จริงอยู่ที่คนเราประสบความสำเร็จได้ เพราะมี IQ (Intelligence Quotient) สูง จะมีโอกาสสำเร็จเร็วกว่าก็จริง แต่การจะประสบความสำเร็จให้ยั่งยืนและมีความสุข ก็ต้องอาศัย EQ (Emotional Quotient) ควบคู่ไปด้วย ต่อให้เรามีความรู้ความสามารถสูงแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ หรือยอมรับสถานะตนเองที่ต้องรับความกดดันจากเรื่องที่เกิดขึ้นจากบุคลากรในที่ทำงานไม่ได้ การเจริญก้าวหน้าในที่ทำงานก็ย่อมเกิดขึ้นได้ยาก การควบคุมอารมณ์ไม่ใช่แค่การวางตัวในที่ทำงาน แต่ยังรวมถึงการวางตัวในครอบครัวอีกด้วย เพราะเราอาจมองคนในครอบครัวว่าพวกเขาไม่กล้าโต้เถียงกลับ จึงทำให้เราไม่ใส่ใจหรือไม่เห็นใจคนในครอบครัวเท่าที่ควร ดังนั้น การควบคุมอารมณ์ด้วย EQ ที่ดีนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวแน่นแฟ้นขึ้น หนังสือเล่มนี้เขียนโดย ณรงค์วิทย์ แสนทอง จะมาแนะนำวิธีการต่างๆเพื่อช่วยให้เราควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นครับ สิ่งที่ประทับใจและได้เรียนรู้จากครีเอเตอร์ได้เรียนรู้ว่าอารมณ์เชิงลบ อารมณ์ร้ายสามารถถ่ายทอดให้ลูกได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เวลาที่พ่อแม่ใช้อารมณ์ ใช้กำลัง ลูกก็จดจำเลียนแบบพฤติกรรมนั้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นแผลใจที่เกิดจากพ่อแม่หรือคนในครอบครัว อันเป็นมรดกอันเลวร้ายที่เหนือความคาดหมาย ได้เรียนรู้ว่าจุดกำเนิดความโกรธ มาจากการรับรู้สิ่งกระตุ้น การปรุงแต่ง และพฤติกรรมการแสดงออกการรับรู้สิ่งกระตุ้น คือ สิ่งที่เข้ามากระทบ เช่น โดนหัวหน้าตำหนิ รถติดจราจรหนาแน่นสร้างความหงุดหงิดการปรุงแต่ง คือ จินตนาการของตัวเองที่มองว่าเหตุการณ์อาจเลวร้ายได้มากกว่านี้ ถ้าต้องเผชิญกับมัน เราจะทำอย่างไร ซึ่งถ้าเราหาทางออกไม่ได้ เราจะเครียดและโกรธง่ายมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดการแสดงออกทางสีหน้า แววตา อารมณ์ รวมเป็นพฤติกรรมการแสดงออก ทั้งนี้เราต้องค่อยๆลด ละ เลิก การปรุงแต่งทางอารมณ์ เป็นการควบคุมตัวเราเองแทนการควบคุมปัจจัยภายนอก เพื่ออย่างน้อยก็เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลงได้ ได้เรียนรู้ว่าวิธีการลดอารมณ์เกรี้ยวกราด (เชื้อเพลิงอารมณ์) ทำได้โดยการ …..1.การหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้เกิดอารมณ์เกรี้ยวกราดตามที่เราคิดไปเอง ไม่แน่ว่าตรรกะที่เราเข้าใจอาจไม่เป็นความจริงก็ได้2.พูดคุยกันให้รู้เรื่อง โดยหาคำแนะนำจากคนที่เกี่ยวข้องหรือคุยกับเจ้าตัวเลยก็ได้ ดีกว่าตีความเอาเองแล้วปัญหามันจะมากขึ้น ทั้งนี้เราต้องหยั่งเชิงและเข้าใจเขาด้วยว่าจะรับได้มั้ยกับสิ่งที่เราพูด3.จดบันทึกเรื่องที่ค้างคาใจ เพื่อที่ว่าเราจะได้เข้าใจตัวเองมากขึ้นว่าเรายังเคืองเรื่องอะไรอยู่ ได้เรียนรู้ว่าแหล่งกำจัดเชื้อเพลิงทางอารมณ์ มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น ระบายให้คนที่ไว้ใจฟัง และบางคนใช้วิธีการนั่งสมาธิ เป็นต้น ได้เรียนรู้ว่าคนที่เรามักจะเกิดอารมณ์โกรธ หงุดหงิด โมโหง่าย คือ คนที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะกับคนในครอบครัว ทั้งที่คนในครอบครัวมีผลในการเกื้อกูลกับตัวเรามากที่สุด ส่วนคนที่มักอภัยได้มากที่สุดกลับเป็นคนนอกบ้าน เพราะเราห่วงเรื่องมารยาทที่ต้องรักษาในการเข้าสังคม ถ้าเรายังรักคนในครอบครัวอยู่ เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ได้เรียนรู้ว่าเทคนิคการควบคุมอารมณ์อย่างหนึ่งที่ใช้ได้ผล คือ คิดว่าเขาเป็นคนสำคัญ เขาเป็นคนมีอิทธิพลอะไรสักอย่าง ฉะนั้น อย่าไปแสดงท่าทีโมโห ตะคอก หรือดุใส่ เพราะความก้าวร้าวใช่ว่าจะกำราบคู่กรณีได้ทุกครั้งเสมอไป บางครั้งคู่กรณีอาจเป็นญาติของแฟนเรา เป็นรองผู้อำนวยการของที่ทำงานที่เราเป็นพนักงานอยู่ หรืออาจมีทักษะทำร้ายร่างกายที่เราตอบโต้ไม่ได้จนทำให้เราบาดเจ็บสาหัสได้ ได้เรียนรู้ว่าถ้าใครมาต่อว่าเรา ให้เราสบตาไว้ แต่...ให้เอาใจไปคิดเรื่องอื่น เช่น เรื่องที่เราอยากทำ เย็นนี้จะดูหนังเรื่องอะไรดี สุดสัปดาห์จะไปร้านอาหารอร่อยๆที่ไหน ช่วงแรกๆของการระเบิดอารมณ์ของเขาจะมีแต่โทสะ เหตุผลมันจะตามมาทีหลัง การปรับใช้ในชีวิตจริงของครีเอเตอร์ในชีวิตประจำวันของครีเอเตอร์เองก็มีเรื่องให้ต้องควบคุมอารมณ์ ทว่าการจัดการกับอารมณ์ของตนเองนั้นไม่ได้มาจากการมี EQ ที่ดีเสมอไป แต่เป็นเพราะความกลัว กลัวว่าถ้าแสดงอารมณ์ไปแบบนั้นจะไม่มีใครรัก กลัวว่าถ้าแสดงความก้าวร้าวเวลาถูกใครต่อว่าในที่ทำงาน เราอาจถูกไล่ออก กลัวว่าถ้าเจอนักเลงหัวไม้พูดจาหยาบคายแล้วเราโกรธตอบ เขาอาจจะทำร้ายร่างกายเราได้ โดยที่เราไม่สามารถป้องกันตัวได้เพราะขาดทักษะการต่อสู้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ครีเอเตอร์รู้จักเปรียบเทียบว่าแท้จริงแล้วเราควบคุมอารมณ์ได้ เวลาเราโกรธคนในครอบครัว เราก็สามารถควบคุมตัวเองได้เหมาะสม แล้วค่อยๆหาทางพูดคุย เจรจาด้วยเหตุผล ให้ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย แม้ในสังคมไทยจะมีผู้นำที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่เป็นอยู่มากมาย ต้องมีอำนาจบารมีมากอย่างแท้จริงจึงไม่มีใครกล้าต่อว่า แต่ลึกๆแล้วเราทุกคนต่างก็รู้ดีอยู่ในใจว่าเขาคู่ควรกับตำแหน่งผู้นำหรือไม่ ในที่ทำงาน หรือองค์กรต่างๆนั้นก็มีผู้นำเจ้าอารมณ์ต่อลูกน้องก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่พวกเขากลับควบคุมอารมณ์ได้ดีเวลาอยู่ต่อหน้าสื่อ เพราะนั่นมีผลต่อหน้าที่การงานของผู้นำท่านนั้นโดยตรง ดังนั้น การควบคุมอารมณ์หรือมี EQ นั้นก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ มันไม่ใช่การบังคับตัวเองให้วางตัวอย่างเหมาะสม แต่เป็นการค่อยๆปรับตัวให้วางตัวเหมาะสมอย่างเป็นธรรมชาติ เครดิตภาพภาพปก โดย oatawa จาก freepik.comภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียนภาพที่ 3 โดย rawpixel.com จาก freepik.comภาพที่ 4 โดย diloka107 จาก freepik.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจรวมภาษิตอังกฤษ เป็นกำลังใจทุกความเจ็บปวดรีวิวหนังสือ วิชาแรก วิชาชีวิตรีวิวหนังสือ จงรักในความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเองรีวิวหนังสือ ตอบปัญหาวิชาใจรีวิวหนังสือ เปลี่ยนแผลเป็นพลัง (From Pain to Power)อยากผอมหุ่นดี อยากมีซิกแพค หาอินสปายลดน้ำหนัก เข้าร่วมด่วนที่ฟิตแอนด์เฟิร์มคอมมูนิตี้