ปัจจุบันนี้พืชสมุนไพรแต่ละชนิดเริ่มหายากและลดน้อยลง อีกทั้งคนทั่วไปรู้จักพืชสมุนไพรไม่มากนัก ทำให้พืชสมุนไพรเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูง การให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรนั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยอนุรักษณ์พืชสมุนไพร อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้พืชสมุนไพรเป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย จริงอยู่ว่าถึงแม้ว่าเราจะใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาโรคเป็นหลัก แต่พืชสมุนไพรก็มีคุณค่าและความสำคัญอยู่ไม่น้อย เพราะโรคร้ายแรงหลายชนิด ก็จำเป็นต้นใช้สมุนไพรเป็นส่วนผสมในตัวยาที่ใช้รักษาผู้เขียนจึงมีความตั้งใจในการนำข้อมูลความเกี่ยวกับพืชสมุนไพร ที่พอมีความรู้มาทั้งจากคำบอกเล่าและประสบการณ์จริง มาบอกให้ถึงลักษณะและสรรพคุณของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด อันหวังว่าจะทำให้พืชสมุนไพรเหล่านี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น พืชสมุนไพรที่จะนำมาบอกเล่าในบทความนี้มีชื่อว่า “พิมเสนต้น” พืชสมุนไพรที่มีความเก่าแก่นิยมใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ได้ไม่น้อยเลยทีเดียวภาพถ่ายโดยผู้เขียนลักษณะของ “พิมเสนต้น” จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกพุ่มเตี้ย ลำต้นแข็งเหนียวเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งสาขาออกเป็นพุ่มที่ปลายยอด ลำต้นและกิ่งมีสีเขียว ต้นคดไปตามข้อกิ่งที่แตกออก ใบเป็นรูปรีแกมไข่ ปลายใบเป็นหลักแหลมไล่มาจนถึงโคนใบ โคนใบกว้างมน ขอบใบเป็นหยักคล้ายใบเลื่อย โค้งเว้าขนานกัน ดอกมีสีขาวอมม่วงออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีขนาดเล็กกลีบดอกบางช้ำง่าย เกสรดอกมีสีม่วงยาวออกมาจากกลางดอกภาพถ่ายโดยผู้เขียนสรรพคุณของ “พิมเสนต้น” แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับลมในกระเพาะและลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้รักษาอาการโรคผิวหนัง รักษาอาการน้ำกัดเท้า บำรุงตับและไต ช่วยฟอกเลือด สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายการนำ "พิมเสนต้น" มาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นไม่อยาก ครั้งหนึ่งเมื่อผู้เขียนเป็นเด็ก มีลูกชายของเพื่อนบ้านป่วยเป็นไข้สูง ปู่ของผู้เขียนได้นำ "พิมเสนต้น" มาใช้ปรุงยาดังนี้- นำราก ลำต้น มาสับเป็นท่อน ๆ เล็ก ๆ แล้วทุบให้พอแหลก ใส่ลงไปในหม้อต้มยา- ใส่ใบของ "พิมเสนต้น" ลงไปในหม้อต้มประมาณ 2 กำมือ- ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย แล้วต้มไว้ประมาณ 30 นาที- นำมาให้ผู้ป่วยดื่ม ครั้งละแก้ว 3-4 ชั่วโมงจะให้ดื่มหนึ่งครั้งจนกว่าไข้จะลด จะเห็นได้ว่าการนำพืชสมุนไพรมาใช้รักษาอาการต่าง ๆ นั้น มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพียงแต่ต้องมีความรู้ที่สามารถจำแนกได้ว่าควรใช้พืชสมุนไพรชนิดไหนรักษาอาการแบบได้ เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะทำให้ท่านผู้อ่านรู้จักพืชสมุนไพรมากขึ้น และหากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรชนิดอื่น ก็สามารถกดลิ้งค์เข้าไปเลือกอ่าน บทความเกี่ยวกับสมุนไพรของผู้เขียนได้ >>>ลิ้งบทความของ yorakannภาพถ่ายโดยผู้เขียน