cr. unsplash การไปพบจิตแพทย์หรือการพาผู้ป่วยที่มีภาวะทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคแอลดี หรือ โรคสมาธิสั้น ที่ต้องหาหมอเฉพาะทาง เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยหายจากอาการและภาวะเหล่านั้นโดยเฉพาะ การไปพบจิตแพทย์หากเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลจะมีขั้นตอนที่เราจะขอแนะนำจากประสบการณ์ตรง cr. unsplash ขั้นตอน การไปพบจิตแพทย์ โรงพยาบาลรัฐบาล ค้นหาและเลือกโรงพยาบาลที่คุณสะดวกจากอินเตอร์เน็ตก่อน เพราะทุกแห่งจะมีเว็บไซด์หลัก มีเบอร์โทร และขอแนะนำว่าการรักษาโรคเฉพาะทางอย่างโรคซึมเศร้าหรือภาวะอื่น ๆ เลือกโรงพยาบาลรัฐจะประหยัดค่าใช้จ่าย แม้ว่าอาจจะต้องเสียเวลาสักนิด และควรเลือกพบแพทย์ในเวลาราชการ จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เพราะการรักษาอาการทางจิตเภทไม่ว่าจะภาวะไหนนั้น ถ้าเป็นนอกเวลา หรือ โรงพยาบาลเอกชน จะเสียเงินเยอะเพราะ ค่าแพทย์จะคิดตามเวลาที่เข้าพบ เราประหยัดส่วนนั้นมาเสียค่ายาดีกว่า แต่หากใครพร้อมจ่ายหรือใช้สิทธิ์ได้ก็เลือกที่สะดวก เมื่อคุณเลือกโรงพยาบาลที่คุณคิดว่าสะดวกกับการเดินทาง ให้โทรไปติดต่อเช็คเวลาเปิดรับคนไข้ เพราะส่วนใหญ่แล้วการรักษาที่แผนกจิตเวชจะต้องจองคิวล่วงหน้า หรือ บางแห่งจะรับคนไข้ที่ไม่ได้จองคิววันละไม่เกิน 1 -3 รายและคุณจะต้องไปรับบัตรคิวให้ทันก่อน 7.00 นในวันราชการเท่านั้น เพราะการรักษาที่แผนกนี้ คนไข้แต่ละคนจะใช้เวลากับหมอค่อนข้างนานตามอาการแต่ละคน ขอแนะนำให้โทรเช็คขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียด การจองนัดล่วงหน้า ทำบัตรล่วงหน้า บางแห่งทำออนไลน์ได้ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ไปตามเวลานัดเรื่องนี้สำคัญมากเพราะหากคุณหลุดคิวคุณจะต้องเสียเวลาเพราะคนไข้ค่อนข้างเยอะในแต่ละพยาบาลที่ดูแลนัดจะแทรกคิวให้คุณได้ลำบาก cr. unsplash ตอนที่โทรติดต่อแผนกจิตเวชนั้น จะต้องมีข้อมูลให้พร้อม หากมีการซักถามอาการผู้ป่วย ใช้ยาอะไร มีอาการอะไร ต้องแจ้งให้ครบหากผู้ป่วยมีอาการที่ไม่น่าวางใจ ทางพยาบาลที่ดูแลจะจัดคิวที่ให้เข้าพบหมอได้เร็วขึ้น หรือแนะนำการเข้ารักษาตามระบบที่อาจจะต้องไปแต่เช้าตรู่อย่างที่เกริ่นไว้ หากต้องรีบพบแพทย์ เมื่อถึงวันนัดให้ไปตามวันและเวลาที่คุณได้รับจากการติดต่อ และไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยไปคนเดียว และหากคุณเป็นคนที่ไปกับผู้ป่วยคุณจะต้องมีข้อมูลไว้สำหรับตอบคำถามหมอ แต่ละแห่งของโรงพยาบาลของรัฐนั้นคิวแน่นมาก ดังนั้นอาจรอนานก็ขอให้ทำใจและเข้าใจกันสักนิด ไปให้ได้ตามนัดหากไปไม่ได้ให้โทรเลื่อน อย่าปล่อยผ่านเพราะมันจะหมายถึงอาการของคนป่วยจะถูกละเลยไปด้วย cr. unsplash เพิ่มเติมท้ายเรื่อง ขั้นตอนการเลือกพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลจากประสบการณ์ผู้เขียน 1.เช็ครายชื่อ รพ.รัฐบาลที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าได้สะดวก 2.โทรติดต่อข้อขอมูลการเข้ารักษาเบื้องต้น เช็ควิธีการขั้นตอนในการทำบัตร ทำนัด เวลาที่เปิดรับคิว 3.เลือก ร.พ.จากที่ติดต่อสอบถามที่สามารถโทรจองคิว หรือ ทำบ้ตรผ่านระบบออนไลน์ได้สะดวก ( รพ.รามาธิบดี) หลังจากได้เลข HN หรือเลขประจำตัวคนไข้แล้ว ก็โทรติดต่อกับแผนกจิตเวชแ แจ้งอาการของคนไข้และขอทำนัด ที่เลือกแบบนี้เพราะไม่สะดวกที่จะต้องไปรอรับบัตรคิวตั้งแต่เช้ามืด เพราะคนป่วยยังไม่ยอมที่จะออกจากบ้าน หรือ ไปไหนที่ต้องเจอคนเยอะ ๆ และรอนาน ๆ สาเหตุที่เลือกรักษากับโรงพยาบาลรัฐบาล เป็นเพราะค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชนหลายเท่า แม้ว่าจะต้องเสียเวลาในการจองคิวครั้งแรก และรอคิวนานร่วมเดือน ส่วนเวลาที่ไปตามนัดอาจจะต้องเสียเวลารอคิวตรวจ แต่ค่ายาและค่ารักษาจะถูกกว่ามาก หากเทียบกับคลินิกนอกเวลาของโรงพยาบาลรัฐบาล หรือรักษา ที่โรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งคลินิกเฉพาะทาง หากในพบแพทย์ในเวลาราชการค่าตรวจปัจจุบัน 50 บาทไม่รวมเวชภัณฑ์อื่น ๆ (ค่าหมออย่างเดียว แต่จะมีการปรับราคาขึ้นเป็น 100 บาทในเดือนเมษายนสำหรับโรงพยาบาลรามาธิบดี) ส่วนค่าตรวจนอกเวลาให้โทรสอบถามราคาที่แน่นอนอีกครั้ง โรงพยาบาเอกชน และ คลีนิคเฉพาะทางจิตเวช ค่าตรวจจะเริ่มต้นที่ 600 บาทซึ่งก่อนจะพาคนป่วยไปยังโรงพยาบาลนั้น ในเบื้องต้นได้ปรึกษาหมอที่คลินิกเฉพาะทาง ค่ายาค่ารักษาแต่ละสัปดาห์นั้นตกประมาณ 1,500 ถึง 2,000 บาท บทความที่เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่ผู้เขียนจัดทำเป็นตอน ๆ เพื่อแนะนำข้อมูลประสบการณ์เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักโรคนี้มากขึ้น 1.โรคซึมเศร้า กับการดูแลที่ต้องอาศัยความเข้าใจ 2.ก่อนจะรู้ว่า เขาเป็นโรคซึมเศร้า