ในสภาวะปัจจุบันกับปัญหาไวรัส COVID-19 เป็นอุปสรรคต่อธุรกิจองค์กรอย่างมาก นับวันจะยิ่งหนักขึ้นจนตอนนี้บางบริษัทก็ให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน เพื่อลดอัตราการติดเชื้อลงแล้ว ปัญหาก็ตามมาอีกที่ว่า เมื่ออยู่ในบ้านก็อาจจะต้องเผชิญกับฝุ่น PM 2.5 เชื้อโรคที่เกาะตามประตูบ้าน รวมถึงปัญหาอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน เมื่อเป็นแบบนี้แล้วอาจเปลี่ยนจาก Work from Home เป็น Work from Hell ก็ว่าได้แต่ในทุกปัญหาย่อมมีทางแก้ไขอยู่ครับ เมื่อคุณเป็นหนึ่งในคนที่ต้องทำงานจากที่บ้าน แต่ก็อยากดูแลสุขภาพระหว่างทำงานได้ด้วย ลองใช้คำแนะนำต่อไปนี้ดูครับแล้วจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ไม่มากก็น้อยล่ะครับ1. ทำความสะอาดบ่อยครั้งที่มารูปภาพ: Stuart Green จาก Pixabay ตามปกติเราอาจจะทำความสะอาดห้องสัปดาห์ละครั้ง เนื่องจากต้องออกไปทำงานและมีเวลาทำความสะอาดได้แค่วันหยุด เมื่อเราขนงานมาทำที่บ้านเพื่อหลบไวรัส เราคงจะต้องปัดกวาดเช็ดถูบ่อยมากขึ้น โดยเฉพาะแป้นคีย์บอร์ดกับเมาส์ที่ใช้สัมผัสบ่อย แม้ว่าจะอยู่ในบ้านแต่เราก็ไม่ทราบเลยว่าสิ่งที่จับ มันมีเชื้อโรคเกาะมาอยู่ก่อนแล้วบ้างวิธีการทำความสะอาดจะใช้ผ้าธรรมดาเช็ดก็ได้ จะดีกว่าหากใช้ผ้าชุบน้ำยาแอลกอฮอล์เช็ดบริเวณร่องของคีย์บอร์ด ซึ่งบริเวณเหล่านั้นมักเป็นจุดรวมของเชื้อโรคกับฝุ่น ส่วนเมาส์บริเวณปุ่มกดคลิกซ้าย/ขวามักจะมีคราบขี้ไคลเกาะ ควรจะใช้ผ้าเช็ดทำวามสะอาดทุกครั้งเมื่อจะใช้งาน ถ้าหากใช้งานเสร็จควรจะเก็บคีย์บอร์ด-เมาส์-Notebook ใส่ในกระเป๋าเพื่อป้องกันฝุ่นมาเกาะทำความสะอาดห้องแล้วก็อย่าลืมจัดระเบียบห้องให้เรียบร้อยด้วยนะครับเผื่อเจ้านาย VDO Call เปิดกล้องมาหาจะได้ไม่เห็นสภาพห้องอันรกรุงรัง2. จัดแสงไฟให้เหมาะสมที่มารูปภาพ: Pexels จาก Pixabayในออฟฟิศอาจมีแสงไฟเพียงพอสำหรับทำงาน เพราะมีหลอดไฟหลายดวงบนเพดาน กลับกันหากเป็นที่บ้านหรือต้องทำงานในห้อง ด้วยจำนวนหลอดไฟเพียง 1-2 ดวงและมุมที่แสงตกอาจจะมืดไป ทำให้สายตาเสียได้ง่าย ๆ ซึ่งวิธีแก้ไขเราอาจจะปรับมุมโต๊ะทำงานให้มีแสงส่องถึง ถ้าไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ก็ควรนำโคมไฟมาเปิดเพื่อเพิ่มความสว่างอย่างไรก็ตามแสงสว่างที่มากไปก็ไม่ดีเช่นกันครับ โดยเฉพาะความสว่างบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา ทางที่ดีควรจะลดแสงสว่างหน้าจอลงครึ่งหนึ่งหรือให้สมดุลกับแสงไฟด้านนอกจะดีที่สุดนอกจากนี้เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพดวงตา อันเป็นปัจจัยหลักของมนุษย์เงินเดือนควรใช้ภาพพื้นหลังสีเขียวหรือต้นไม้เล็ก ๆ ที่มีใบเขียววางข้าง ๆ เวลามองจะได้พักสายตาไปในตัว เพราะว่าสีเขียวเป็นสีเมื่อมองไปแล้ว จะทำให้ความรู้สึกผ่อนคลายความเมื่อยล้าของดวงตาเป็นอย่างดี 3. ปลูกต้นไม้ที่มารูปภาพ: Alexas_Fotos จาก Pixabayการปลูกต้นไม้ในห้องจะดูไม่เข้ากัน แต่แนะนำว่าถ้าทำได้ทำเลยครับ ต้นไม้จะมีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษจากใบสู่รากที่มีจุลินทรีย์ มันจะช่วยย่อยสลายสารพิษได้ดีมาก เนื่องจากที่บ้านของเรามักจะมีสารพิษที่ปะปนโดยที่เราไม่รู้ตัวเช่น ผ้าม่าน, หมอน, สีทาบ้าน, คอมพิวเตอร์ สิ่งเหล่านี้จะปล่อยสารพิษจำพวก ฟอร์มาดีไฮต์, โทลูอีน, เบนซิน สารเหล่านี้แม้จะไม่เข้มข้น แต่มันก็ส่งผลให้ร่างกายเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้นดังนั้นการปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับสารพิษดังกล่าวจึงจำเป็น เมื่อต้องทำงานที่บ้านต้องใช้เวลาในห้องนาน ๆ ก็ยิ่งจำเป็นหนักเข้าไปอีกครับ โดยต้นไม้ที่แนะนำให้ปลูกคือ เดหลี, ไอวี่, ลิ้นมังกร พืชเหล่านี้จะดูดซับสารพิษและฝุ่นละอองได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น รวมถึงต้องจัดวางต้นไม้ให้อยู่ใกล้แสงและตำแหน่งของเราด้วยครับ เพราะต้นไม้จะทำการฟอกอากาศได้ดีกว่าตั้งอยู่ด้านนอก (ฟอกฝุ่น PM 2.5 ได้ด้วย)4. ละสายตา ยืดเส้นสายที่มารูปภาพ: Free-Photos จาก Pixabayการทำงานที่บ้านย่อมมีระยะเวลาทำงานมากกว่าออฟฟิศ เพราะไม่มีกำหนดเวลาเลิกงานแน่นอน บางครั้งต้องทำจนดึกดื่น หากแต่จะนั่งแช่ตั้งแต่เช้าถึงดึกมันก็คงไม่ดีนัก ดังนั้นการออกไปยืดเส้นยืดสาย ลุกออกจากเก้าอี้บ้างจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ ทางที่ดีทุก ๆ 20-30 นาทีควรจะขยับร่างกายบ้าง หรือละสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้เกิดอาการตาแห้งการขยับร่างกายเปลี่ยนอิริยาบถภายในบ้าน เราอาจจะลุกขึ้นเดินไปมาหรือลุกไปหยิบน้ำ/ขนม บิดขี้เกียจยืดแขนไปมาค้างไว้ประมาณ 10-20 วินาที แค่นั้นก็ทำให้กล้ามเนื้อได้ขยับตัวแล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทุนวิ่งรอบห้อง นอกจากนี้เพื่อสุขภาพที่ดีควรหาเก้าอี้ Ergonomic มาใช้สัก 1 ตัวแก้อาการปวดหลัง จะใช้เก้าอี้ Gaming ก็ดีไม่น้อยครับ เพราะมันปรับเอนได้มีหมอนรอง โดยมียี่ห้อแนะนำเช่น Raidmax, Nubwo, Neolution เป็นต้นทั้งหมดนี้ก็คือเคล็ดที่ไม่ลับสำหรับดูแลตัวเอง สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องทำงานอยู่กับบ้าน นอกจากร่างกายจะแข็งแรงปลอดโรคแล้ว ยังทำให้ห้องของเราดูมีสีสันด้วยต้นไม้และเป็นระเบียบมากขึ้น ที่สำคัญเลยก็คือการทำงานที่บ้านท่ามกลางสิ่งจูงใจมากมายนั่นคือ"ห้ามขี้เกียจเป็นอันขาดครับ!"ที่มารูปภาพปก: TheDigitalWay จาก Pixabay