ถั่วพู ผักพื้นบ้านที่คนไทยอย่างเราต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเจอได้บ่อยมากตามร้านอาหารที่มีผักเคียงให้ทาน หาซื้อได้ง่ายตามตลาดนัดทั่วไป หรือบางบ้านปลูกไว้ทานเองเสียด้วยซ้ำ อย่างที่บ้านผู้เขียนเองก็มีปลูกติดบ้านไว้หลายต้นเลย พูดได้ว่าเก็บสดใหม่ ทานได้ทุกวันไม่มีเบื่อ ปลอดภัยไร้สารตกค้าง ประโยชน์ของถั่วพู ผักพื้นบ้านที่ประโยชน์ไม่บ้าน ถั่วพูนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายของเรามากมายกว่าที่เราคิด ผู้เขียนรวบรวมเอาประโยชน์ที่น่าสนใจมาฝากกันถั่วพูมีกากใย (Fiber) สูงมาก (ถั่วพู 100 กรัม ให้กากใย 25.9 กรัม เทียบกับแอปเปิล 300 กรัม ให้กากใยเพียง 6.15 กรัมเท่านั้น) ซึ่งกากใยตัวนี้จะช่วยให้เราอิ่มได้ไวและอิ่มนาน แถมยังขับถ่ายดีมากๆ ช่วงไหนที่ผู้เขียนขับถ่ายไม่ดี ก็จะจัดแจงเอาถั่วพูมากินเป็นผักเคียงกับน้ำพริก แกงส้มและแกงเผ็ดต่างๆ ทันทีค่ะ ควบคู่กับดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ วันถัดมาก็ขับถ่ายได้ตามปกติทันทีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง (ถั่วพู 100 กรัม มีแคลเซียม 5 mg. และฟอสฟอรัส 43 mg.) เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก ข้อต่อและฟัน โดยเฉพาะวัย 30+ ที่ร่างกายต้องการแคลเซียมมากๆ ปลูกติดบ้านเอาไว้ให้ผู้ใหญ่ในบ้านทานเป็นประจำ เพื่อช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงค่ะ มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) มีข้อมูลบ่งชี้ว่าถั่วพูมีสารป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อีกด้วย เห็นไหมคะว่าประโยชน์ของถั่วพู ผักพื้นบ้านที่เราเห็นอยู่บ่อยๆ มีสรรพคุณเยอะแยะมากมายเหลือเกิน เพราะฉะนั้นแล้วอย่ารอช้ารีบหาถั่วพูมากินกันเลย ผู้เขียนอาศัยอยู่ที่ต่างจังหวัด ห่างไกลตัวเมืองจึงมีที่สำหรับปลูกพืชพันธุ์ ผักสวนครัวอยู่ประมาณหนึ่งค่ะ ผู้ปลูกคือคุณแม่ อยากทานผักอะไรก็รีเควสไปได้ ใช้เวลารอสักเดือนกว่าๆ ก็จะเริ่มออกดอกผล มาไว้ทานกันเองในบ้านแบบสดใหม่ ไร้กังวลเรื่องสารเคมีไปเลยวิธีปลูกที่ก็ง่ายมากค่ะ ก่อนจะปลูกก็นำเมล็ดที่ซื้อมาแช่น้ำทิ้งไว้สัก 1 คืนก่อน ส่วนดินที่เตรียมก็ซื้อดินสำหรับปลูกต้นไม้มาเลย นำมาพรวนผสมกับดินเดิมของที่บ้าน จากนั้นเอาเมล็ดมาหย่อนไว้สัก 3-4 หลุม ในระยะห่างๆ กันหน่อย จากนั้นคอยรดน้ำเป็นประจำทุกเช้า-เย็น พอต้นอ่อนเริ่มแตกใบออกมาก็สบายใจได้แล้ว เนื่องจากถั่วพูเป็นไม้เลื้อย ให้เอาพวกไม้ หรือตาข่ายมาขึงไว้ใกล้ๆ ให้ต้นของเขาได้เลื้อย ตัวใบจะได้รับแสงได้ง่าย ออกดอกและผลสวย แถมเวลาเก็บมาทานก็เก็บง่ายขึ้นด้วยค่ะ ของที่บ้านจะเอาก้านไม้ไผ่ ที่มีกิ่งย่อยเยอะๆ มาใช้ปักปลูกไปได้เดือนกว่าๆ ถั่วพูก็จะเริ่มติดดอกค่ะ ผ่านไปอีกไม่กี่สัปดาห์ก็จะเริ่มทยอยออกฝักมาในที่สุด หลังจากนั้นก็จะมีถั่วพูให้ทานไปได้ทุกวันเป็นเดือนๆ เลยค่ะ ส่วนการบำรุงก็ง่ายมาก ถ้ามีแมลงมารบกวนให้ใช้น้ำส้มควันไม้ ผสมน้ำเปล่า แล้วใช้ฉีดทุก 7-14 วัน บำรุงต้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ (ที่บ้านจะใช้เป็นมูลวัวค่ะ) หมั่นรดน้ำเช้า-เย็น ต้นถั่วพูปลูกง่าย ดูแลง่าย โตไว และไม่ค่อยมีโรคค่ะเก็บผักรอบบ้านมาทานสดๆ มีให้เลือกทานได้ทุกวันเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นถั่วพู มะเขือยาว มะเขือเปราะ เมนูที่ทำทานบ่อยๆ เลยจะเป็นแกงส้มผักรวมค่ะ ใส่ทั้งมะเขือเปราะและถั่วพู หรือเอาถั่วพูไปลวก แล้วจิ้มกินกับน้ำพริกกะปิ หรือจะนำไปทำเมนูยำถั่วพู ใส่กุ้งลวก และมะพร้าวคั่วก็อร่อยมากๆ ตัวผู้เขียนเองช่วงไหนที่คุมอาหาร ลดน้ำหนักก็จะเน้นทานผักเยอะๆ ที่ทานเป็นประจำเลยก็มีถั่วพู มะเขือเปราะ แตงกวา เพราะผักเหล่านี้มีแคลอรีน้อย มีใยอาหารและน้ำเยอะ ช่วยให้เราอิ่มไวและอิ่มได้นาน แถมยังช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายของเราให้เป็นปกติอีกด้วย เห็นไหมคะว่า "ถั่วพู" ผักพื้นบ้าน ที่ประโยชน์ไม่บ้านตามตัวเลย เพื่อนๆ อย่าลืมหาถั่วพูติดบ้านไว้ทานกันเป็นประจำนะคะ จะหาซื้อตามตลาดก็ไม่ยาก หรือจะปลูกไว้ทานเองเลยก็ง่ายสุดๆ ภาพปกความ โดย siwaporn999 จาก canva แต่งเพิ่มด้วย photopeaภาพประกอบเนื้อหา : ภาพที่ 1 โดย siwaporn999 จาก canva / ภาพที่ 2-7 โดย ผู้เขียนแหล่งที่มาของข้อมูลถั่วพู, Medthaiถั่วพู ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค, ทัตพร อิสสรโชติ ถั่วพู ผักริมรั้วคู่ครัวไทย มีประโยชน์มากกว่าพืชตระกูลถั่วด้วยกัน พร้อม เคล็ดลับ…ที่น่าสนใจ, Toomtam *STAR COVER"อย่ามัวแต่ดูมาดังกัน"*ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ขอชวนทุกคนมาสนุกโคฟเวอร์ พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท (5 รางวัล) โคฟคนที่ใช่ ไลค์คนที่ชอบ`ร่วมสนุกได้ที่ ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ห้อง cover บนแอปทรูไอดี`คลิกเลย >> https://ttid.co/UAnK/7y9jfqkqอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3O1cmUQร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2565 - วันที่ 11 สิงหาคม 2565