“เป็นไปได้หรือไม่ที่คนเราเสพติดการนอนหลับ?”ลองนึกถึงตัวเองว่าเรามีอาการที่ลืมตาตื่นได้อย่างลำบากยากเย็นในตอนเช้าหรือรู้สึกไม่สดชื่น ความคิดไม่แล่นถ้าไม่ได้แอบงีบสักหน่อยหนึ่งตอนกลางวัน เป็นไปได้มั้ยว่าเราอาจจะต้องการการนอนหลับมากขึ้น หรือเรียกได้ว่านอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ ทำไมถึงมีบางคนรู้สึกเช่นนั้น และอาการลักษณะใดเป็นตัวบ่งบอกว่าเรากำลังมีอาการคล้ายกับจะเสพติดการนอนหลับบ้างข้อเท็จจริงของการนอนหลับอ้างอิงข้อมูลจาก the American Academy of Sleep Medicine and the Sleep Research Society อย่างนี้นะคะ พบว่าค่าเฉลี่ยการนอนหลับของผู้ใหญ่ทั่วไปคือ ไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง หมายถึงการหลับจริง ๆ ที่ไม่ใช่การใช้เวลาบนเตียงนอนทำอย่างอื่น ดังนั้นถ้าหากใครที่นอนได้น้อยกว่า 7 ชั่วโมง ก็เป็นไปได้ที่คุณจะรู้สึกง่วงระหว่างวันจนต้องแอบงีบ และทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเรานอนมากเกินไป จริง ๆ แล้วอาจเกิดจากการนอนไม่พอสะสมทำให้รู้สึกอยากนอนตลอดเวลาก็ได้แต่อย่างไรก็ตาม การที่มีพฤติกรรมการนอนที่มากเกิน ก็อย่านิ่งนอนใจ เพราะการนอนมากผิดปกติ ก็อาจเป็นอาการแสดงของความผิดปกติทางด้านจิตใจแบบอื่น ๆ ได้ เช่น โรคซึมเศร้า หรืออาการวิตกกังวล ซึ่งก็มีอาการคล้าย ๆ กันถ้าเราลองดูนิยามของการเสพติด องค์การอนามัยโลกให้คำนิยามไว้ว่า คือ ความผิดปกติของสมองที่เกี่ยวข้องกับความอยากสารหรือพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การแสวงหา "รางวัล" หรือผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ การเสพติดมักเกี่ยวข้องกับการพนัน ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่แล้วเราจะเอานิยามนี้มาใช้กับการติดการนอนหลับได้หรือไม่ต้องอธิบายอย่างนี้ค่ะว่า ทางการแพทย์เค้าไม่เรียกการนอนหลับเยอะ ว่าเป็นการเสพติด เพราะมันเป็นวงจรชีวิตปกติของคนเราที่ต้องมีการนอนหลับพักผ่อน และไม่ได้มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจนว่าการนอนมากเกินไปก่อให้เกิดอันตราย ยกเว้นการนอนละเมอไปทำในสิ่งที่ไม่รู้ตัวและทำให้เกิดอันตรายจริง ๆ การนอนหลับก็คงเหมือนการหายใจนั่นแหล่ะค่ะ มันเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตามการนอนมากเกินไปก็อาจเกิดจากสภาวะความผิดปกติอื่นนอกจากที่กล่าวข้างต้นได้ เช่น สภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) โรคนอนหลับเยอะผิดปกติ (Hypersomnia) หรือโรคลมหลับ (Narcolepsy) อยู่ดี ๆ ก็หลับไม่รู้ตัว ซึ่งอันนี้อันตรายมากอาการใดที่จะเป็นสัญญาณบอกว่าเรากำลังมีการนอนหลับที่ผิดปกติปกติแล้วร่างกายคนเราต้องการการนอนหลับมากเท่าที่ต้องการ โดยธรรมชาติจะปลุกให้ตื่นเมื่อได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวงจรการนอนหลับของเราจะระบุว่าเมื่อใดที่ร่างกายจำเป็นต้องซ่อมแซม ฟื้นฟู และเติมพลัง ส่งผลให้เราเข้าสู่โหมดงีบหลับ ถ้าเริ่มมีอาการเหล่านี้บ่อย ๆ เช่น รู้สึกเหนื่อยล้า อยากนอน หงุดหงิดง่าย จำอะไรไม่ค่อยได้ เกิดภาวะที่เรียกว่าสมองล้า (Brain Fog) หากยังคงต้องการงีบหลับหลังจากนอนหลับเต็มอิ่มแล้ว กล่าวว่าอาจบ่งบอกถึงปัญหาคุณภาพการนอนหลับยานอนหลับใช้ได้หรือไม่มันเป็นวิธีการแก้ปัญหาการนอนผิดปกติในระยะสั้น แต่ถ้าปัญหาหลักยังไม่ถูกแก้ ยานอนหลับอาจจะไม่ช่วยอะไรมาก ส่วนตัวใช้การ “ทำให้หลับแบบธรรมชาติ” ซึ่งก็คือการออกกำลังกายหรือทำอย่างไรก็แล้วแต่ที่มีการใช้พลังงานร่างกายโดยไม่ต้องใช้สมองคิดเยอะ นั่นช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น อาจจะเป็นความโชคดีด้วยที่ไม่ได้มีภาวะหลับผิดปกติ แต่ถ้าใครหลับยากกว่านี้ ก็ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าค่ะขอบคุณข้อมูลจาก Healthline.comภาพ 1 Lux Graves /ภาพ 2 Yaopey Yong / ภาพ 3 Ephraim Mayrena / ภาพ 4 Stefan Rodriguez /ภาพปก Vladislav Muslakovอัปเดตสาระดี ๆ มีประโยชน์แบบนี้อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !