สืบเนื่องจากวิกฤติน้ำกร่อย ส่งผลกระทบให้กับคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งบ้านของเราอยู่ในพื้นที่ประสบปัญหาน้ำกร่อยด้วยค่ะ (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง วิธีประหยัดน้ำ ในสถานการณ์ภัยแล้ง และน้ำเค็มรุกล้ำ) ทำให้เราค่อนข้างกังวลนะคะ เพราะที่บ้านมีเด็กอายุ 6 ขวบ ผู้สูงอายุ 74 ปี ซึ่งมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูง และแมวอีก 2 ตัว ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะโรคไต หากต้องดื่มน้ำกร่อยเป็นระยะเวลานานหลายเดือนกว่าที่จะถึงฤดูฝน ดังนั้น เราจึงไม่อาจนิ่งนอนใจได้ พยายามหาวิธีการป้องกัน เพื่อให้ทุกชีวิตในบ้านมีความปลอดภัยที่สุดในการบริโภคน้ำประปาค่ะอันดับแรก คือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่ม จากการดื่มน้ำกรองธรรมดา ต้องเปลี่ยนมาซื้อน้ำบรรจุขวดเพื่อดื่ม ชงนมลูก และหุงข้าว ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้นมา แต่จำเป็นต้องจ่าย เพื่อสุขภาพอนามัยของทุกคนในครอบครัวค่ะอันดับสอง คือ หาตัวช่วยในการวัดค่าความเค็มของน้ำในการอุปโภคบริโภค ซึ่งเราได้มีโอกาสดูรีวิวของเครื่องทดสอบคุณภาพน้ำ Xiaomi (เสียวหมี่) รุ่น Mi TDS Meter ซึ่งเราเองเป็นสาวกของ Xiaomi อยู่แล้ว จึงไม่ลังเลใจที่จะสั่งซื้อมาใช้วัดคุณภาพของน้ำ // Photo by sakooclub //เครื่อวัดตัวนี้มีชื่อเต็มว่า "Original Xiaomi MiJia Mi TDS Meter Tester Portable Detection Water Purity" สามารถหาซื้อได้จากเว็บไซต์ Shopee โดยร้านที่เราเลือกซื้อ เป็นร้านแนะนำของ Shopee จำหน่ายในราคา 189 บาท (ราคาถูกที่สุด) ค่าจัดส่งจากต่างประเทศ 30 บาท รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องวัดตัวนี้พร้อมค่าจัดส่งเพียง 219 บาท ระยะเวลาในการรอสินค้า 6 วัน ถือว่าไม่นานเมื่อเทียบกับคุณภาพที่ได้รับนะคะการใช้งานง่ายมาก เพราะทางร้านใส่ถ่านมาให้พร้อม จากนั้นกดปุ่มสี่เหลี่ยม TSD หน้าจอจะขึ้นข้อความ 0 ppm จากนั้นก็นำด้านปลายของเครื่องวัดไปจุ่มลงในน้ำที่เราต้องการวัดค่ะ แล้วตัวเลขบนหน้าจอจะเปลี่ยนไปตามคุณภาพของน้ำแต่แก้ว/ขวดที่เราทดสอบก่อนอื่นทำความเข้าใจกันก่อนว่าTDS ย่อมาจาก Total Dissolved Solid เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดค่าของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำ ซึ่งรวมถึงการวัดปริมาณของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ละลายอยู่ในนั้นด้วย ไม่ได้หมายถึงปริมาณของตะกอน หรือสิ่งสกปรกในน้ำ ppm ย่อมาจาก Parts-Per-Million เป็นหน่วยวัดปริมาณของของแข็งที่แขวนลอย หรือละลายอยู่ในน้ำ รวมถึงไอออน แร่ธาตุ หรือโลหะละลายต่าง ๆ โดยแสดงในหน่วยของมิลลิกรัมต่อหน่วยปริมาตรของน้ำ (มิลลิกรัม/ลิตร) ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้น้ำดื่มเพื่อการบริโภคทั่วไปมีค่าไม่เกิน 500 ppm นะคะกล่าวให้เข้าใจง่ายก็คือ เราใช้เครื่อง TDS ไปวัดค่า ppm ของน้ำ ซึ่งต้องไม่เกิน 500 ppm นั่นเองค่ะสำหรับเครื่อง Mi TDS Meter ได้กำหนดคุณภาพของน้ำไว้ดังนี้ค่ะ0 - 50 ppm - น้ำบริสุทธิ์สูง50 - 100 ppm - น้ำบริสุทธิ์เล็กน้อย100 - 300 ppm - น้ำธรรมดา300 - 600 ppm - น้ำมีสิ่งเจือปน600 - 1000 ppm - น้ำรสชาติแย่มากกว่า 1000 ppm - น้ำไม่เหมาะที่จะดื่มจากนั้นเราได้ทำการทดสอบน้ำดื่มจาก 4 แหล่ง ผลการทดสอบ ดังนี้ค่ะน้ำกรองระบบ RO วัดได้ 29 ppmน้ำกรองระบบ RO ที่ผ่านการต้ม (ยิ่งต้มยิ่งเค็ม) วัดได้ 52 ppmน้ำขวดยี่ห้อหนึ่ง วัดได้ 330 ppmน้ำจากก๊อกประปา วัดได้ 615 ppm// Photo by sakooclub //การใช้เครื่องวัดคุณภาพน้ำก่อนดื่ม ไม่ได้แปลว่า เราหวาดวิตกจนเกินไป แต่เป็นเพราะที่บ้านมีกลุ่มเสี่ยงอยู่ด้วย ดังนั้น การดื่มน้ำจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะสารแขวนลอยต่าง ๆ ที่มากับน้ำอาจจะสะสมอยู่ในร่างกาย แล้วก็ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บในระยะยาวก็เป็นได้ จากการใช้เครื่องวัดทำให้เราค่อนข้างมั่นใจในน้ำที่ดื่มแต่ละวัน รวมทั้งการใช้น้ำประปาในช่วงวิกฤติน้ำกร่อยก็เป็นไปด้วยความระมัดระวังด้วยค่ะ// Photo by sakooclub //ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีง่าย ๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถตรวจสอบสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Application ตรวจสอบคุณภาพอากาศ หรือเครื่องวัด PM 2.5 รวมทั้งเครื่องวัดคุณภาพน้ำ ดังนั้น การที่เราจะใส่ใจเพื่อคุณภาพชีวิตของตัวเองและครอบครัวจึงไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร ซึ่งดีกว่าการรักษาหรือแก้ไขด้วยการเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลแน่นอนค่ะ ... ห่วงใยสุขภาพของตัวเองและครอบครัวทั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนค่ะ// เครดิตภาพปก (ฟรี) จาก Canva Application //