ที่มาของภาพ https://pixabay.com/th/ ที่มาของภาพ https://pixabay.com/th/หลายคนคงเคยได้ยินว่า “อย่ากินน้ำตาลเยอะนะ ระวังจะเป็นเบาหวาน” กันมามากมาย แล้วมันจริงหรือเปล่า? คนที่เป็นเบาหวานแน่นอนว่าจะต้องงดอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูงอยู่แล้ว แต่คนปกติอย่างเราๆ นั้นต้องกังวลจนงดดื่มงดรับประทานของหวานน้ำหวานกันเลยมั้ย? ก่อนจะไปถึงการกินน้ำตาล ขอเกริ่นถึงโรคเบาหวานให้เข้าใจเสียก่อนว่าโรคเบาหวานนั้นเกิดจาอะไร ย้อนไปสมันเรียนหนังสือ ในวิชาชีววิทยา อวัยวะที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลินที่เป็นฮอร์โมนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ผลิตที่ตับอ่อน เมื่อเรารับประทานอาหาร อาหารจะถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็ก เช่น กลูโคส กรดอะมิโน และอื่นๆ หลังจากย่อยแล้วก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำพาสารอาหารเหล่านี้ไปยังเซลล์ต่างๆ กลูโคส หรือ น้ำตาล จะเข้าสู่เซลล์ได้จะอาศัยการกระตุ้นโดย ฮอร์โมนอินซูลิน ช่วยนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ต่างๆของร่างกาย นำไปสร้างพลังงานให้เราทำงานได้ เดินได้ ทำกิจกรรมต่างๆได้ฮอร์โมนอินซูลิน จะเป็นตัวควบคุมปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด เช่นหลังกินข้าวน้ำตาลในเลือดสูง อินซูลินก็จะหลั่งมามาก เพื่อช่วยนำน้ำตาลเข้าเซลล์ ลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้เป็นปกติ เมื่อเราทำงานไปซักพัก ระดับน้ำตาลถูกใช้ไปมาก ก็จะลดลงจนส่งสัญญาณไปยังร่างกายว่าขอเติมน้ำตาลที นั่นก็ทำให้เรารู้สึกอยากกิน หรือหิวนั่นเอง แต่โรคเบาหวานนั้นเกิดจากที่เซลล์ของร่างกายไม่สามารถดูดเอากลูโคส หรือน้ำตาลเข้าไปใช้เพื่อสร้างพลังงานได้ ทำให้น้ำตาลยังอยู่ในกระแสเลือดในปริมาณที่สูงมากยิ่งขึ้น จนส่งผลเสียต่างๆของร่างกายค่ะ โรคเบาหวานแบ่งเป็น 2 ชนิด โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอรโมนอินซูลินได้ อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ , ยาหรือสารเคมีบางชนิด , โรคทางภูมิคุ้มกัน , การบาดเจ็บ การผ่าตัด หรือสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ออกมาได้ ส่งผลกระทบต่อเซลล์ต่างๆ ที่ไม่มีฮอร์โมนอินซูลินช่วยในการนำกลูโคส หรือน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจึงสูง เรามักพบโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ในเด็กและวัยรุ่น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "เบาหวานในเด็ก" ที่มาของภาพ https://pixabay.com/th/โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากเซลล์ต่างๆ ของร่างกายไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นของฮอร์โมนอินซูลิน ทั้งที่ตับอ่อนยังสามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เป็นปกติ ผลก็คือระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น เซลล์ของร่างกายจึงขาดพลังงาน งานวิจัยหลายๆ งานพบว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวเกิดมาตรฐาน มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารพลังงานสูงต่อเนื่อง และขาดการออกกำลังกาย 95%ของผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นเป็นชนิดที่ 2 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานจากการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตของตัวเอง คนในกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักชอบรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูง อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูงดัชนีน้ำตาลคืออะไร ดัชนีน้ำตาลคือ หน่วยวัดผลของความเร็วสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่จะถูกย่อยกลายเป็นกลูโคส เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ยิ่งย่อยสลายเป็นน้ำตาลในเลือดเร็วก็จะมีค่าดัชนีน้ำตาลสูง เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาวมีงานวิจัยพบว่า ยิ่งการย่อยของคาร์โบไฮเดรตและการดูดซึมน้ำตาลช้า จะยิ่งส่งผลดีต่อตับอ่อน และการตอบสนองต่ออินซูลินมากยิ่งขึ้น และ ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของเราเปลี่ยนแปลงน้อย หรือคงที่นั่นเอง เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ลองจินตนาการ ข้าวขาว 1 จานที่เรารับประทานเข้าไป จะถูกย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสในทันที และถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดโดยทันทีเป็นปริมาณมาก และรวดเร็ว เรียกว่ามีค่าดัชนีน้ำตาลสูง มันม่วงที่มีกากใยสูง เมื่อถูกย่อยก็จะกลายเป็นน้ำตาลกลูโคส แต่ในปริมาณน้ำหนักที่เท่ากับข้าวขาว 1 จานนั้น เมื่อเทียบกับมันม่วงที่มีปริมาณที่เท่ากัน มันม่วงมีกากใยที่มาก ดังนั้นการย่อย มันม่วงจึงให้ระดับน้ำตาลที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่สูงอย่างรวดเร็วเหมือนข้าวขาว เรียกว่า มีดัชนีน้ำตาลต่ำ ที่มาของภาพ จากผู้เขียน ที่มาของภาพ https://pixabay.com/th/ดังนั้นคนปกติอย่างเราๆนั้น 1 ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำหวาน น้ำอัดลม เพราะน้ำตาลปริมาณเข้าสู่กระแสเลือดโดยทันที ทำให้ตับอ่อนต้องเร่งผลิตอินซูลินอย่างหนักมาเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ หากรับประทานทุกวันมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานมากขึ้น2 ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง อย่างที่ได้ยกตัวอย่างไป ข้าวขาว หรือขนมปังขาว ลดความถี่ของการกินขนมหวานลง อาจจะเหลือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ให้หัวใจได้เติมความหวานให้ร่างกายได้รับน้ำตาลบ้างไม่เป็นไรค่ะ3 เพิ่มการกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนมากขึ้น จะได้กากใยมากขึ้น เลือกที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ4 ควบคุมน้ำหนักให้เป็นปกติ ไม่อ้วนไม่เกินเกณฑ์จนเกินไป 5 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพียง 5 ข้อ ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคเบาหวานได้ และมีสุขภาพดียิ่งขึ้น ร่างกายยังต้องการความหวานของน้ำตาลแต่ แค่ลดความถี่ลง เท่านี้ก็สามารถมีความสุขกับการกินขนมหวาน และไม่รู้สึกผิดต่อสุขภาพค่ะ เครดิตภาพ :https://pixabay.com/th/ และ http://oknation.nationtv.tv/blog/health2you/2017/06/26/entry-1