ออฟฟิศซินโดรมนั้นคือโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้ที่ต้องนั่งทำงานอยู่ประจำโต๊ะตลอดเวลาหรือยืนทำงานตลอดเวลา เช่น พนักงานออฟฟิศ แคชเชียร์ ที่ต้องทำงานเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงติดต่อกัน ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรมได้ โดยผู้เขียนเองนั้นก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน เพราะว่าลักษณะการทำงานของผู้เขียนนั้น ก็เป็นงานประเภทนั่งโต๊ะและต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน แทบไม่มีเวลาลุกจากโต๊ะเพื่อผ่อนคลายอิริยาบถ เมื่อนานวันเข้าอาการเจ็บป่วยก็เริ่มถามหาเริ่มรู้ตัวเมื่อไหร่ว่ามีอาการออฟฟิศซินโดรม ผู้เขียนนั้นไม่เคยคิดว่าตัวเองจะต้องป่วยเป็นออฟฟิศซินโดรม เพราะว่าเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ชอบเล่นกีฬาเป็นประจำ แต่เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน ก็เริ่มไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ประกอบกับอายุที่เริ่มมากขึ้น ภาระหน้าที่การทำงานที่มากขึ้น และเป็นงานที่ต้องอยู่กับโต๊ะ ทำงานกับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน นอกจากนี้ยังไม่พอ เมื่อกลับบ้านก็ยังเปิดคอมพิวเตอร์เพื่อท่อโลกอินเตอร์เน็ต เล่นเกมออนไลน์ นั่นก็ยิ่งทำให้ชีวิตในแต่ละวันของผู้เขียนนั่งอยู่แต่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ นานวันเข้าก็เริ่มรู้สึกตัวว่าร่างกายมีความผิดปกติ โดยอาการผิดปกติของผู้เขียนก็คือ มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายส่วนต่างๆ เช่น หลัง ไหล่ บ่า แขน ขา ข้อมือ เรียกได้ว่าปวดไปทั้งตัว เพราะว่าเรานั่งอยู่กับที่ จนทำให้ระบบประสาทถูกกดทับต่อเนื่อง ยาวนาน แต่ถึงอย่างนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรมากนัก เพราะคิดว่าเดี๋ยวก็หาย ต่อจากอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ก็เริ่มมีอาการอื่นๆมากขึ้น เช่น รู้สึกว่า แขนอ่อนแรง อาการมันจะเป็นลักษณะของการยกแขนไม่ค่อยได้ มีอาการสั่นที่กล้ามเนื้อแขนคล้ายเป็นเหน็บชา แต่อาการมันเรื้อรังไม่หาย มีอาการนิ้วล็อค ขยับนิ้วไม่สะดวก รู้สึกว่านิ้วโป้งกับนิ้วชี้ติดกัน ปวดตามโคนนิ้วที่ฝ่ามือ ตามมาด้ายอาการทางสายตา ปวดตา ตาแห้ง แสบตาและเริ่มตาพร่ามัวเป็นระยะ เมื่อเกิดอาการดังกล่าวผู้เขียนก็เลยไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตก็เริ่มสงสัยว่า หรือเราจะมีอาการออฟฟิศซินโดรมเมื่อรู้ว่าเสี่ยง ก็ต้องป้องกัน เมื่อหาข้อมูลแล้วรู้สึกว่า อาการผิดปกติทางร่างกายที่เกิดขึ้น น่าจะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคสุดฮิตชาวออฟฟิศ ผู้เขียนก็เริ่มเป็นกังวล ก็เลยมีความคิดที่จะไปพบแพทย์ และก็เป็นจริงตามที่คิด แพทย์บอกว่าเรามีอาการออฟฟิศซินโดรมจริงๆ และแนะนำว่าควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยด่วนก่อนที่จะสายเกินไป เพราะอาการของผู้เขียนนั้นยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ยังพอรักษาด้วยตัวเองได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันออฟฟิศซินโดรม เมื่อไปพบแพทย์และได้รับคำแนะนำกลับมา ผู้เขียนก็เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเริ่มตั้งแต่การทำงานไปจนถึงการใช้ชีวิตประจำวัน โดยแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้ 1. เปลี่ยนเก้าอี้ทำงานใหม่ ผู้เขียนลงทุนซื้อเก้าอี้ทำงานเป็นของส่วนตัวทันที เพราะจะรอให้ที่ทำงานเปลี่ยนให้คงจะยาก ก็เลยลงทุนซื้อเอง โดยเลือกเก้าอี้ที่คุณภาพดี ปรับความสูงต่ำได้ เก้าอี้ดีๆจะออกแบบมาให้รองรับหลักสรีระศาสตร์ ให้เราไม่ปวดเมื่อย ก็คิดว่าถ้าลาออกจากที่ทำงานจะยกเก้าอี้กลับมาด้วย แต่ก็คงไม่ได้ออก เพราะออกแล้วจะไปหางานที่ไหนได้อีก อายุก็ไม่ใช่น้อยๆ ขอแนะนำว่าถ้าจะซื้อเก้าอี้สำนักงานสักตัว ต้องไปลองนั่งดูก่อน จะได้เลือกได้ถูกใจ 2. ซื้อแว่นตาที่สามารถกรองแสงสีฟ้าจากจอคอมพิวเตอร์มาใส่ เพื่อถนอมสายตา ผู้เขียนนั้นต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน กลับบ้านก็ยังอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อดูหนัง เล่นเกมอีก (พยายามงดแล้วแต่ห้ามใจตัวเองไม่ไหว) ก็เลยไปหาซื้อแว่นตาที่มีคุณสมบัติกรองแสงสีฟ้า ราคาก็แพงพอสมควร แต่เมื่อพิจารณาแล้วว่าน่าจะคุ้มค่าต่อสุขภาพ ก็เลยตัดสินใจซื้อ (ทีเติมเกมยังไม่เคยคิดนานขนาดนี้เลย) 3. หาเวลาออกกำลังกายบ่อยขึ้น ผู้เขียนไปหาซื้อรองเท้าเพื่อวิ่งออกกำลังกาย โดยพยายามวิ่งให้ได้ทุกวัน แต่หากวันไหนไปวิ่งไม่ได้ก็จะใช้วิธีฟิตเนสอยู่ที่บ้าน อุปกรณ์ก็ไม่ได้มีอะไรมาก มีแค่ดัมเบลคู่เดียวก็ฟิตเนสที่บ้านได้แล้ว ผู้เขียนงบน้อย จึงเลือกการวิ่งกับฟิตเนสที่บ้านเป็นหลัก แต่สิ่งสำคัญคือการบังคับใจตัวเองให้ลุกมาออกกำลังกาย แรกๆก็ยากหน่อยเพราะเมื่อกลับถึงบ้านเราก็พุ่งตรงไปที่คอมพิวเตอร์ที่บ้านทันทีเพื่อจะเล่นเกม แต่เมื่อได้ออกกำลังกายก็รู้สึกว่าร่างกายแข็งแรงขึ้น มีความคล่องตัวมากขึ้น อาการหายใจหอบถี่ก็ลดลง พุงก็ลดลงด้วย จึงทำให้ผู้เขียนเริ่มชอบออกกำลังกายมากขึ้น 4. เข้านอนเป็นเวลา เมื่อก่อนผู้เขียนนั้นเข้านอนไม่เป็นเวลา บางครั้งก็ติดซีรีส์ ติดเกมออนไลน์ จนนอนน้อย (แต่นอนนะ) สุขภาพก็เลยโทรม มีอาการง่วงระหว่างวัน ก็เลยปรับพฤติกรรมตัวเองให้นอนเป็นเวลา ไม่เกิน 5 ทุ่ม ก็ทำให้อาการอ่อนเพลียระหว่างวันลดลง โรคออฟฟิศซินโดรมนั้น เป็นโรคที่ป้องกันได้ เพียงแค่ปรับพฤติกรรมการทำงานอย่างเหมาะสม หากรู้ตัวว่าความเสี่ยงในการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม อันเนื่องมาจากการทำงาน ควรไปปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการดังที่กล่าวมา เพื่อที่จะไม่ให้โรคนี้มาส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน กระทบไปจนถึงการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ แบบที่ผู้เขียนเคยประสบมา ดังประโยคที่ว่า "สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องสร้างเอง" เครดิตภาพภาพปก / Lifestylememory / freepikภาพ 1 / freepik / freepikภาพ 2 / ArthurHidden / freepikภาพ 3 / Thirdman / pexelsภาพ 4 / pch.vector / freepikออกกำลังกายอยู่บ้านได้ที่ App TrueID โหลดฟรี !