เซโรโทนิน(Serotonin) ชื่อนี้ หลายๆ คนอาจไม่คุ้นเคย หรือไม่รู้จักว่ามันคือสารอะไรในร่างกาย แต่เอาจริงๆ แล้ว สารชนิดนี้ มันมีผลต่อตัวเราแทบจะตลอดเวลาในการใช้ชีวิต เพราะ เซโรโทนิน นั้น คือสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ที่เป็นตัวช่วยควบคุมความรู้สึก อารมณ์ ต่างๆ ของเรา ซึ่งการหลั่งสารชนิดนี้ มากหรือน้อยเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย รวมถึงอาการของโรคซึมเศร้า ก็มีผลมาจาก เซโรโทนิน ด้วยเช่นกัน ที่มาของ เซโรโทนิน เซโรโทนิน นั้น เป็นสารที่ร่างกายได้สร้างขึ้นจาก ทริปโตเฟน (Tryptophan) โดยส่วนใหญ่ เซโรโทนิน จะถูกสร้างขึ้นที่ระบบทางเดินอาหาร และเกร็ดเลือด ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เรามีความรู้สึกหิว ความรู้สึกอิ่ม ไปจนถึงการนอนหลับ นอกจากนี้ เซโรโทนิน ยังมีการสร้างตัวขึ้นมาระหว่างเซลล์ประสาทภายในสมอง เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้อารมณ์มีความสุข หรือความทุกข์ โมโห ไปจนถึงอารมณ์ทางเพศ อีกด้วย จะเป็นอย่างไรถ้าร่างกายมี เซโรโทนิน น้อยเกินไป อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เซโรโทนิน นั้น เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของเราตลอดเวลา ทำให้การที่ร่างกายของเรา หลั่งสารเซโรโทนิน มากหรือน้อยจนเกินไป อาจเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคทางจิตเวช และการควบคุมอารมณ์ต่างๆ โดยเฉพาะปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้า โดยได้มีงานวิจัยหลายๆ ชิ้น ได้แสดงให้เห็นว่า หากร่างกายมีระดับเซโรโทนินที่ไม่สมดุล ทำให้อาจส่งผลในด้านของอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ก้าวร้าว ไม่มีความสุข โกรธง่าย เป็นต้น นอกจากนี้ผลของการที่ร่างกายมี เซโรโทนิน ที่ไม่สมดุล ยังส่งผลเสียต่อร่างกายด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น อาการนอนไม่หลับ มีพฤติกรรมการทานอาหารผิดปกติ เพราะ เซโรโทนิน นั้น เป็นสารที่ช่วยควบคุมการนอนหลับด้วยเช่นกัน แต่หากร่างกายมีเซโรโทนิน ที่น้อยเกินไป จึงส่งผลให้ร่างกายมีอาการกระสับกระส่าย นอนไม่ค่อยหลับ เช่นเดียวกันกับการกินอาหาร เมื่อร่างกายมีเซโรโทนิน ที่ไม่สมดุล ก็ทำให้เกิดพฤติกรรมการกิจที่ผิดปกติ เช่น รู้สึกหิวตลอดเวลา หรืออาจทำให้มีอาการเบื่ออาหาร ไปจนถึงการย่อยอาหารที่ผิดปกติ เทคนิคการเพิ่มเซโรโทนิน เมื่อ เซโรโทนิน สำคัญต่อร่างกายเราขนาดนี้ การรักษาระดับของสารชนิดนี้ในร่างกายจึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งเทคนิคการเพิ่ม เซโรโทนิน ให้ได้ประสิทธิภาพนั้น ก็มีหลักๆ 3 วิธี ทั่วไป ได้แก่ 1. การเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มไซโรโทนิน โดยจะต้องเป็นอาหารที่มีทริปโตเฟนสูง โดยเฉพาะอาหารประเภท เนื้อสัตว์ หรืออาหารที่มีกรดโอเมก้า 3 โดยเฉพาะ ปลาแซลมอน และปลาทูน่า ที่นอกจากจะเป็นเนื้อปลาที่อุดมไปด้วย วิตามินบี ในทูน่า ยังมีสารที่จำเป็นต่อระบบประสาท อีกด้วย หากเป็นในส่วนของ พืช ผัก ผลไม้ แนะนำให้ทาน อโวคาโด หรือกล้วย เพราะผลไม้ทั้งสองชนิด ล้วนแต่เป็นอาหารที่ช่วยให้เพิ่มพลังงานที่ดี โดยเฉพาะกล้วย ที่ค่อนข้างมีสารทริปโตเฟนสูง ทำให้ช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตเซโรโทนินได้ ในระดับที่เพียงพอ 2.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างที่หลายๆ คนทราบกันดี ว่าการออกกำลังกายนั้น เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยในการควบคุมอารมณ์ของเราให้ดียิ่งขึ่น นอกจากนี้การออกกำลังกายเพียงวันละ 30 นาที ก็สามารถช่วยให้ร่างกายเพิ่มระดับสาร โซโรโทนิน และคริปโตเฟนให้ร่างกายกลับมาทำงานได้ปกติ และยังเป็นการช่วยรักษาโรคซึมเศร้าที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่ง พอๆ กับการทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้นการออกกำลังกาย 3.ทำกิจกรรมที่ช่วยบำบัดความเครียด นอกจากการทานอาหาร และการออกกำลังกายแล้ว การทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด ไม่ว่าจะเป็น การชมภาพยนตร์ การฟังเพลง ไปจนถึงการเล่นเกม ที่ช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย ก็เป็นสิ่งที่ข่วยเพิ่มระดับเซโรโทนินที่ดีด้วยเช่นกัน ข้อมูลอ้างอิง https://www.honestdocs.co/serotonin-substances-affect-emotions https://www.honestdocs.co/6-foods-help-increase-serotonin-to-body https://www.sanook.com/health/12257/ ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://www.freepik.com/