ความทรงจำมีทั้งดีและร้าย ความพิเศษของเหตุการณ์จะช่วยให้เราจำมันได้ดีและติดตรึงอยู่ในใจ แต่น่าเสียดายที่สมองไม่ได้เก็บเพียงความทรงจำดีๆ แต่เจ้าความทรงจำร้ายๆก็ถูกเก็บ แช่แข็งเอาไว้ในส่วนลึกของจิตใจด้วย.. เมื่อมีบางสิ่งมากระตุ้นทำให้ความทรงจำร้ายๆ เด้งขึ้นมา มันทำให้เรากังวล กลัว เศร้า เครียด โกรธและโทษตัวเอง จนความทรงจำนั้นมันคอยหลอกหลอน ส่งผลต่อพฤติกรรม ความคิด และชีวิตประจำวัน .. ผู้เขียนเองก็มีบาดแผลทางใจในอดีตเมื่อตอนอายุ 13 มันส่งผลให้ผู้เขียนป่วยเป็น Social Anxiety หรือ วิตกกังวลต่อการเข้าสังคม ซึ่งผู้เขียนคิดเสมอว่ามันคือกรรมตามสนอง มันสมควรแล้วที่เราป่วย... จากการแอดมิทที่วอร์ดจิตเวช ผู้เขียนได้ทำจิตบำบัด 2 อย่าง อย่างแรกนั้นคือ sand tray Therapy ซึ่งทำเพียงครั้งเดียวจึงจำรายละเอียดได้ไม่มากแค่หวังว่าจะได้มาเขียนเรื่องนี้ในอนาคต โดยมันเป็นการถ่ายทอดบาดแผลทางใจผ่านตัวละคร ฟิกเกอร์ในกระบะทรายและอย่างที่สองคือ Eye Movement Desensitization and Reprocessing หรือ เจ้า EMDR ซึ่งหลังจากได้รับการบำบัดความทรงจำที่เป็นบาดแผลทางใจไม่ได้ลบหายไปแต่อย่างใด แต่ผลกระทบทางลบจากเหตุการณ์นั้นจะหายไป ไม่สร้างความรบกวนต่อชีวิตประจำวันอีกต่อไปขอขอบคุณรูปภาพโดยคุณ PublicDomainPictures จาก Pixbay.com EMDR Therapy เหมาะกับใครบ้าง??-ผู้ป่วย PTSD หรือ Post-Traumatic Stress Disorder ภาวะป่วยทางจิตเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรง-ผู้ป่วยวิตกกังวล-ผู้ป่วยซึมเศร้า-ผู้ป่วยแพนิค-ผู้ที่มีประสบการณ์ที่เป็นบาดแผลทางจิตใจ... เป็นต้นขอขอบคุณรูปภาพโดยคุณ TukTukDesign จาก Pixbay.comขอขอบคุณรูปภาพโดยคุณ geralt จาก Pixabay.com EMDR มีขั้นตอนอย่างไร?..ผู้เขียนจะขอพูดในมุมมองผู้เข้ารับทำการจิตบำบัดจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองขอขอบคุณรูปภาพโดยคุณ Peggy_Marco จาก Pixabay.comอย่างแรก :: สร้างความมั่นคงทางจิตใจ ผ่อนคลาย โดยอาจารย์หมอได้ให้ผู้เขียนจินตนาการถึง safe place ที่ๆ เราอยู่แล้วรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจและปลอดภัยจากความรู้สึกอันตราย อาจารย์หมอจะให้เราจำความรู้สึกนี้ไว้ตลอดการทำบำบัดอย่างที่สอง :: ทบทวนบาดแผลทางใจ อาจารย์ให้ผู้เขียนนึกถึงเหตุการณ์นั้นแล้วถามว่าตอนนี้รู้สึกยังไง? อาการทางกายเป็นอย่างไรบ้าง? จากนั้น อาจารย์ก็จะให้นึกถึง safe place อีกครั้งเพื่อผ่อนคลายและให้เราคิดแง่บวกเกี่ยวกับกับเหตุการณ์นั้นออกมาสักข้อสองข้ออย่างที่สาม :: อาจารย์จะชู 2 นิ้วในระดับตา และเคลื่อนไหวซ้าย-ขวาโดยไม่ช้าและเร็วไป พร้อมให้เรากลอกตามองตามนิ้วนั้นอย่างที่สี่ :: ทำเพียงไม่กี่นาที อาจารย์ก็จะถามว่ารู้สึกอย่างไร พร้อมย้ำเตือนให้เราคิดถึงแง่บวกที่เราคิดขึ้นมา แน่นอนว่าร่างกายต้องอยู่ในสภาวะ safe place คือผ่อนคลายนั่นเอง โดยจะวนทำแบบนี้เหมือนเป็น session ไม่แน่ใจว่ากี่ครั้งอย่างที่ห้า :: รวมเวลาทำแล้วอยู่ที่ชั่วโมงกว่าๆ อาจารย์จะให้ผู้เขียนทบทวนและจำความรู้สึกตลอดการทำบำบัดและหลังทำไว้ ก่อนจะนัดทำสัปดาห์ต่อไป ผู้เขียนทำมาทั้งหมด 4 ครั้ง พูดเลยว่าตอนทำครั้งแรกมีแต่ความเกร็งและความอึดอัด เราพยายามคิดแง่บวกแต่ความรู้สึกแย่จะคอยแทรกมาเป็นพักๆ แต่พอทำไปเรื่อยๆ ก็จะปรับตัวได้และผ่อนคลายได้เองจริงๆ อาจารย์หมอได้นัดทำต่อที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก แต่ด้วยเวลาที่ตรวจกับจิตแพทย์ช่วงเช้า-สาย แต่ทำจิตบำบัดช่วงบ่าย ด้วยความไม่อยากอยู่รพ.นานและขี้เกียจรอจึงไม่ได้ทำต่อเนื่อง...แต่การทำเพียง4ครั้ง ความคิดลบเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นก็ถือว่าจางลงไปมากทีเดียว ทุกวันนี้เมื่อย้อนกลับไปคิดไปมองเหตุการณ์นั้นจะรู้สึกว่ามันเป็นเพียงประสบการณ์หนึ่งในชีวิตเท่านั้น ต่างจากแต่ก่อนที่ทันทีที่คิดถึงจะมีความรู้สึกลบตามมาเป็นพรวนแน่นอนว่าไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่องแม้มันได้ผลดีก็ตาม ทำให้อาการ Social Anxiety ไม่หายขาด เมื่อมีสิ่งมากระตุ้นหนักมากจริงๆ ก็จะรู้สึกแย่กับเหตุการณ์นั้นได้เหมือนกัน..นี่เป็นหนึ่งในความรู้และประสบการณ์ของผู้เขียนที่อยากนำมาแบ่งปันค่ะ ขอบคุณที่อ่านถึงตรงนี้ค่ะ💜💜💜💜💜ขอขอบคุณรูปภาพปกโดยคุณ Engin_Akyurt จาก Pixabay.com