดอกผักติ้วมากๆนะ ทานแล้วช่วยขับลมในท้องได้เป็นอย่างดี รู้สึกสบายท้องมากๆเลยคะ สามารถใช้แทนมะนาวได้ กลิ่นจะออกละมุนนิดหน่อยหรือจะกินแบบสดก็ช่วยทำให้สบายท้องมากๆเลยคะ ในตลาดแถวภาคอีสานจะราคาไม่แพงและหาทานง่ายหน่อย ยิ่งช่วงเห็ดป่าออกก็จะมีผักติ้วขายประกอบด้วย แต่ก็อย่าลืมทานอาหารให้หลากหลายและครบทั้ง 5 หมู่ด้วยนะ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย สุดท้ายนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สูงสุดให้กับเพื่อนๆนะคะ ภาพปก ออกแบบจาก Canva โดยผู้เขียนบทความและภาพประกอบบทความทั้งหมดโดยผู้เขียนบทความเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !