หลายคนคงสงสัยว่า...เวลาดูตามแมทการแข่งขันอะไรก็ตาม มักจะเห็นนักกีฬาติดเทปสีสวย ๆ หลากสีสันตามร่างกายของแต่ละคน บ้างก็บอกว่าช่วยบำบัดเวลาเล่นกีฬา บ้างก็บอกว่าลดบาดเจ็บระหว่างซ้อม และระหว่างแข่งขัน ว่าแต่แล้วคนธรรมดาอย่างเราสามารถใช้ได้ไหม? แล้วมันช่วยเรื่องอะไรนะ?Credit pic : http://www.sporttapethailand.comKinesiology Tape เรียกสั้นๆว่า "ไคเน" หรือ "K-Tape" ที่ทุกคนเห็น เข้าใจกันส่วนมากก็คือเทปบำบัด ที่ช่วยพยุงกล้ามเนื้อในการซ้อม หรือในการเล่นกีฬานั่นแหล่ะ แต่ความจริงแล้ว Kinesiology Tape มีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างเยอะในเรื่องตำแหน่งของร่างกาย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า...Kinesiology Tape นั้นสามารถแปะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ยังไงบ้าง ผู้คิดค้นวิธีแปะเทปนี้คือ Dr. Kenzo Kase ชาวญี่ปุ่น แนวคิดการแปะเทปนี้จึงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางลักษณะของเทปจะมีความยืดหยุ่น กาวจะเป็นกาวอะครีลิค (Acrylic) ซึ่งไม่เกิดการระคายเคืองผิว ยึดติดกับผิวหนังได้เมื่อให้ความร้อนเหมาะสม ไม่มีการแพ้ง่ายเหมือนกาว Latex คุณสมบัติที่ควรมีอีกประการนั่นก็คือ ต้องเป็นสูตรกันน้ำ (Waterproof หรือ สามารถลงน้ำได้ในกรณีเล่นกีฬาทางน้ำ) ไม่ควรเร่งด้วยความร้อนสูง เช่น ไม่ควรใช้ไดร์เป่าเพื่อให้เทปติด เวลาจะตัดเทปพยุงนั้น ควรตัดมุมให้มีปลายมน เพื่อที่จะส่งแรงดึงได้เท่า ๆ กัน และสามารถปรับรูปแบบ เปอร์เซนต์ระดับแรงของการดึงเทปได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น- กรณีแปะจากจุดเกาะต้นไปจุดเกาะปลาย จะเป็นการ Support ของกล้ามเนื้อส่วนนั้น เพื่อช่วย Range Of Motion และ Function เพิ่มขึ้น- กรณีแปะจากจุดเกาะปลายไปจุดเกาะต้น จะเป็นการลดการใช้งาน ลดการเคลื่อนไหวให้ชะลอ Function ของกล้ามเนื้อส่วนนั้น เพื่อลดการทำงานหนักเกินไปและป้องกันการบาดเจ็บที่เพิ่มขึ้นCredit pic : http://www.sporttapethailand.comลักษณะแบบในการแปะ Kinesiology Tapeลักษณะในการแปะนั้นมี 6 แบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการพยุงส่วนนั้นของร่างกาย และลักษณะการบาดเจ็บบริเวณที่ต้องการพยุง เราจะแบ่งได้ลักษณะการแปะเทปพยุง ดังนี้1. แบบ Iเป็นแบบที่ง่ายที่สุด เป็นแบบที่ใช้ในกรณีบาดเจ็บแบบ Acute Injuries (การบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน) ใช้ลดลิมิตการบวมแบบไม่อักเสบ (Edema) และลดปวด (Pain) ของส่วนนั้นของร่างกาย2. แบบ Yเป็นแบบที่เริ่มทำวิธีแบบ I ก่อนแล้วค่อยแยกกลาง แปะคล้าย ๆ ตัว Y แปะตามร่างกาย นิยมแปะกล้ามเนื้อให้มีผลต่อการใช้งานมากที่สุด ส่วนมากใช้พยุงร่างกายกรณีกล้ามเนื้ออ่อนล้าระหว่างซ้อม (Weakened Muscles) ซึ่งวิธีนี้ถ้าเป็นการพยุงจะแปะจากจุดเกาะต้น (Origin) ไปยังจุดเกาะปลาย (Insertion)3. แบบ Xเป็นแบบที่ใช้แปะเพื่อเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อบริเวณที่อยู่แนวสองข้อต่อของร่างกาย มักจะเป็นส่วนที่ต้องขยับตลอดเวลา เช่น กล้ามเนื้อ Rhomboid Major และ Rhomboid Minor4. แบบใบพัด (Fan)อาจจะตัดเป็นซี่ ๆ แบบ 4 ซี่หรือ 5 ซี่ ใช้แปะตามร่างกายเพื่อยกผิวให้มีการไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น (Blood Flow)5. แบบตาข่าย (Web)ตัดลักษณะแบบ Fan แต่นำมาประกบกันเหมือนตาข่ายทับซ้อนกัน ใช้แปะเพื่อการไหลเวียนช่วงต่อมน้ำเหลือง ป้องกันการฟกช้ำเป็นหลัก6. แบบ Donutมีวงอยู่ตรงกลางคล้ายโดนัท ใช้กรณีเดียวกับแบบ Fan แต่ให้ช่วงรูอยู่บริเวณยอดการเพิ่มแรงดึงการเพิ่มเปอร์เซนต์ของแรงดึงนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการดึงส่วนนั้นเป็นหลัก จะสามารถแบ่งเปอร์เซนต์การใช้แรงดึง ดังนี้- No Tension (None) ใช้แรงดึง 0% จะไม่เพิ่มแรงดึงเลย ใช้เพื่อประคองการบาดเจ็บในส่วนนั้น ไม่ให้อักเสบเพิ่มขึ้นเพียงเท่านั้น- Light (เบาๆ) ใช้แรงดึง 15-25% ของแรงดึงทั้งหมด เพื่อลดการบวมแบบ Swelling (บวมแบบอักเสบ) แบบ Edema (บวมแบบไม่มีอักเสบ) หรือการฟกช้ำ ช้ำเลือดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย- Moderate (ปานกลาง) ใช้แรงดึง 25-50% ของแรงดึงทั้งหมด เพื่อพยุงกล้ามเนื้อ เอ็นแบบ Tendon (เอ็นที่ติดระหว่างกล้ามเนื้อกับกล้ามเนื้อ)- Severe (เกือบตึง) ใช้แรงดึง 50-75% ของแรงดึงทั้งหมด ใช้พยุงข้อต่อ ช่วง Corrective Tissue (เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน) เอ็นแบบ Ligament (เอ็นที่ติดระหว่างกระดูกด้วยกัน และเอ็นที่ติดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก)- Full (ตึงเต็มที่) ใช้แรงดึง 75-100% ของแรงดึงทั้งหมด ใช้พยุงข้อต่อและกระดูก เพื่อลดการกระทบกระเทือน การเคลื่อนตัว และลดแรงกระแทกที่มีต่อกระดูกCredit pic : http://www.sporttapethailand.comการนำ Kinesiology Tape มาใช้นั้น สามารถใช้ได้ทั้งนักกีฬาและบุคคลทั่วไป เนื่องด้วยทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับบาดเจ็บ และได้รับการรักษาเพื่อสามารถช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ในปัจจุบันยังคงมีการจัดอบรมการใช้เทปเยอะมาก เนื่องด้วย Kinesiology Tape ไม่ได้เป็นเทปเพื่อ Stability แต่ทำให้เรามี Movement ที่ดีขึ้นทั้งในนักกีฬาและบุคคลทั่วไป อีกทั้งการนำไปใช้ยังเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ในมาตรฐานระดับสากลอีกด้วยหมายเหตุภาพเหล่านี้ได้รับการอนุญาตจากบริษัท Sport Tape เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใช้สำหรับเป็นสื่อในการนำเสนอบทความเพียงเท่านั้น