วันนี้ตั้งแต่ช่วงเช้าได้อ่านแต่ข่าวเรื่อง PM2.5 ว่าหนักหนาสาหัส กันทั่วประเทศ ซึ่งข่าวต่างก็คอยประกาศเตือน เพราะมีค่าประมาณฝุ่นสูงมากกว่า ถึงจุดอันตรายวิธีป้องกันเบื้องต้นถ้าออกจากบ้านควรใส่ หน้ากาก N95 ป้องกันฝุ่น แม้แต่ในบ้านเอง แต่ถ้าไม่มีอย่างน้อยก็ควรสวมหน้ากากที่มีอยู่ไว้ก็ได้ค่ะ ถ้าใครพอจะมีกำลังก็ควรมีเครื่องฟอกอากาศไว้ในบ้านกันด้วยนะคะ มาเช็กฝุ่นละทำความสะอาดกันเนื่องจากในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา อากาศค่อนข่างเย็นจึงทำให้ภายในบ้านอาจจะไม่ค่อยได้เปิดเครื่องปรับอากาศกันบ่อยนัก เครื่องกรองจึงยังไม่ค่อยมีฝุ่น แต่เปิดพัดลมกันตลอดทั้งวัน ซึ่งมีตาข่ายคลุมไว้ เมื่อลองไปตรวจสอบพบว่าแล้วว่าตาข่ายคลุมพัดลมสีเริ่มคล้ำ จึงถอดออกเพื่อนำไปซัก จากนั้นจึงนำเอาตาข่ายออกจากพัดลมก็เอาไปแช่ในอ่างน้ำด้วยน้ำยาล้างจาน เปิดน้ำให้เต็มอ่าง แล้วทิ้งไว้เพียง 5 นาที ผลที่ออกมาก็พบว่า น้ำกลายเป็นสีดำหลังจากซักเรียบร้อยแล้วพบว่า ตาข่ายพัดลมขาวสะอาดเหมือนเดิม คาดว่าฝุ่นละอองภายในบ้านที่ไม่มีเครื่องกรองอากาศ มีมากผิดปกติ แม้กระทั่งฝุ่นที่พื้นไม้ ก็พบว่าหลังจากทำความสะอาดแล้ว ผ่านไปไม่นานก็จะมีฝุ่นกลับมาอีก นอกจากพัดลมแล้วในส่วนของเรื่องปรับอากาศก็ต้องคอยล้างด้วยนะคะ อย่างน้อยทุกๆ 3 เดือน ที่บ้านผู้เขียนพอจะมีช่างประจำบ้านอยู่ ก็เลยซื้อเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงมาทุกความสะอาดเบื้องต้น ด้วยตัวเอง ด้วยการหมั่นล้างตัวร้อน ที่อยู่นบ้าน เพราะตัวนั้นจะมีฝุ่นเกาะค่อนข้างมาก จะทำให้ระบายความร้อนไม่ได้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ใช้งานได้สะดวกมาก แค่เตรียมถังน้ำไว้ ค่อยๆ ฉีดล้างด้านหลัง แค่แป็บเดียว ก็สะอาดแอร์เย็นไว ไม่เปลืองไฟด้วยค่ะ ถ้าไม่มั่นใจเรียกผู้เชี่ยวชาญมาดูแลให้ดีกว่านะคะ ในส่วนแอร์ภายในบ้านก็นำเอาแผ่นกรองภายใน (แผ่นสีฟ้า) มาล้างบ่อยๆ หน่อยค่ะ ในส่วนนี้ถ้าไม่เชี่ยวชาญก็ยังไม่ควรนำเอาเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูบมาฉีดเองนะคะ เพราะเครื่องอาจจะเสียหายได้ จุดนี้จะมีวงจรไฟฟ้าต่างๆอยู่ค่ะ ล้างแค่แผ่นกรองก็เพียงพอแล้วค่ะ บอกเลยว่าหลังจากที่เริ่มล้างแอร์ด้วยตัวเองบ่อยขึ้นก็รู้เลยว่า ภายในบ้านอากาศสะอาดขึ้นมาก เพราะคนในบ้านมีอาการภูมิแพ้ที่ลดลง จากปกติตื่นเช้ามาจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และนอกจากนั้นค่าไฟก็ลดลงด้วยค่ะเมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน (หลายร้อย) เพราะการที่ฝุ่นจับที่เครื่องปรับอากาศ จะทำให้ทำงานหนักขึ้น สิ่งที่อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง และหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ที่จะเก็บกักฝุ่น ต้องทำความสะอาดกันให้ดีด้วยนะคะ ภาพประกอบบทความโดย: ผู้เขียนภาพปก โดย Mario จาก Pixabay ภาพที่ 1 จากแอปพลิเคชัน IQAirอัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !