ปัจจุบันพนักงานออฟฟิศนั้นทำงานหนักขึ้น เนื่องด้วยรายจ่ายมีมากมายเหลือเกิน ทั้งทำงานนอก งานใน ให้วุ่นวายกันไปหมด ดังนั้นเวลาทำงานจึงแทบจะไม่พอ เวลาพักผ่อนนี้ไม่ต้องหวังกันเลย ทำงานหนักกันขนาดนี้จะได้ใช้เงินกันไหม วันนี้เราจึงมีบทความเกี่ยวกับโรคภัยที่มาพร้อมกับการทำงานหนัก ให้กับเหล่ามนุษย์เงินเดือนได้เช็คดูตัวเองว่าเข้าข่ายโรคอะไรบ้างหรือเปล่า 1. โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ภาพถ่ายโดย StartupStockPhotos จาก Pixabay โรคฮอตฮิตของเหล่าพนักงานออฟฟิศลำดับ 1 ตลอดกาล นั้นก็คือ “โรคออฟฟิศซินโดรม” นั้นเอง ซึ๋งโรคนี้เกิดจากพฤติกรรมการทำงานที่ต้องนั่งต้องจอคอมอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ได้ขยับหรือเดินไปไหน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงและอักเสบได้ และอาจจะส่งผลให้เกิดอาการของโรคกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาด้วย กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง นิ้วล็อค ปวดหลังและท่าทางผิดปกติ กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างอักเสบ .สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม เกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำ ๆ นาน ๆ หรือเกิดจากการทำงานด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำมากจนเกินไป เป็นต้น สภาพร่างกายในด้านอื่น ๆ ที่อาจจะส่งผลต่ออาการเจ็บปวด เช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ การได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือ การทานอาหารไม่เพียงพอ เป็นต้น อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม 1.1 ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น บ่า หลัง แขน เป็นต้น มักมีอาการปวดบริเวณกว้างโดยไม่สามารถที่จะระบุได้ชัดเจน ความรุนแรงเป็นได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยแบบก่อให้เกิดความรำคาญไปจนถึงปวดมากจนทรมาน 1.2 อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น วูบ ขนลุก เหงื่อออก ฯลฯ ตามบริเวณที่ปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่า 1.3 อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดถับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรงหากมีการกดทับเส้นประสาทนานเกินไป การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีด้วยตัวเอง รักษาด้วยการกายภาพบำบัด การนวดแผนไทย การฝังเข็ม การรับยาและรักษาตามอาการ การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม การออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการ ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม 2. เป็นไมเกรน การทำงานนั้นเครียดอยู่เสมอเลยทำให้เหล่าพนักงานออฟฟิศเป็นไมเกรนกันง่าย ไมเกรนเป็นโรคที่เกิดจากการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มักปวดบริเวณศีรษะข้างเดียว ในขณะที่ปวดก็มักมีอาการคลื่นใส้หรืออาเจียนร่วมด้วย อาการที่ทำให้เกิดโรคไมเกรน ภาพถ่ายโดย lukasbieri จาก Pixabay ไมเกรนจะแบ่งอาการเป็น4 ระดับ คือ 1. อาการบอกเหตุ ( Prodrome) ในช่วงหนึ่งหรือสองวันแรกก่อนจะเป็นไมเกรน จะมีสัญญาณเตือนดังนี้ การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ มีความอยากอาหารบางอย่างเป็นพืเศษ มีอาการปวดตึงคอ กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อย หาวบ่อย ท้องผูก 2. ระยะเตือน ( Aura ) อาการในระยะนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นในส่วนของสมองส่วนกลาง ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนหรือพร้อมกับการเกิดไมเกรน การเตือนมักมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อาการเตือนสามารถเกิดได้หลายรูปแบบ มองเห็นแสงกระพริบ สายตาพร่ามัว มองเห็นรูปภาพเป็นรูปทรงต่าง ๆ ผิดขนาด เห็นจุดแสงวาบ มองเห็นเป็นเส้นคลื่น 3. ระยะที่เกิดอาการปวดศีรษะ (Headache) ในขณะที่ปวดไมเกรน ผู้ป่วยอาจจะมีอาการดังนี้ เช่น มีอาการปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้าง มีอาการปวดศีรษะแบบตุบ ๆ แสงจ้า เสียงดัง และกลิ่นฉุนจะกระตุ้นให้ปวดศีรษะมากขึ้น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัด มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด และเป็นลม 4. ระยะที่หายจากการปวดศีรษะ ( Postdrome ) เป็นระยะสุดท้ายของไมเกรน ซึ่งจะเกิดเมื่อเป็นไมเกรนเรียบร้อยแล้ว ภาพถ่ายโดย Alexander Dummer จาก Pexels มีอาการสับสนมึนงง มีอารมณ์หงุดหงด เวียนศีรษะ อ่อนล้า อ่อนแรง มีความรู้สึกไวต่อแสงและเสียง การรักษาโรคไมเกรน การรักษาอาการไมเกรนจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 4.1 ระยะที่อาการปวดศีรษะเฉียบพลัน ใช้เฉพาะเวลาที่มีอาการปวดศีรษะเท่านั้น ยาแก้ปวด จำพวก พาราเซตามอล ยาที่เฉพาะเจาะจงกับอาการไมเกรน เช่น ยากลุ่มทริปแทน หรือยาที่มีส่วนผสมของเออโกทามีน ยาสำหรับลดอาการคลื่นไส้ 4.2 ระยะที่ไม่ปวดศีรษะ ต้องรับประทานติดต่อกันทุกวัน 3. โรคอ้วน เวลาทำงานก็นั่ง ๆ กิน ๆ ไม่ได้เดินไม่ได้ออกกำลังกาย “โรคอ้วน” จึงเป็นโรคที่พบบ่อยในพนักงานออฟฟิศทั้งชายและหญิง สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคอ้วน เกิดจากการที่กินมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย และการกินอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น น้ำตาล แป้ง และ ของหวาน สิ่งเหล่านี้จะถูกเก็บสะสมไว้ภายในร่างกาย ถ้ามีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดไขมันพอกพูนตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพราะเวลานั่งทำงานเป็นเวลานานจะทำให้เราไม่ได้ออกกำลังกายจึงก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย สาเหตุหลักมีอยู่ 2 สาเหตุ คืออ สาเหตุภายนอก เพราะการกินตามใจปาก กินมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย และ สาเหตุภายใน พบได้จากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ อาการของโรคอ้วน การที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันมากผิดปกติ หรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญออกไปได้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อาการจะแสดงออก คือ หายใจติดขัด นอนกรน เหนื่อยง่าย ร้อนง่าย เหงื่อออกง่าย ทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างได้ยากลำบาก การรักษาภาวะโรคอ้วน เพื่อให้ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะอ้วนมีน้ำหนักตัวปกติ สามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง ควบคุมอาหารและพฤติกรรมการบริโภค ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการรักษาทางการแพทย์ แพทย์จะพิจารณาเป็นกรณี อาจมีบางรายที่ต้องทายาร่วมในการลดน้ำหนัก การป้องกันภาวะอ้วน ภาวะอ้วนที่เกิดจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต สามารถทำได้โดยการควบคุมอาหารและพฤติกรรมการกิน รับประทานผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ มีไขมันสูงและมีน้ำมันมาก 4. โรคเครียดลงกระเพาะ ภาพถ่ายโดย mohamed_hassan จาก pixabay โรคเครียดลงกระเพาะถือเป็นโรคที่พบบ่อยในคนวัยทำงาน สาเหตุของโรคเครียดลงกระเพาะ โรคกระเพาะอาหารที่เกิดจากความเครียดมีอาการเหมือนกับโรคกระเพาะที่เกิดจากกินอาหารผิดปกติ อาการที่พบได้บ่อย ๆ มีดังนี้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดแสบบริเวณช่องท้องและลิ้นปี ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย ๆ มีกลิ่นเหม็นน้ำย่อย อาเจียนหรือขับถ่ายออกมาเป็นเลือดหรือสีดำ การรักษาโรคเครียดลงกระเพราะ โรคเครียดลงกระเพราะมักเป็นเรื้อรัง แต่ถ้าหากดูแลรักษาตัวเองอย่างถูกวิธีก็สามารถหายขาดได้ กินอาหารให้เป็นเวลาและครบ 3 มื้อ เลี่ยงอาหารรสจัด ออกกำลังกาย ปัญหา หรือแม้แต่พฤติกรรมบางอย่างก็ไม่ควรที่จะมองข้าม หรือละเลย หมั่นสำรวจตัวเองกันด้วยนะคะ หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบปรับพฤติกรรมของตัวเองก่อนเลย หากลองปรับแล้วไม่ดีขึ้น รีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาในทันที อย่ารอจนอาหารทรุดหนักแล้วค่อยไปนะคะ