ชาว True ID คุณไม่จำเป็นต้องรอให้แก่ก่อนแล้วค่อยเป็น เราจะบอกเอาไว้ว่ากลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ก็คือกลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งต้องทำงานในสภาวะที่กดดันอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีโอกาส เป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนที่อยู่ในช่วงวัย ซึ่งเป็นสถิติที่ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ แต่ว่าโรคนี้จะมีการรับมือยังไง ทางเราก็จะขอนำทางพาทุกคนไปรู้จักกับเขากันถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันเลยhttps://bit.ly/31IgVN3รู้จักกับโรคอัลไซเมอร์โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อม ซึ่งก็ถูกพบในปี พ.ศ. 2449 โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า ...โรกนี้เลยถูกตั้งชื่อตามผู้ที่คิดค้นและที่สำคัญโรคอัลไซเมอร์นี้ ถ้าใครเป็นแล้วขอบอกว่ายากที่จะรักษาให้หาย พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่มีทางรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติได้เลยซึ่งดู ๆ ไปแล้วเป็นโรคที่น่ากลัวมากอีกโรคสำหรับคนทำงานปกติแล้วโรคอัลไซเมอร์นี่จะเจอในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป แต่ในคนที่มีอายุน้อยก็สามารถที่จะเกิดขึ้นได้แต่อาจมีโอกาสเสี่ยง ที่จะเกิดโรคนี้น้อยกว่าผู้สูงอายุ และมีการประมาณคร่าว ๆ ว่าในปี พ.ศ. 2593 คนทั่วโลกจะมีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าถ้าเปรียบกับปี พ.ศ.2549 ที่คนทั่วโลกเป็นโรคนี้ถึง 26.6 ล้านคน การวินิจฉัยการเกิดโรคอัลไซเมอร์นั้นเป็นเรื่องยากเพราะว่าระยะเวลาของการเกิดโรคนั้น มีความหลากหลายและมีช่วงเวลาที่ไม่แสดงอาการอย่างชัดเจนเมื่อตรวจพบภายหลังว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์แล้วโดยเฉลี่ยผู้ป่วยโรคนี้จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 7 ปีและผู้ป่วยน้อยรายคิดเป็นร้อยละ 3 ที่จะมีชีวิตอยู่ได้เกิน 14 ปี https://bit.ly/37jIpd0ถ้าคุณเป็นคนที่มีความเครียดสะสม, พักผ่อนไม่เพียงพอ, รับประทานอาหารไม่ถูกหลัก, ขาดการฝึกฝนสมองในการคิดทางสร้างสรรค์, มีประวัติเป็นโรคสมองเสื่อม และ พันธุกรรมของครอบครัวมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้https://bit.ly/2UFsJ0Xระยะของอาการโรคอัลไซเมอร์ระยะก่อนสมองเสื่อมเกิดความเครียดหลงลืมเกี่ยวกับความจำเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่สมองเสื่อมระยะที่ 1ภาษาที่ใช้พูดเปลี่ยนไป, เริ่มหลงลืมกิจวัตรประจำวันของตัวเอง, การเคลื่อนไหวเปลี่ยนไปสมองเสื่อมระยะที่ 2ไม่สามารถที่จะทำกิจกรรม ตามปกติเหมือนที่เคยนึกคำเพื่อใช้พูดและสื่อสารไม่ได้, ใช้กับในการพูดผิดไป, การจดจำเริ่มหายไป, พฤติกรรมเริ่มเปลี่ยนไปและ ไม่อยากเจอใครสมองเสื่อมระยะสุดท้ายระยะสุดท้ายนี้ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะดูแลตัวเองไม่ได้ต้องมีคนคอยดูแลช่วยเหลือในทุกเรื่อง, เหมือนกับเด็กทารก, พูดไม่ได้, เขียนไม่ได้, อ่านไม่ได้, มีอารมณ์ที่รุนแรง, มีอาการอ่อนเพลีย, เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้, ต้องนอนนิ่งอยู่กับที่, รับประทานอาหารเองไม่ได้, และเสียชีวิตในที่สุดด้วยโรคแทรกซ้อน เป็นเพราะอาการของแผลกดทับและโรคปอดบวมเป็นโรคอัลไซเมอร์แล้วทำไงดีจนถึงปัจจุบันนี้โรคอัลไซเมอร์ก็ยังคงไม่มีอะไรรักษาให้หายขาดได้ จะมีก็เพียงการให้ยาเพื่อชะลอหรือบรรเทาอาการของโลกไม่ให้รุนแรง 3 วิธีหลักของการ รักษา1. การรักษาด้วยยา2. การรักษาทางจิตสังคม3. การดูแลอย่างใกล้ชิดhttps://bit.ly/2tL1kj9ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตถ้าคุณเองไม่อยากเป็นโรค สมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ลดความเครียดให้น้อยลง, พักผ่อนร่างกาย ให้เพียงพอ, รับประทานอาหารที่ดี, ไม่รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด, ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง, ลดการดื่มกาแฟ, ควบคุมน้ำหนักของตัวเอง, เลิกสูบบุหรี่, เลิกดื่มสุรา, นั่งสมาธิ และ หมั่นใช้สมองในการคิดเกี่ยวกับตัวเลขhttps://bit.ly/2tMG0tLสารอาหารบรรเทาป้องกันโรคอัลไซเมอร์สารอาหารที่จะช่วยบรรเทาอาการโรคอัลไซเมอร์สำหรับคนทำงานที่ต้องเจอกับอาการนี้อาหารที่มีวิตามินบี 1 ส้ม มันฝรั่งต้ม ไข่แดง conflexhttps://bit.ly/37dExdpอาหารที่มีวิตามินบี 12เป็ด เนื้อหมู ไข่https://bit.ly/39pNthmอาหารที่มีวิตามินซีมะละกอ ฝรั่ง พริกหวานเขียว ส้ม คะน้า กะหล่ำดอก มะนาวอาหารที่มี วิตามินอีเมล็ดทานตะวัน ถั่วอัลมอนด์ มันเทศ น้ำมันเมล็ดทานตะวันอาหารที่มีโคลีนไข่แดง เครื่องในสัตว์ จมูกข้าว ถั่วแห้งสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมอง และช่วยเพิ่มความจำให้ดีขึ้น แถมช่วยในการบำรุงและปกป้องสมองhttps://bit.ly/2UHmfyT ทางเราก็เชื่อนะคะว่าคุณเองก็คงไม่อยากที่จะมีความจำหรือสมองที่ถดถอยหรือเสื่อมสภาพไป แน่นอนว่ามันคงเป็นเรื่องที่เศร้ามาก ๆ ถ้าเกิดวันหนึ่งจำอะไรไม่ได้เหมือนที่เคย อารมณ์ที่เปลี่ยนไปหรือไม่ต้องการใคร สิ่งที่แย่ที่สุดคงไม่ใช่ตัวเรา อาจเป็นคนรอบข้าง เพื่อนวัยเด็ก พี่น้อง พ่อแม่ กับภาพความทรงจำที่ยังไงติดตาว่าคุณเคยทำให้พวกเขามีความสุข จู่ ๆ กลับเป็นสิ่งที่ย้อนกลับมาใหม่ไม่ได้ ทางที่ดีเราว่าคุณหมั่นดูแลสุขภาพของตัวเอง เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ฝึกให้ร่างกายได้ทำกิจกรรม หรือพบปะเพื่อน ๆ วิธีนี้ก็ช่วยให้คุณมีความสุขและสุขใจ สุขภาพจิตที่ดีขึ้นด้วย ชื่นชอบบทความนี้อย่าลืมกดLike เป็นกำลังใจให้กันเพื่อนำเสนอบทความต่อ ๆ ไปด้วยนะคะ