สวัสดีเพื่อนๆชาวเพจครุ่นคิด...จากที่ได้ฟัง Podcast อยากจะแชร์ความรู้ออกมาเป็นบทความ...ครั้งนี้เป็น EP.3 เรามาพูดกันต่อในเรื่องของโรคซึมเศร้า.... (อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ ) จาก Ep. ที่ผ่านมา ทำให้เรารู้จักกับโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น ...แต่ก็ยังมีคำถามที่ค้างคาใจ ว่า ถ้าเป็นซึมเศร้าแล้วจะหายไหม ต้องกินยาตลอดไปนานแค่ไหน เมื่อฉันเป็นหนักมาก จะโดนช็อตไฟฟ้าไหม ไปหาหาหมอแล้วจะรักษาอย่างไร คำถามเหล่านี้ หลายคนต้องอยากรู้หมอหลิว อ.นพ.สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข จิตแพทย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล่าไว้ใน รายการ RE-mind พูดถึงเรื่อง การรักษาโรคซึมเศร้า เมื่อไปหาหมอแล้วเนี่ย จะเป็นยังไง เราจะได้เรียนรู้ไปด้วยกัน.....เมื่อคนในครอบครัวป่วย...แล้ว เราจะดูแลได้อย่างไร....ในฐานะผู้ใกล้ชิด สิ่งแรกที่ควรทำคือการปรับทัศนคติก่อนเมื่อเราเองเป็นซึมเศร้า หรืออยู่กับผู้ป่วยที่เป็นซึมเศร้า เมื่อจะไปหาหมอ แล้วเริ่มระแวงสงสัยกับสังคมรอบข้างว่า ถ้าเราไปหาหมอ รักษากับจิตแพทย์ แล้วผู้คนจะหาว่าเราเป็นคนบ้าไหม...ซึ่งคำพูดและความรู้สึกว่า ผู้ป่วยจิตเวชคือ คนบ้า เป็นทัศนติแบบผิดๆ ที่อยู่ในทุกสังคมบนโลก จึงทำให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการปฏิบัติบางอย่างที่ไม่เป็นธรรม เพราะความเชื่อแบบนี้....จึงอยากให้ปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ว่า โรคจิตเวชเป็นโรค เป็นอาการเจ็บป่วย อันมีสาเหตุมาจากความเครียด ก็เหมือนเราป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคไข้หวัด...เราก็ต้องไปหาหมอเมื่อไปโรงพยาบาลจิตเวชในโรงพยาบาลจิตเวช ก็จะมีหน่วยตรวจโรคทางจิตใจเพื่อคัดกรองผู้ป่วย เพราะคนที่ไปก็ไม่มีใครรู้ว่าเป็นผู้ป่วยทางจิตเวชจนกว่าจะได้รับการวินิจฉัยและยืนยันจากจิตแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วย แล้วป่วยถึงระดับไหน ก่อนที่จะเข้าถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไปจากประการณ์การเมื่อเราเคยเป็นญาติผู้ป่วย พาคนไปโรงพยาบาลจิตเวช ก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด ก็ไม่ได้เป็นแบบที่ในภาพยนตร์นำเสนอ ให้เราเกิดภาพที่เข้าใจผิด....ก็เหมือนกับที่เราไปโรงพยาบาลทั่วไปตอนป่วยเป็นไข้หวัดเลย แล้วหมอจะรักษาอย่างไร?เมื่อไปหาหมอ หลังจากที่ ลงทะเบียน ชั่งน้ำหนัก วัดความดันกันไปแล้ว....คุณหมอ(จิตแพทย์) ก็จะซักประวัติชวนคุยกันถามเรื่องต่างๆ กับคนไข้ ถามว่าชีวิตที่ผ่านมาเป็นอย่างไร..อาการเป็นอย่างไร..ชวนให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องให้หมอฟัง ( สัมภาษณ์ทางจิตเวช ) ....ในขณะเดียวกันหมอก็จะใช้จิตวิทยา พูดคุย ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจ แล้วอยากที่จะได้รับการดูแลรักษาที่ดีขึ้น...จนส่วนสุดท้าย หมอจะบอกว่าคุณเป็นอะไร...ถ้าเป็นโรคซึมเศร้า... ก็จะบอกว่าแล้วจะดูแลรักษาอย่างไรต่อไปการรักษาโรคซึมเศร้า แบ่งเป็น 2 วิธี เป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอก1.การรักษาด้วยการใช้ยาโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องของสารเคมีในสมองหรือสารสื่อประสาทที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นยาที่ให้ไป คือยาที่เรียกว่า ยาต้านเศร้า Antidepressant ซึ่งยานี้จะเข้าไปปรับสารเคมีในสมองให้สมดุลเป็นปกติ หรือบางทีมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เกิดหูแว่ว ประสาทหลอน ก็จะเพิ่มยากลุ่มต้านอาการทางจิต Antipsychotic ซึ่งยาเหล่านี้จะต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ ( จิตแพทย์ ) เท่านั้น เนื่องจากยามีผลข้างเคียงที่ส่งผลรุนแรงได้แตกต่างกันไป จะผลดีหรือร้าย แพทย์ผู้รักษาจะทำการติดตามผลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นผู้ที่เป็นญาติผู้ป่วย ก็ควรสังเกตถ้าทานยาแล้วมีปัญหาควรรีบบอกหมอผู้รักษา....ซึ่งการให้ยา หมอก็จะให้ยาไปกินที่บ้าน แล้วนัดมาตรวจอีกครั้ง ช่วงแรกประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อดูอาการและผลข้างเคียง เนื่องจากยาจิตเวชหลัก หลายๆตัว ไม่ได้ออกฤทธิ์เร็ว ต้องใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ กว่าตัวยาจะคงที่ในกระแสเลือด จึงจะออกฤทธิ์รักษาโรค...นอกจากนี้ เมื่อผู้ป่วยกินยาต่อเนื่องไปนานๆ ประมาณ 6-12 เดือน (ถ้าเป็นครั้งแรก)จนครบแล้ว อาการดีขึ้น สภาวะทางอารมณ์ดีขึ้น ตอบสนองต่อปัจจัยที่เกิดภาวะซึมเศร้าได้ดีขึ้น...แพทย์ก็จะวินิจฉัยตรวจอาการอีกครั้ง ก่อนที่จะสั่งหยุดจ่ายยาทั้งนี้ระยะเวลาของการกินยาและหยุดกินยา ก็ขึ้นอยู่กับอาการและจำนวนครั้งที่เป็นโรคของผู้ป่วยแต่ล่ะบุคคลไป2.การรักษาทางด้านจิตใจการรักษาทางด้านจิตใจ โดยรวมแล้วมักจะมีทีมงานเป็นสหวิชาชีพ ได้แก่ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาลจิตเวช เข้ามาช่วยกันรักษา ตามแต่ละขั้นตอน บางขั้นตอนก็เป็นการพูดคุยให้คำปรึกษา...ถัดมาก็เป็นขั้นตอนของการทำจิตบำบัด… สำหรับการทำจิตบำบัดที่มีหลักฐานทางวิชาการว่าสัมพันธ์กับการรักษาโรคซึมเศร้าได้ เช่นการทำจิตบำบัดเพื่อปรับความคิดและพฤติกรรม ( Cognitive behavioral therapy : CBT ) วิธีการทำ CBT ปัจจุบันกำลังเป็นที่พูดถึงกันมากในวงการจิตเวช...มีหลักการอยู่ โดยเชื่อว่า มนุษย์เราเวลาที่แสดงพฤติกรรมอะไรอกมาบางอย่าง จะเกี่ยวข้องกับรูปแบบความคิดหรือรูปแบบความเชื่อของคน ๆ นั้น แล้วสัมพันธ์กับเรื่องอารมณ์หรืออาการทางกายบางอย่าง....ซึ่งจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักจิตบำบัด....จะมีโครงสร้างของการบำบัดที่ชัดเจนว่าจะต้องทำกี่ครั้ง และวางแนวทางการบำบัด เป้าหมายว่าผู้ป่วยจะต้องทำอะไร ในแต่ล่ะขั้นตอนนอกจากนี้ก็เป็น จิตบำบัดปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือว่า จิตบำบัดเชิงลึกที่เข้าใจเรื่องที่มาที่ไปของของคนๆนั้น หรือบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับครอบครัวโดยรวมรอบข้าง ก็ต้องเป็นจิตบำบัดแบบครอบครัวในการบำบัดทั้งหมดที่กล่าวมา จิตแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย และแนะนำ ให้คำปรึกษา ว่าเหมาะสมกับผู้ป่วยหรือไม่.....ส่วนการเข้าทำการบำบัด ก็ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยและญาติ ว่าจะทำหรือไม่ทำ....ผู้ป่วยมีสิทธิ์เลือกเองการรักษาแบบ 2 วิธีที่ว่าไปข้างต้น เป็นการรักษาซึมเศร้าแบบที่ผู้ป่วยอาการยังไม่รุนแรงมาก...สำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าที่อาการรุนแรงมาก ก็จะต้องพักอยู่โรงพยาบาลรักษาแบบผู้ป่วยใน เพื่อได้รับการรักษาที่ละเอียดมากขึ้น เช่น การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าเพื่อปรับคลื่นสมอง อย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วยจิตเวช ต้องค่อยเป็นค่อยไป และใช้เวลาเป็นไปตามแต่ละขั้นตอน ตามอาการ ตั้งแต่เบา ไปหาหนัก การรักษาก็เข้มข้นขึ้นไปเรื่อย ๆ และมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากประสบการณ์แล้ว……ตอนที่ตัดสินใจพาญาติไปพบจิตแพทย์ ได้รักษาโรคซึมเศร้าทั้งแบบกินยา และการใช้กิจกรรมบำบัด…… ตอนนั้นเขาร้องไห้ทุกวัน…มันผิดปกติ หมอบอกว่ายังที่โชคดีที่เขายังกินอาหารได้อยู่ ไม่ถึงกับซึมเศร้ามากจน อดอาหาร……หมอซักประวัติชวนคุย แล้วก็บอกกับเราที่เป็นญาติว่า ให้คอยดูแลการกินยาอย่าให้ขาด…กินยาต่อเนื่อง จำได้ว่าเค้ากิน ไป 7 เดือน และก็คอยชวนเค้าไปทำกิจกรรมบ่อยๆทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่นชวนดูหนัง ฟังเพลง และชงกาแฟสดแบบดริฟ นอกจากนี้ก็ชวนไปเดินเล่นสวนสาธารณะ ตอนเช้า ตอนเย็น ให้เห็นพระอาทิตย์ ขึ้น-ตก ……อันนี้หมอแนะนำว่า แสงแดดช่วยบำบัดได้……สรุปใช้เวลารักษาไป 8 เดือนกว่าๆ สามเดือนแรกหมอนัดทุกสามสัปดาห์ แล้วก็ห่างเป็นสองเดือนครั้ง……ตอนนี้อาการเค้าหายแล้ว ดีกว่าเดิม ใช้ชีวิตได้ปกติอ่านมาถึงช่วงท้ายแล้ว เป็นอย่างไรกันบ้าง... รู้จักกับวิธีรักษาโรคซึมเศร้ากันแล้ว ก็พอที่จะปรับทัศนคติที่มีต่อโรคจิตเวชให้เข้าใจได้ดีกว่าเดิม และพร้อมที่จะสังเกตอาการตัวเรา หรือคนรอบข้างที่สงสัยจะเป็นโรคซึมเศร้าให้รีบตัดสินใจไปตรวจคัดกรองโรคและการรักษาโรคซึมเศร้า กับจิตแพทย์ หรือไปโรงพยาบาลจิตเวช จะได้รักษาให้ทันเวลา เพื่อสุขภาวะทางจิตใจของเราและคนรอบข้าง...... EP.นี้เราได้รู้จักวิธีรักษากันแล้ว....EP.หน้าเราจะมาทำความรู้จักกับการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (หลังจากที่ไปโรงพยาบาลจิตเวช รับยามากินที่บ้านแล้ว) เราจะปฏิบัติต่อผู้ป่วยซึมเศร้าอย่างไร...เอาไว้ครั้งหน้าจะมาเล่าต่อ...ขอลาไปก่อน ขอให้ทุกคนโชคดี มีความสุขภาพปกทำเองจากเว็บไซต์ canva.comหน้าปก โดย pressfoto จาก freepik.comภาพที่ 1 โดย pressfoto จาก freepik.comภาพที่ 2 โดย benzoix จาก freepik.comภาพที่ 3 โดย jcomp จาก freepik.comภาพที่ 4 โดย prostooleh จาก freepik.comเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !