การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดที่สูงการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดที่สูง ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า โรคทั้ง 3 นี้เป็นโรคยอดฮิต มีความเกี่ยวเนื่องกันโดยเริ่มจากการรับประทานอาหารจำพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล ในปริมาณสูง เกินกว่าที่ร่างกายต้องการใช้ แล้วสะสมเป็นไขมัน น้ำตาล ในร่างกาย จึงทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความดัน และไขมันในเลือดสูง ตาม ๆ กันมาด้วย ดังนั้นถ้าหากเรามีวิธีการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย หรือการปฏิบัติตัวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่จะเป็นการป้องกันที่จะนำไปสู่การเป็นโรคเหล่านี้ บทความนี้ผมมาแชร์วิธีการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันเบาหวาน ความดัน และไขมัน จากประสบการณ์ที่ได้ตรวจสุขภาพแล้วเสี่ยงเป็นทั้ง 3 โรคนี้ ได้รับคำแนะนำจากคุณหมอมาเยอะเลยครับ โดยสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้:การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดที่สูงควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม: น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการกินข้าว แป้ง น้ำตาล ในปริมาณมาก จึงทำให้อ้วน และส่งผลทำให้เกิดโรคทั้ง 3 ได้ง่าย ดังนั้นการรักษาระดับน้ำหนักให้ไม่เกินค่า BMI โดยปกติควรอยู่ระหว่าง 18.5-24 [น้ำหนัก/ส่วนสูงยกกำลัง 2] หรือการลดน้ำหนักจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดได้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: ออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมน้ำหนัก ลดความดันโลหิต และควบคุมระดับไขมันในเลือด ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์หรือ 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ แบ่งเป็นระยะสั้น ๆ ก็ได้ เช่น เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ หรือเล่นกีฬาต่าง ๆ ซึ่งการออกกำลังกาย จะเป็นการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินหรือพลังงานต่าง ๆ ที่เรากินเข้าไป แล้วสะสมอยู่ในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีอีกด้วย หลังจากการตรวจสุขภาพประจำปี ส่วนมากหมอก็จะแนะนำให้ไปออกกำลังกายเพิ่มรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์: ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้สด พืชตระกูลถั่ว นมเปรี้ยวไร้ไขมัน อาหารที่มีไขมันดี ไขมันไม่อิ่มตัว คาร์โบไฮเดรตจากธรรมชาติ และโปรตีน เพื่อลดการสะสมไขมันในร่างกาย ผลที่ได้จาการตรวจสุขภาพของผม ส่วนมากหมอจะแนะนำให้ทานอาหารประเภทไขมันดี เช่น อัลมอนด์ ถั่วมักคาเดเมีย ปลาทะเลน้ำลึก ปลาแซลมอน อะโวคาโด เพราะคนส่วนมากจะขาดไขมันดี และจะมีไขมันไม่ดีสูงลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง: อาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นต้นเหตุที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและเสี่ยงต่อเบาหวาน ปกติระดับน้ำตาลในเลือดไม่ควรเกิน 70-100 mg/dL ควรลดการบริโภคอาหารหวาน แป้ง ข้าว และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น ข้าว แป้ง น้ำอัดลม น้ำผลไม้รสหวาน ของหวาน น้ำหวาน ผลไม้สุก ผมตรวจสุขภาพผลที่ได้คือน้ำตาล 107 mg/dL เสี่ยงเป็นเบาหวาน เลยต้องลดข้าว แป้ง น้ำตาล และของหวานด่วนเลยเลิกสิ่งเสพติด: การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือด เนื่องจากเมื่อเราดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้แรงดันเลือดสูงขึ้น บางคนหน้าแดง เพราะแรงดันเลือดส่งไปที่หน้ามากขึ้น เมื่อแรงดันเลือดสูงบ่อย ๆ อาจจะทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหรือส่วนใบหน้ามี่รอยรั่วและอาจจะเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ ดั้งนั้นดื่มได้แต่ไม่ควรดื่มติดต่อกันและในปริมาณที่น้อยตรวจสุขภาพประจำปี: การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจจับและรับรู้อาการที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ในระยะเริ่มต้น เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และระดับไขมันในเลือด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ อย่างเช่นผมเองไปตรวจสุขภาพ ก็เจอปัญหาร่างกายมาเยอะเลย เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดสูง 107 mg/dL เสี่ยงเป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง กรดยูริกสูง โชคดีที่ทุกอย่างเป็นแค่ความเสี่ยง ทุกวันนี้เลยกำลังควบคุมอาหารการกิน เพื่อป้องกันได้อย่างทันท่วงทีลดความเครียด: ความเครียดสามารถมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือด โดยใช้เทคนิคการออกกำลังกายเบา ๆ เช่น โยคะ ฝึกการหายใจ หรือกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เพราะความเครียดจะส่งผลโดยตรงทำให้ระดับแรงดันเลือดสูงขึ้น สังเกตเห็นได้เลยว่า เวลาเครียดจะตามมาด้วยอาการปวดหัว ซึ่งก็คือเส้นเลือดในสมอมันขยายตัว ทำให้เราปวดหัว ดังนั้นใช้ชีวิตให้ความเครียดน้อย ๆ อะไรไม่สำคัญก็ปล่อยผ่านไป ถนอมระบบทางเดินหายใจ: การถนอมระบบทางเดินหายใจ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือด อย่างเช่น หยุดสูบบุหรี่ หากคุณเป็นสูบหนักมาก และหากมีปัญหาทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้ หรือโรคหืด ควรรักษาโดยแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำรักษาระดับน้ำตาลในเลือด: ปกติระดับน้ำตาลในเลือดไม่ควรเกิน 70-100 mg/dL ควรควบคุมการบริโภคอาหารหวาน แป้ง ข้าว และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น ข้าว แป้ง น้ำอัดลม น้ำผลไม้รสหวาน ของหวาน น้ำหวาน ผลไม้สุก นอกจากนี้ยังต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตเป็นประจำ เพื่อที่จะสามารถป้องกันได้ทันนอนหลับให้เพียงพอ: การนอนหลับไม่เพียงพอสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือด ควรมีระยะเวลาการนอนหลับประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน และดูแลสุขภาพการนอนอย่างดี เพราะการนอนจะเป็นการฟื้นฟูร่างกายได้ดี จัดระบบความทรงจำต่าง ๆ หัวใจ หลอดเลือดได้พักผ่อนเช็คระดับไขมันในเลือด: ควรตรวจระดับไขมันในเลือดเป็นประจำ เพื่อตรวจสอบระดับไขมันรวม ไขมันที่ดี (HDL มากกว่าหรือเท่ากับ 60 mg/dL) และไขมันที่ไม่ดี (LDL 0-130 mg/dL) ควรปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์เพื่อควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ลดการกินอาหารที่มีไขมันไม่ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์หรือ 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ และทานอาหารที่มีไขมันดีสูง เช่น อัลมอนด์ ถั่วมักคาเดเมีย ปลาทะเลน้ำลึก ปลาแซลมอน อะโวคาโดหมั่นตรวจเช็คข้อมูลเบื้องต้น: เช่น การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และค่า BMI (Body Mass Index) เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นช่วงปกติแล้วก็ตาม เพราะถ้าหากไม่มีวินัย ก็อาจจะกลับมามีความเสี่ยงได้เหมือนเดิม และควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ นอกจากนี้อย่าลืมตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำนะครับ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่ผ่านเข้ามาอ่านนะครับ เครดิตภาพภาพปก: ภาพที่ 1: ภาพโดย Peter Stanic จาก Pixabayภาพที่ 1: ภาพโดย Tumisu จาก Pixabayภาพที่ 2: ภาพโดย StockSnap จาก Pixabayภาพที่ 3: ภาพโดย ArtActiveArt จาก Pixabayภาพที่ 4: ภาพโดย Hans จาก Pixabayภาพที่ 5: ภาพโดย Christo Anestev จาก Pixabayภาพที่ 6: ภาพโดย tomwieden จาก Pixabayภาพที่ 7: ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabayภาพที่ 8: ภาพโดย Łukasz Dyłka จาก Pixabayภาพที่ 9: ภาพโดย Paul Hunt จาก Pixabayภาพที่ 10: ภาพโดย Daniela Dimitrova จาก Pixabayภาพที่ 11: ภาพโดย Peter Stanic จาก Pixabayภาพที่ 12: ภาพโดย Myriams-Fotos จาก Pixabay สัญญาณเตือนไส้ติ่งอักเสบ! รู้ทัน รับมือไว ปลอดภัยจากไส้ติ่งแตก [จากประสบการณ์จริง]อาการเสียงดังในหู เหมือนเสียงจิ้งหรีด หูอื้อ เกิดจากอะไร? รักษาได้ไหม? ป้องกันอย่างไร?แชร์ประสบการณ์ติดเชื้อโควิด เดือนกันยายน 2565 อาการข้างเคียงและวิธีการรักษาตัว"โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่" หายได้ รู้เท่าทัน ป้องกันได้ไว #โรคเบาหวาน #อดนอน #นอนไม่พอ #อดนอนเสี่ยงเบาหวาน #เบาหวาน#ความดันโลหิตสูง #ไขมันในเลือดสูง เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !