นอกจากปัจจัยในการใช้ชีวิต 4 อย่างคือ อาหาร ที่อยู่อาศัย แล้วเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจัยที่เพิ่มเข้ามาเป็นอย่างที่ 5 ก็คือ มือถือ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าแทบจะทุกคนมีมือถือใช้กันตั้งแต่เด็กตัวเล็ก ๆ ไปจนถึงผู้สูงอายุ เรียกได้ว่าแทบจะกลายเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายกันเลยทีเดียว แต่รู้หรือไม่ว่าเข้ามือถือนั้น แม้เราจะซื้อมาเพื่อใช้ประโยชน์จากตัวมัน แต่อีกด้านหนึ่งมันก็มีโทษกับตัวเราอยู่เหมือนกัน วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องราวประสบการณ์ เกี่ยวกับโทษของมือถือที่เรามักจะพากันมองข้ามไป1.ส่งผลเสียต่อสายตามือถือเครื่องแรกของโลกถูกผลิตขึ้นเมื่อวันที่ 3เมษายน ปี1973 ในเวลานั้นเป็นแค่เครื่องมือที่โทรได้ แต่ทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือพัฒนาไปจากเดิมมาก ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนคือส่วนของหน้าจอ ที่นับวันจะยิ่งมีขนาดจอที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ มองดูมันก็มีประโยชน์นะ ช่วยให้เราสามรถดูข้อมูลบนจอภาพได้ง่ายขึ้น แต่กลับกันมันก็ส่งผลมาทำร้ายดวงตาของเราตามไปด้วย เนื่องด้วยหน้าจอมือถือนั้นมีแสงที่เรียกว่า blue light ซึ่งเป็นแสงที่มาจากการส่องสว่างจากเฉดสีของภาพบนหน้าจอ เจ้าแสงนี้นั้นเมื่อจ้องมองเป็นระยะเวลานาน จะเป็นอันตรายต่อดวงตาของเรา ทำให้จอประสาทตาเสื่อมลงก่อนวัยอันควร แต่ก็มีวิธีที่ช่วยป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้าได้คือ เวลาต้องจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ ก็ควรสวมแว่นตากรองแสงสีฟ้า และเวลาอยู่ในที่มืดก็ไม่ควรเร่งแสงหน้าจอให้สว่างจนเกินไป แค่นี้ก็ช่วยทำให้เราปลอดภัยได้ในระดับนึงแล้วล่ะรูปภาพ https://unsplash.com/photos/NYMJYXfZG-g2.ความเครียดทุกวันนี้โลกของเราสามารถใช้มือถือติดต่อสื่อสารหากันได้ภายในชั่ววินาที หรือที่เราเรียกกันว่า social หรือ สังคมออนไลน์ทำให้เราสามารถรับรู้เรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ รอบโลกได้อย่างรวดเร็ว และบนมือถือเองก็มีแอปพลิเคชันต่าง ๆ มากมายที่มีคุณสมบัติในการติดต่อเข้ากับสังคมออนไลน์มาให้เราได้เลือกโหลดไปใช้งาน ซึ่งตรงนี้ถือได้ว่าก็ค่อนข้างเป็นประโยชน์ แต่อีกด้านหนึ่งด้วยความที่ข่าวสารบนโลกออนไลน์นั้น มีมากมายหลายประเภท จึงทำให้บางครั้งเราอาจไปพบเจอข่าวสารหลาย ๆ อย่างที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่น ข่าวการถูกทารุณกรรม หรือการด่าทอเสียดสีกัน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้เรามีอาการเครียดเกิดขึ้น บางทีอาจจะไม่ค่อยรุนแรงมากนัก แต่เมื่อรับข่าวสารแนวนี้และค่อย ๆ สะสมความเครียดไปนาน ๆ อาจส่งผลเสียกับสุขภาพจิตของเราในระยะยาวได้ วิธีป้องกันคือ หลีกเลี่ยงการเสพสื่อที่รุนแรงหรือกระทบกระทั่งต่อจิตใจไปในทางลบ และวางแผนการใช้มือถือท่องโลกออนไลน์ให้เป็นเวลา เท่านี้ก็พอที่จะช่วยปกป้องให้เราปลอดภัยจากความเครียดในโลกออนไลน์ที่เกิดจากมือถือได้แล้วรูปภาพ https://unsplash.com/photos/FPt10LXK0cg3.มือถือกับบุคลิกภาพหลาย ๆ คนที่มีเวลาว่างนาน ๆ หรือเวลาที่ต้องเดินทางไกล ก็มักจะฆ่าเวลาด้วยการหยิบมือถือกันออกมาใช้งานกันอยู่เสมอ แต่เราเคยสังเกตหรือไม่ว่าบางทีการที่เราใช้มือถือตลอดเวลานั้นมันส่งผลเสียต่อบุคลิคภาพของเราเป็นอย่างมาก ด้วยความที่เวลาใช้ต้องก้มหน้ามองจอตลอดเวลา จะทำให้สมาธิของเรานั้นจดจ่อกับข้อมูลบนจอ จนลืมสังเกตุสังคมรอบข้างไปเลย และนอกจากนั้นปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างก็จะลดลงตามไปด้วย แถมบุคลิกเหล่านี้นั้นเมื่อทำเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียกับร่างกายของเราได้อีก เช่น ปวดคอจากการที่ต้องก้มหน้านานๆ ปวดหลัง และเกิดอาการนิ้วล็อคจากการเกร็งมือกดหน้าจอ เป็นต้นรูปภาพ https://unsplash.com/photos/q8U1YgBaRQk4.อาการติดมือถือรู้หรือไม่ว่า การที่เราใช้มือถืออยู่ตลอดเวลาจนรู้สึกว่าขาดมันไปไม่ได้แม้สักนาทีเดียว ถ้ามีอาการแบบนี้ให้เราพึงตระหนักว่ากำลังเป็นโรค nomophobia หรืออาการติดมือถือ เป็นอาการที่จะรู้สึกกระสับกระส่ายเหมือนขาดอะไรไปซักอย่างเมื่อต้องอยู่ห่างจากมือถือ คอยเช็คมือถือตลอดเวลาหรือพูดคุยกับผู้คนในมือถือมากกว่าคนที่อยู่รอบข้าง นอกจากนี้ยังมีอาการรู้สึกหงุดหงิดและเครียดตามมาอีกด้วย อาการเหล่านี้ส่งผลเสียกับตัวเราเป็นอย่างมากในเรื่องการเข้าหาสังคมดังนั้นเราควรที่จะสำรวจตัวเองว่าเรามีอาการแบบนี้อยู่หรือปล่าว และหากรู้ตัวว่ากำลังเป็นอยู่ก็ควรแบ่งเวลาในการใช้มือถือให้น้อยลง และพยายามออกไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ให้มากขึ้น เช่น การออกไปเล่นกีฬา ไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน เป็นต้น ถ้าหากยังไม่ดีขึ้นก็ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาแม้มือถือจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างประโยชน์ต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก แต่หากใช้โดยไม่คำนึงถึงผลเสียของมันแล้ว มือถือก็จะกลายเป็นโทษต่อตัวเราเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้มันให้พอดี วางแผนการใช้และคอยสังเกตุพฤติกรรมการใช้งานของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอัตรายที่อาจจะเกิดจากเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ