คุณเคยสงสัยหรือไม่ ทำไมบางครั้งตื่นมาแล้วไม่สดชื่น หรือนอนเยอะแล้วก็ยังง่วง หรือบางวันอาจจะหงุดหงิดง่ายทั้งๆที่ก็ไม่ใช่วันนั้นของเดือนสำหรับคุณผู้หญิง หากเรื่องเหล่านี้ท่านผู้อ่านเจอบ่อยๆในชีวิตประจำวัน บางทีบทความนี้อาจเป็นคำตอบและเป็นประโยชน์ต่อคุณพอสมควรเลยล่ะ Chapter I : จุดเริ่มต้นของปัญหาเหล่านี้ ภาพจาก : geralt / Pixabay แน่นอนครับว่าทุกเรื่องจะต้องมีจุดเริ่มต้นเสมอ และสำหรับผมเองจะเรียกจุดเริ่มต้นว่าแรงผลักดัน(Passion) ซึ่งในบทความนี้จุดเริ่มต้นนั้นได้เกิดมาจากความต้องการในการแก้ไขปัญหาที่ผมพบเจอในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ อารมณ์หงุดหงิดง่าย, ความอดทนต่ำ, ไม่มีแรงในการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคมปี พ.ศ.2564 โดยช่วงแรกนั้นผมไม่ทราบเลยว่าปัญหาเหล่านี้มันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และอย่างไร โดยผมจมอยู่กับสิ่งเหล่านี้เป็นเวลาราวๆ 2-3 เดือน(ถึงประมาณเดือนมีนาคม) โดยผมสังเกตุตัวเองมาเรื่อยๆ จึงรู้ว่าปัญหาเหล่านี้เพิ่งจะเกิดขึ้นบ่อยๆและถี่มากช่วงที่มีการอยู่บ้านในช่วงโควิด-19 จนก่อนจะพบสาเหตุ บางทีผมก็คิดว่าอาจจะเพราะทานข้าวไม่พอหรือไม่ตรงเวลา แต่ลองแก้มาสักพักก็ไม่ประสบผลสำเร็จ สุดท้ายแล้วจึงลองมาปรับเวลานอนให้เป็นกิจวัตร โดยนอน 22.00 ตื่น 06.00 เป็นเวลา 1 สัปดาห์ พบว่า การควบคุมอารมณ์ต่างๆผมดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้น และแรงผลักดันในการปรับเวลานอนของผมนั่นเอง Chapter II : การลองผิดลองถูกในการปรับเวลานอนแบบไม่จริงจัง ภาพจาก : JerzyGorecki / Pixabay หลังจากที่ผมพบวิธีแก้ปัญหาได้นั้น ผมก็ยังไม่สามารถทำให้เป็นกิจวัตรได้ เลยทำให้ปัญหาเหล่านั้นยังไม่หมดไป กล่าวคือ ในบางวันผมไม่สามารถทำให้ตัวเองนอนเวลา 22.00 หรือใกล้เคียงได้ เนื่องจากสาเหตุหลักคือไม่ง่วงและทำให้ไปทำกิจกรรมอื่นจนดึกดื่น เช่น เล่นเกม อ่านหนังสือ ดูซีรีส์ เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้ทำให้ผมนอนดึกขึ้นเรื่อยๆ และเรื่อยๆ จนกระทั่งมันไม่ใช่การนอนดึกแล้ว!! แต่มันคือการนอนเช้า! ทำให้ผมต้องลองพยายามกลับมานอนตามเวลาเดิม โดยแรกๆผมพยายามนอนให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ แต่ผลลัพธ์ก็คือผมไม่สามารถทำได้ แถมยังเครียดอีกต่างหาก ด้วยเหตุนี้จึงคิดว่า ไหนๆก็ทำให้นอนเร็วไม่ได้แล้ว แล้วยังจะดึกกว่าเดิมอีก ถ้างั้นให้มันดึกให้สุดเลยละกัน ผมเลยตัดสินใจอดนอน 1 วัน เพื่อไปนอนเวลา 22.00 ตามที่ผมต้องการในวันถัดไป(555555) Chapter III : ผลกระทบจากการที่แก้ไขปัญหาแบบไม่จริงจัง ภาพจาก : mohamed_hassan / Pixabay และแน่นอนแต่ยังไม่นอนนะครับ(555) การที่ผมใช้วิธีที่ได้กล่าวไปใน Chapter II นั้น ทำให้ผมกลับมานอนเวลาเดิมได้ตามปกติ แต่ แต่ แต่!!! มันก็ยังนอนดึกขึ้นเรื่อยๆเหมือนเดิม(T T) โดยผมติดอยู่ในลูปนี้ราวๆ 5 เดือน!!! ด้วยความที่มันเป็นวิธีที่ง่าย และอะไรที่ได้มาง่ายๆเราก็จะเสียมันไปโดยง่ายเช่นกัน(ร้องไห้ T T) ผมเลยใช้วิธีเดิมครั้งแล้วครั้งเล่า ในช่วงเวลาที่ใกล้กัน จนมีช่วงหนึ่งผมจำได้เลยว่าผมที่ 1 ผมนอน 22.00 ตื่น 06.00, วันที่ 2 ผมนอน 01.00 ตื่น 9-10 โมงเช้า, วันที่ 3 ผมนอน 05.00 ตื่นราวๆเที่ยง โดยผมนอนดึกขึ้นในมุกวันจนช่วงนั้นผมเคยนอนมาแล้วทุกช่วงเวลา แม้กระทั้งนอนบ่าย(55555) จนมีช่วงหนึ่งที่ผมเข้าเรียนแม้กระทั่งคาบบ่ายไม่ทัน ซึ่งรวมไปถึงวิชาที่ทำให้ผมมาสถิตอยู่ในแพลตฟอร์มนี้(555) ซึ่งทำให้ผมเกือบจะต้องถอนรายวิชานี้ไปแล้ว(T T) แต่นี่ยังไม่ถึงส่วนที่แย่ที่สุดนะครับคุณผู้อ่าน เพราะสิ่งที่เลวร้ายที่สุดนั้นก็คือ "ผมความจำสั้น" ลงเยอะมาก เรียกได้ว่าเป็น "อัลไซเมอร์" ขั้นแรกๆได้เลยครับ (โดยจะพูดถึงการทดลองหนึ่งในส่วนท้ายที่ให้คนอดนอนเป็นระยะเวลาหนึ่ง) โดยกว่าจะรู้ตัวว่ามีอาการนี้ก็เร็วๆนี้เลยครับ คือช่วงเดือนกันยายน(เดือนที่ผ่านมา) ซึ่งนอกจากจะทำให้ความจำไม่ดีแล้วเนี่ย ยังทำให้ผมเบลอและคิดอะไรไม่ค่อยออก และที่แย่เลยคือ บางทีคิดไม่ออกแม้กระทั่งไม่รู้ว่าจะพูดอะไร ซึ่งช่วงนั้นคำพูดผมจะดูแปลกๆไปเลย โดยผมทราบเพราะว่าเริ่มสังเกตุว่าเพื่อนๆบางทีเริ่มไม่โอเคกับคำพูดผมไปบ้าง จึงทำให้ผมเกิด Passion อย่างแรงกล้า และเริ่มได้สติ และตั้งใจจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง!! Chapter IV : เริ่มมีสติและลองแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ภาพจาก : bartekhdd / Pixabay หลังจากที่ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนตัวเองอย่างจริงจัง ผมจึงลองศึกษาวิธีการที่ช่วยให้ร่างกายพักผ่อนตามเวลาที่ผมต้องการ เช่น ก่อนถึงเวลานอน 2 ชม. จะงดแสงสีฟ้า เช่น งดเล่นมือถือ เกม, ตัดใจจากเพื่อนที่ชวนเล่นเกมให้ได้(ปัญหาใหญ่เลย555) ก่อนหน้านี้ใน Chapter III ทำไม่ได้เลยทำให้นอนเลทขึ้นทุกวัน แต่ตอนนี้มี Passion แล้ว!! ;) โดยแต่ละคนอาจจะได้ผลไม่ได้ผลแตกต่างกันไป(โดยบทความนี้จะยังไม่ขอพูดถึงวิธีการทำให้หลับง่าย) ด้วยความที่ผมมีเป้าหมาย ที่มาพร้อมกับความต้องการที่รุนแรงและชัดเจน ทำให้ผมสามารถทำสิ่งที่ยกตัวอย่างมาอย่างง่ายดาย เนื่องจากผมมองว่าการนอนให้เป็นเวลานั้นสำคัญกับตัวผมมาก Chapter V : บทสรุปและประโยชน์ที่ได้รับ รูปของนักเขียนเอง ;) และแล้วก็มาถึงบทสรุปของการเดินทางอันยาวนานนนน แต่ก็ไม่กล้าพูดว่าสำเร็จซะทีเดียว เพราะแน่นอนว่าต่อจากนี้ก็คงไม่ได้ราบรื่นตลอดไปนัก อาจจะมีเถลไถลบ้าง ก็ค่อยๆแก้ไขต่อไป แต่ผมก็มั่นใจว่ามันจะดีขึ้นกว่าเดิมมาก เพราะครั้งนี้ Chapter V ผมมี Passion เต็มเปี่ยม มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหานี้ ซึ่งแน่นอนว่าแม้ว่าจะมีวิธีที่ดีขนาดไหน หรือเครื่องมืออะไร แต่หากผมหรือคุณผู้อ่านไม่มี Passion และให้ความสำคัญกับมันแล้ว สุดท้ายก็จะไม่สามารถทำมันได้สำเร็จดังเช่น Chapter I - IV ที่ผ่านมา โดยในบทสรุปนี้ หลังจากที่ผมได้ทำการนอนให้เป็นเวลามาเกือบ 1 เดือน ทำให้ผมรู้สึกสดชื่น มีแรงและมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ผมกลับมาควบคุมอารมณ์และความคิดของผมให้อยู่ในระดับที่สมดุลและเป็นมาตรฐานสำหรับตัวผมเอง ตอนนี้ ผมภูมิใจในตัวเองและมีความสุขมากครับ รู้สึกเป็นตัวเองเวอร์ชันที่ชอบได้แล้ว และผมหวังว่าบทความนี้อาจจะสร้าง Passion เล็กๆในการปรับเวลานอนตามที่คุณต้องการครับ <3 <3 ว่าด้วยเรื่องการทดลองและวิทยาศาสตร์ : เนื่องด้วยผมก็ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ หรือเคยทำการทดลองในเชิงวิทยาศาสตร์ จึงขออ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และสุขภาพจากโรงพยาบาลกรุงเทพตราด(แล้วสรุปกรุงเทพหรือตราด? ได้อีกหนึ่งมุข555) (https://www.bth.co.th/th/news-health-th/item/294-insomnia.html) โดยในเนื้อความระบุคร่าวๆว่า มีแพทย์และนักจิตวิทยาได้ร่วมมือกันทำการทดลองเกี่ยวกับการที่คนอดนอน โดยระบุว่า ในระยะสั้นจะทำให้ อารมณ์มีสภาวะเบี่ยงเบน ไม่สามารถรับรู้พลังบวกของผู้อื่น(แต่ถ้าพลังอยากบวกช่วง Chapter I ผมรับรู้ได้นะ555) และที่สำคัญ มีความอดทนต่อความผิดหวังน้อยลงอย่างมาก!!! เอ๊ะ! นี่มันตรงกับผมในช่วง Chapter I เลยนี่นา และที่น่ากลัวที่สุดในบทความนี้ก็คือ หากอาการรุนแรงและมีการอดนอนเรื้อรัง(เห้ยย นี้มันผมตอน Chapter III เลยนี่นา) จะทำให้มีอาการ "สับสนฉับพลัน" หรือ "เพ้อ" (เดลิเรียม) และจะเกิดอาการที่ผมพบเจอตอน Chapter III คือ "อาการสูญเสียความจำหรืออินซอมเนีย" ที่ตอนนั้นผมคิดว่าเป็นอัลไซเมอร์ไปแล้ว(55555) โดยคุณผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลกรุงเทพตราด(แล้วจริงๆคือกรุงเทพหรือตราดกันนะ? ยังจะแวะอีก555) หรือข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองมากมายในอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามขอให้ใช้วิจารณญาณให้มาก สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ขอสรุปว่า การอดนอนและการนอนไม่เป็นเวลานั้น จะส่งผลเสียทั้งระยะสั้นและระยะยาวดังที่กล่าวไป ทั้งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และประสบการณ์ตรงที่ไม่มีการปรุงแต่ง โดยขอยืนยันนั่งยันด้วยเกียรติของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ว่าเป็นความจริง สุดท้ายและท้ายที่สุด ผมจะไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้เลย หากขาด Passion โดยไม่ใช่แค่เรื่องนี้ แต่ในทุกๆเรื่อง หากคุณผู้อ่านมีความตั้งใจอย่างแรงกล้า และให้ความสำคัญกับมันมากพอ ผมเชื่อว่าคุณสามารถทำทุกอย่างที่อยากทำได้สำเร็จ ขอบคุณครับ <3 <3 เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !