ฝากไว้คิดดูโดย คนมองโลก ลูกเขาก็คือไม่ไช่ลูกของเรา ลูกเราก็คือลูกของเรา จริงหรือไม่ที่คนที่เป็นพ่อเป็นแม่มักมีสองมาตรฐานในการประเมินหรือตัดสินพฤติกรรมและการกระทำของลูกตัวเอง(ลูกเรา)กับลูกคนอื่น(ลูกเขา)แตกต่างกัน ช่องว่างของสองมาตรฐานนี้อาจเป็นผลสืบเนื่องจากความรักของพ่อแม่ เมื่อรักลูก สิ่งใดที่ลูกกระทำถ้าเป็นสิ่งที่ดีระดับดีธรรมดาในความรู้สึกของคนอื่นแต่ในความรู้สึกของพ่อแม่แล้ว สิ่งดีระดับธรรมดาก็กลายเป็นดีมากถึงดีที่สุด และ หากสิ่งที่ลูกกระทำเป็นความผิดพลาด พ่อแม่ก็มักมองว่าไม่เป็นไร ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ให้อภัยได้ ขณะเดียวกันหากสังเกตพฤติกรรมของคนหลายๆคนที่แสดงออกต่อผู้ที่มิใช่ลูกของตัวเอง(ลูกเขา) กลับพบว่าพวกเขามีท่าทีของการจับผิด หรือมองเห็นแต่ปัญหาและข้อด้อยของลูกเขา ความผิดพลาดบางอย่างของลูกเขาแม้เพียงเล็กน้อยก็กลายเป็นเรื่องมองข้ามไม่ได้ ให้อภัยไม่ได้ หากทำดีก็แทบจะไม่ยอมเอ่ยคำชมหรือให้กำลังใจ พฤติกรรมและการกระทำเหล่านี้อาจเป็นช่องว่างเล็กๆและค่อยๆถ่างขยายใหญ่ขึ้นจนอาจทำให้เกิดความห่างเหิน เห็นแก่ตัว และแตกแยกในสังคมซึ่งเป็นเรื่องที่เราควรนำมาทบทวนเพื่อลดช่องว่าง จะทำให้สังคมของเราเป็นสังคมที่ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีน้ำใจและน่าอยู่ วัตถุประสงค์ของผู้เขียนบทความนี้มิได้ต้องการให้เราท่านทั้งหลายรักและดูแลลูกคนอื่นเท่าลูกตัวเองซึ่งเป็นไปได้ยาก ผู้เขียนเพียงแต่อยากวิงวอนให้เราต่างแบ่งปันความรัก เอ็นดู ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่ลูกของเรา เปิดใจ เปิดตามองเห็นความงามในหัวใจของลูกเขา ให้อภัยหากพวกเขาผิดพลาด ให้โอกาสเท่าที่สมควรจะให้ หากเราต่างก้ปฎิบัติเช่น การบูลลี่ หรือการใช้กำลังทำร้ายกันในสังคมอาจลดน้อยลงเพราะลูกเขาลูกเรามีตัวอย่างที่ดี ได้รับการปฏิบัติที่อบอุ่น สังคมแห่งรอยยิ้มคงกลับมาอีกครั้ง ขอขอบคุณภาพสวยๆน่ารักๆที่ทำให้บทความนี้ดูดีค่ะเครดิตภาพ1.) ภาพหน้าปก จาก Tyler Nix / unsplash2.) ภาพครอบครัว จาก Ioann-Mark Kuznietsov / unsplash3.)ภาพพ่อแม่ลูก จาก Boston Public Library / unsplash4.) ภาพก้าวข้ามช่องว่าง จาก Sammie Chaffin / unsplash5.ภาพเด็กๆ จาก Yannis H / unsplashเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !