10โรคกับสมุนไพรไทย เชื่อว่าคนไทยได้นำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ในการรักษาโรคมาตั้งแต่โบราณ โดยนำพืช สัตว์ แร่ธาตุ มาใช้ทำเป็นยาตามภูมิปัญญาโบราณ เพื่อบำบัดโรค ใช้บำรุงร่างกายและขับสารพิษออกจากร่างกาย เราจะเล่าให้เพื่อนฟังกันว่า 10โรคที่ว่า ต้องใช้สมุนไพรมีอะไรบ้าง เราเคยมีประสบการณ์ในตอนเด็กๆ เวลาไม่สบายคุณยายก็จะให้สมุนไพรตามบ้านรักษาอาการตามที่เราเป็น เวลาที่คุณยายรู้สึกไม่สบายก็จะใช้สมุนไพรพวกนี้ในการรักษา ในบ้านจะมีทั้งพืชสมุนไพรและผักเลยคะเช่น มะกรูด มะนาว ใบบัวบก ขิง ข่า ผักคราด ว่านหางจระเข้ เป็นต้น วันนี้ขอยกตัวอย่างอาการที่เราพบจะกันบ่อยละกันค่ะ แก้ปวดศีรษะ ให้ใช้หญ้าไทร ประมาณ 1 กำมือและต้นกะเม็ง ประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาดและนำมาต้มใส่น้ำเปล่า โดยใส่น้ำประมานครึ่งหม้อต่อการต้มหนึ่งครั้ง ต้มให้เดือด ประมาน 5-10 นาที หม้อนึงสามารถกินได้ 3 ครั้ง หากยังมีอาการก็ต้มกินอีกก็ได้โดยการต้มหนึ่งครั้งจะกินได้แค่ประมาณ 3ครั้งเท่านั้น ตอนเด็กๆก็กินลองกินแล้วก็ช่วยได้นะคะ ไม่ปวดศีรษะมากและค่อยๆทุเลาลงแก้ไอเรื้อรัง ให้นำขิงสด1หัวมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำขิงแล้วนำมาผสมนำผึ้งในอัตราน้ำขิง 2 น้ำผึ้ง 1 จากนั้นนำส่วนผสมทั้งสองอย่างต้มในน้ำร้อนในเดือด ประมาณ 5-10 นาทีเป็นอันเสร็จ พักไว้ให้นำขิงเย็นหรือทานตอนอุ่นๆก็ได้ เราจิบแทนน้ำคะ กินตอนอุ่นๆชุ่มคอมากๆเลยทำให้ลดอาการไอให้ไอได้น้อยลง ไม่คันคอ ไม่ค่อยมีเสมหะแก้ปวดฟัน ใช้กากของใบชาที่แล้วนำมาอมก็ได้หรือนำละมุดมา 1 ลูกใช้สำลีชุบเอายางที่ลูกละมุดป้ายตรงฟันที่ปวด,ใบกะเพราสดตำกับเกลือแล้วนำไปอุดตรงฟันที่ปวดก็ได้ ตอนเด็กๆโดยคุณยายดุประจำค่ะ ชอบปวดฟันแล้วไม่บอกคุณยายก็ใช้วิธีกับเราบ่อยๆแต่ก็ได้ผลนะ ลดอาการปวดได้ดี ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืดสามารถใช้ยาเส้นเผาให้ไหมเป็นเถ้าถ่านและนำยาเส้นละลายน้ำ แล้วทาลงไปบริเวณรอบๆสะดือประมาณครึ่งชั่วโมง ปวดท้องให้นำเอาปูนแดงมาพอประมาณเทใส่ในน้ำดื่มสะอาด 2 ช้อนโต๊ะ ใช้เปลือกมะกรูดฝานจากลูกสัก3-4ชิ้น บีบลงใส่น้ำปูนแดงที่เตรียมไว้ คนส่วนผสมให้เข้ากันแล้วนำเอาดื่ม ท้องเสีย ให้นำกล้วยที่กำลังใกล้จะสุกมาฝานบางๆแล้วนำไปปิ้งให้สุกกรอบ แล้วนำมากินขณะอุ่นๆครั้งละ 1-2 ลูกหรือนำใบฝรั่งมาสัก 15 ใบ ล้างให้สะอาดแล้วนำมาเคี้ยวในละเอียด กลืนแล้วค่อยกินน้ำตาม เราเห็นคุณยายชอบทำแบบนี้ประจำจนเราชินตาแทบจำได้ทุกขั้นตอนที่ทำเลยค่ะ เพราะคุณยายท้องอืดบ่อยๆเราก็นึกว่าแกเคี้ยวหมากที่ไหนได้เคี้ยวใบฝรั่ง แกบอกเวลาเคี้ยวอาจจะดูเฝื่อนๆคอ แต่จะรู้สึกเย็นสบายในท้องอาการก็จะทุเลาลงเหยียบตะปู ใช้ไม้ขีดไฟจุดไฟแล้วจี้ที่ปากแผล จะช่วยอาการปวดและอักเสบของแผล จากนั้นนำหอมแดงมาตำคั้นเอาน้ำมาดื่มสดเลยเลย ส่วนกากของหอมแดงให้นำไปพอกแผลเพื่อดูดพิษและป้องกันบาดทะยัก แสบร้อนเลยวิธีนี้เราเองเห็นแต่คุณยายทำตอนที่แกเหยียบตะปู ยิ่งตอนที่ใช้หอมแดงพอกแผลนะเรายิ่งไม่อยู่ดูเลย แต่คุณยายบอกว่าวิธีนี้ได้ผลพอสมควรอาจจะแสบเล็กน้อยแต่ห้ามเลือดได้อย่างดี ตาแดง ใช้น้ำมะพร้าวผสมกับน้ำตาลทรายแดงให้หวานๆ ดื่มวันละครั้งถ้ามีอาการจะค่อยๆทุเลาลง ปวดหู ก่อนอื่นล้างหูให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุก น้ำด่างทับทิม นำว่านหางจระเข้แก่ๆ 1 ใบตัดเอาปลายว่านแล้วบีบเมือกให้ไหลเข้าในช่องหูจนเต็ม ทิ้งไว้ประมาน 15 นาทีแล้วค่อยตะแครงหูเทออก ทำประจำวันละ 2-3 ครั้ง เราเคยมีอาการปวดหูตอนเด็กๆคุณยายก็จะใช้วิธีนี้กับเราบ่อยๆ ก็จะรู้สึกเย็นๆภายในหู ประมาณ2-3วันก็ดีขึ้นนะแผลสด แผลเน่าเปื่อยจากอุบัติเหตุเล็กๆน้อย ใช้น้ำปูนแดงที่คนแก่ใช้เคี้ยวหมาก1กำมือ น้ำมะพร้าว 2ช้อนโต๊ะ พิมเสน 1 หยิบผสมส่วนผสมทั้ง3อย่างให้เข้ากัน นำไปใส่ไว้ในขวดเพื่อนำมาทาแผล เราเป็นเด็กที่ดื้อพอสมควรคุณยายก็ใช้ปูนแดงนี้แหละทำแผลให้เราเบื้องต้น เพราะแกทำใส่ตะกร้าเล็กๆแกไว้เลย ฉุกเฉินก็ได้ใช้ตลอด เลือดออกตามไรฟัน นำถั่วเขียวมาต้มใส่น้ำตาลทรายแดง กินครั้งละ 1 ถ้วย วันละ 2-3ครั้ง อร่อยดีนะคะมีประโยชน์ด้วยเลือดออกตามไรฟันก็ลดน้อยลง แล้วก็หายแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ผักคราดหัวแหวน1กำมือตำใส่สารส้มในละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาดื่ม หรือใช้เปลือกหอยหลอดฝนใส่น้ำมะนาวพอประมาณทาบริเวณโดยแมลงกัด เวลาที่แมลงกัดเราก็จะชอบวิ่งมาบอกคุณยาย คุณยายก็ใช้ปลอกหอยหลักๆนี่ละทาให้เราเวลาที่หายาหม่องไม่เจอ จะรู้สึกเย็นๆหน่อยไม่คันด้วย แผลที่โดนกัดก็จะได้ไม่แดง ทั้งนี้ข้อมูลทั้งหมดอาจจะช่วยบรรเทาที่ท่านเป็นอยู่ได้พอประมาณ คุณยายเป็นคนที่ไร่คนสวน มีสมุนไพรใกล้ตัวที่รักษาได้ก็จะรักษาไปก่อน บางวิธีอาจจะไม่ได้ผลมากก็น้อย ก็ช่วยทำให้เรามีอาการไม่เยอะไม่รุนแรงได้ แต่สำหรับตัวเราแล้วได้ลองวิธีต่างๆที่ว่ามาก็ถือว่าได้ผลพอสมควร แล้วเราได้รู้จักพืชสมุนไพรรอบๆตัวเราว่ามีประโยชน์มากน้อยเพียงไหนด้วย เผื่อว่าเพื่อนๆอยากลองใช้วิธีที่เราว่ามาก็ได้นะ แพทย์แผนไทยที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันหรือถ้าใครมีอาการต่างๆหรือเป็นนาน เรื้อรัง ก็แนะนำให้ไปพบแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อทำการรักษานะคะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสืออภิชาติการพิมพ์ มหาสารคาม(ตำราสมุนไพรแพทย์แผนไทย)ภาพปกเครดิต canva เครื่องเทศต่าง ๆ ใกล้ชามเซรามิกสีขาว โดย Mareefe จาก Pexelsภาพประกอบ ภาพที่1โดยNataliya Vaitkevich,ภาพที่2โดยÖmer Yılmaz,ภาพที่3โดยKarolina Grabowska,ภาพที่4โดยSutee Vichapornเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !